ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
สามก๊ก ฉบับที่[[เจ้าพระยาพระคลัง(หน)]] เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๔๕ และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๑๗ ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
 
==ประวัติ==
เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทรภู่เป็นข้าอยู่ในกรมพระราชวังหลัง คงได้ทราบเรื่องไซ่ฮั่นมาแต่เมื่อแปลที่วังหลัง ส่วนเรื่องสามก๊กนั้นเค้าเงื่อนก็มีอยู่เป็นสำคัญในบทละครนอกเรื่องคาวีซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทหนึ่งว่า
 
"เมื่อนั้น ไวยทัตหุนหันไม่ทันตรึก
อวดรู้อวดหลักฮักฮึก ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก
จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก
ทั้งพิชัยสงครามสามก๊ก ได้เรียนไว้ในอกสารพัด
ยายกลับไปทูลพระเจ้าป้า ว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัด
ค่ำวันนี้คอยกันเป็นวันนัด จะเข้าไปจับมัดเอาตัวมา"
พึงเห็นได้ในบทละครนี้ว่า ถึงรัชกาลที่ ๒ หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาไทยได้อ่านกันจนนับถืออยู่แล้ว สมกับที่อ้างว่าแปลในรัชกาลที่ ๑ ใช่แต่เท่านั้น มีเค้าเงื่อนที่จะสันนิษฐานต่อไปอีกว่า ความนับถือเรื่องสามก๊กดังในพระราชนิพนธ์นั้นเป็นมูลเหตุให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ ในรัชกาลภายหลังต่อมา ข้อนี้มีจดหมายเหตุเป็นหลักฐานอยู่ในบานแพนกว่า ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้แปลเรื่องเลียดก๊กอีกเรื่องหนึ่ง แลปรากฏนามผู้รับสั่งให้เป็นพนักงานการแปลล้วนผู้มีศักดิ์สูงแลทรงความสามารถถึงสิบสองคน คือ กรมหมื่นนเรศร์โยธี ๑ เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ ๑ เจ้าพระยายมราช ๑ พระยาโชดึกราชเศรษฐี ๑ พระท่องสือ ๑ จมื่นวัยวรนาถ ๑ นายจ่าเรศ ๑ นายเล่ห์อาวุธ ๑ หลวงลิขิตปรีชา ๑ หลวงวิเชียรปรีชา ๑ หลวงญาณปรีชา ๑ ขุนมหาสิทธิโวหาร ๑ พึงสันนิษฐานว่า เพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า เป็นหนังสืออันสมควรแปลไว้เพื่อประโยชน์ราชการบ้านเมืองเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แปลเรื่องไซ่ฮั่นแลสามก๊ก ยังมีหนังสือเรื่องห้องสินกับเรื่องตั้งฮั่นอีกสองเรื่อง ฉบับพิมพ์ที่ปรากฏอยู่ไม่มีบานแพนกบอกว่าแปลเมื่อใด แต่สำนวนแต่งเห็นเป็นสำนวนเก่า อาจแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๒ ก็เป็นได้ ด้วยเรื่องห้องสินอยู่ข้างหน้าต่อเรื่องเลียดก๊ก และเรื่องตั้งฮั่นอยู่ในระหว่างเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊ก แต่ประหลาดอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่ปรากฏว่า ได้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเมื่อในรัชกาลที่ ๓ น่าจะเป็นด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ในรัชกาลแต่ก่อนมาได้สร้างหนังสือเพื่อประโยชน์ในทางคดีโลกมากแล้ว หนังสือคดีธรรมยักบกพร่องอยู่ เปลี่ยนไปทรงอุดหนุนการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย จึงมีหนังสือเรื่องต่าง ๆ ซึ่งแปลจากภาษาบาลีเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ดี บรรดาหนังสือเรื่องพงศาวดารจีนที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ นอกจากสี่เรื่องที่ได้ออกชื่อมาแล้ว เป็นหนังสือแปลตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ มาทั้งนั้น ได้ลองสำรวจเมื่อแต่งตำนานนี้มีจำนวนหนังสือพงศาวดารจีนที่ได้แปลแลพิมพ์เป็นภาษาไทยถึงสามสิบสี่เรื่อง คือ ไซฮั่น
 
==วรรณคดีที่แปลในรัชกาลที่ ๑==
๑. เรื่องไซ่ฮั่น แปลเมื่อก่อน[8] พ.ศ. ๒๓๔๙ เป็นหนังสือสามสิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นสมุดสองเล่ม
 
๒. เรื่องสามก๊ก แปลเมื่อก่อน[8] พ.ศ. ๒๓๔๘ เป็นหนังสือเก้าสิบห้าเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นสมุดสี่เล่ม
 
==ขนาด==