ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาลาเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 108:
การควบคุมตัวนำโรค หมายถึง วิธีซึ่งใช้ลดมาลาเรียด้วยการลดระดับการส่งผ่านโดยยุง สำหรับการป้องกันส่วนบุคคล [[สารขับไล่แมลง]]อันทรงประสิทธิภาพที่สุดอาศัยดีอีอีทีหรือพิคาริดิน<ref name="Kajfasz 2009"/> มีการแสดงแล้วว่า [[มุ้ง]]ชุบยาฆ่าแมลงและ[[การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง]] (indoor residual spraying) มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันมาลาเรียในเด็กในพื้นที่ซึ่งพบมาลาเรียทั่วไป<ref name="Lengeler 2004"/><ref name="Pluess 2010"/> การรักษาผู้ป่วยยืนยันแล้วอย่างทันท่วงทีด้วยการรักษาแบบผสมที่อาศัยอาร์ติมิซินินยังอาจลดการส่งผ่านได้<ref>{{cite web|last=Palmer|first=J.|title=WHO gives indoor use of DDT a clean bill of health for controlling malaria|url=http://www.who.int/mediacentre/news/releases/2006/pr50/en/|publisher=WHO}}</ref>
 
มุ้งช่วยกันยุงจากมนุษย์และลดอัตราการติดเชื้อและส่งผ่านมาลาเรีย มักชุบมุ้งด้วยยาฆ่าแมลงซึ่งออกแบบมาเพื่อฆ่ายุงก่อนยุงหาทางผ่านมุ้งได้ มีการประเมินว่ามุ้งชุบยาฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของมุ้งที่ไม่ได้ชุบยาและให้การป้องกันดีกว่าการไม่ใช้มุ้ง 70%<ref name="Raghavendra 2011"/> ระหว่างปี 2543 ถึง 2551 มุ้งชุบยาฆ่าแมลงช่วยชีวิตทารก 250,000 คนโดยประมาณใน[[แอฟริกาใต้สะฮารา]]<ref name="Howitt 2012"/> ครัวเรือนราว 13% ในประเทศใต้สะฮารามีมุ้งชุบยาฆ่าแมลง<ref name="Miller 2007"/> ในปี 2543 มุ้งป้องกันเด็กแอฟริกา 1.7 ล้านคน (1.8%) ที่อาศัยอยู่ในสภาวะมาลาเรียประจำถิ่นคงตัว จำนวนเด็กแอฟริกาที่ใช้มุ้งชุบยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเป็น 20.3 ล้านคน (18.5%) ในปี 2550 ทว่าอีก 89.6 ล้านคนยังไม่ได้รับการป้องกัน<ref>{{cite journal |author= Noor AM, Mutheu JJ, Tatem AJ, Hay SI, Snow RW|title= Insecticide-treated net coverage in Africa: mapping progress in 2000–07 |journal=Lancet |volume=373|issue=9657 |pages=58–67|year=2009 |pmid=19019422 |doi= 10.1016/S0140-6736(08)61596-2 |pmc= 2652031}}</ref> ในปี 2551 มีการประเมินว่าครัวเรือนแอฟริกา 31% มีมุ้งชุบยาฆ่าแมลงอย่างน้อยหนึ่งหลัง มุ้งส่วนมากถูกชุบด้วย[[ไพรีทรอยด์]] ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดมีพิษต่ำ การใช้ที่แนะนำคือให้แขวนมุ้งไว้เหนือกลางเตียงให้แขวนอยู่เหนือเตียงทั้งหมดโดยพับขอบเข้า มุ้งชุบไพรีทรอยต์และมุ้งชุบยาฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์นานให้การป้องกันอย่างดีที่สุด และมีประสิทธิถาะประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้ตั้งแต่เย็นถึงเช้า<ref>{{harvnb|Schlagenhauf-Lawlor|2008|pp=[http://books.google.com/books?id=54Dza0UHyngC&pg=PA215 215]}}</ref>
 
การพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างเป็นการพ่นยาฆ่าแมลงบนผนังภายในบ้าน หลังดูดเลือดแล้ว ยุงจำนวนมากจะพักบนพื้นผิวใกล้เคียงขณะย่อย ฉะนั้นหากฉาบผนังบ้านด้วยยาฆ่าแมลง ยุงที่พักอยู่จะตายก่อนที่จะทันได้กัดคนอื่นและส่งผ่านปรสิตมาลาเรีย<ref name="Enayati 2010"/> ในปี 2549 องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาฆ่าแมลง 12 ชนิดในการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้าง รวมถึง[[ดีดีที]]และ[[ไซฟลูทริน]]และ[[เดลตาเมทริน]]ในกลุ่มไพรีทรอยด์<ref name="WHO Indoor Residual Spraying"/> [[อนุสัญญาสตอกโฮล์ม]]อนุญาตให้ใช้ดีดีทีปริมาณน้อยในทางสาธารณสุข แต่ห้ามการใช้ในทางการเกษตร<ref name="van den Berg 2009"/> ปัญหาหนึ่งของการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างทุกรูปแบบ คือ การดื้อยาฆ่าแมลง ยุงที่ได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างมีแนวโน้มพักและอาศัยอยู่ในอาคาร และเนื่องจากการระคายเคืองอันเกิดจากการฉีดพ่น ลูกหลานของมันมีแนวโน้มจะพักและอาศัยอยู่นอกอาคารมากกว่า หมายความว่า พวกมันจะได้รับผลกระทบจากการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิตกค้างน้อยกว่า<ref name="Pates 2005"/>