ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 123:
วันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]] กรุงเทพมหานครทำความสะอาดที่เกิดเหตุ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะส่งผลกระทบต่อการค้นหาข้อเท็จจริง ฝ่ายหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอบว่า "รัฐบาลไม่ได้ห้าม ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องหลักฐานต่าง ๆ ไม่ได้ห้าม เราก็ต้องทำความสะอาดครับ นี่คือหน้าที่ของ กทม. ครับ ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเราหน่อยนะครับ เราก็โดนมามากแล้วเหมือนกันนะครับ"<ref>{{cite news|title=ล้างราชประสงค์เร็ว ‘สุขุมพันธุ์’ โอด “ไม่ทำก็ว่า ทำก็สงสัย” นักวิชาการอัดยิ่งสร้างความแคลงใจ|url=http://www.prachatai.com/journal/2015/08/60958|date=21 สิงหาคม 2558|accessdate=24 สิงหาคม 2558|publisher=[[ประชาไท]]}}</ref>
 
กรมคุ้มครองสิทธิฯ จ่ายเยียวยาเหยื่อระเบิดราชประสงค์ศพละ 2 แสนบาท ในขณะที่ต่างชาติจ่ายศพละ 5 แสนบาท<ref>http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99315265&key_word=&owner_dep=&meet_date_dd=01&meet_date_mm=01&meet_date_yyyy=2558&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=01&meet_date_mm2=09&meet_date_yyyy2=2558</ref> ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐมีความเห็นในเชิงประณามคนร้าย<ref>http://www.komchadluek.net/detail/20150818/211824.html</ref> มีการเรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคงทั่วประเทศ โดยแยกส่วนประชุมแต่ละจังหวัดอาทิ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงใหม่<ref>http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=150818114036</ref> สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งที่ 451/2558 จัดตั้ง ”ศูนย์อำนวยการบริหารข้อมูลการส่งกลับและการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกราชประสงค์” ขึ้นโดยมี พลตำรวจโท สมบูรณ์ ตันตระกูล นายแพทย์ใหญ่ (สบ8) เป็นผู้อำนวยการศูนย์และพลตำรวจตรี วิฑูรย์ นิติวรางกูร รองนายแพทย์ใหญ่ (สบ7) เป็น รองผู้อำนวยการศูนย์<ref>http://rps.pgh.go.th/ratchaprasong_tragedy/content/main.php?menu=main</ref>พลเอก[[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] สั่งให้จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] โดยมีพลเอก [[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]]เป็นหัวหน้าศูนย์ ด้านกระทรวงยุติธรรมมีคำสั่งที่ 314/2558 เรื่อง กำหนดอาณาเขตเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี จัดตั้ง เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/215/7.PDF</ref>ด้านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก[[สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง]] มีคำสั่งให้ พลตำรวจเอก [[จักรทิพย์ ชัยจินดา]] รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทรและให้ พลตำรวจโท [[ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าชุดคลี่คลายคดีระเบิด ต่อมาเมื่อพลตำรวจเอก [[จักรทิพย์ ชัยจินดา]] ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งพลตำรวจโท [[ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล]]<ref>http://www.springnews.co.th/crime/244917</ref> ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทร แทนตนเอง และให้พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ[[สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน]] ดำเนินการสอบสวนเส้นทางการเงินของกลุ่มผู้ต้องสงสัย คดีนี้แม้พลตำรวจเอก[[สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง]] มีการแถลงปิดคดีในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558 อย่างไรก้ตามการสรุปสำนวนคดีกลับมีขึ้นในช่วงสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งมีพลตำรวจเอก [[จักรทิพย์ ชัยจินดา]] เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ<ref>http://www.tnamcot.com/content/302106</ref>
{{โครงส่วน}}