ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 26:
 
 
สามก๊ก ฉบับที่เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๔๕ และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๑๗ ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฎปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
 
สามก๊กมีขนาดสองเล่มจบ ความหนาหนึ่งพันแปดสิบหกหน้า เนื้อเรื่องมีแปดสิบสามตอน สำหรับหนอนหนังสือแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นอย่างไร เพราะหากเทียบกับวรรณกรรมอย่าง ผู้ยากไร้ ของวิคเตอร์ ฮูโก หรือสงครามและสันติภาพ ของลีโอ ตอลสตอย หรือแม้แต่มังกรหยก ของกิมย้ง แล้ว สามก๊กถือได้ว่าไม่ยากและไม่ง่ายสำหรับการอ่านสักเท่าไหร่
บรรทัด 32:
เรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๖) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปีพ.ศ. ๒๓๔๕ โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาใน ตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้
 
เนื้อเรื่องเริ่มในตอนปลายของราชวงศ์ฮั่น กษัตริย์อ่อนแอ ขันทีีขันทีมีอำนาจ บ้านเมืองเต็มไปด้วยความฉ้อฉล พลเมืองถูกกดขี่ กองโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่ประกาศความเป็นไทจากอำนาจรัฐ เมื่อมีพระราชโองการให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกกองทัพไปปราบปราม กลียุคจากสงครามจึงเป็นโรงละครใหญ่ให้วีรบุรุษได้ปรากฎปรากฏตัว