ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลาโรเซตตา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''ศิลาโรเซตตา''' ({{lang-en|Rosetta Stone}}) เป็น[[ศิลาจารึก]]ทำจากหิน[[granodiorite|แกรนด์โอไดโอไรต์]] จารึก[[กฤษฎีกาโรเซตตา|กฤษฎีกา]]ซึ่งตราขึ้นในนามพระเจ้า[[Ptolemy V Epiphanes|ทอเลอมีที่ 5]] (Ptolemy V) ณ เมือง[[Memphis, Egypt|เมมฟิส]] [[ประเทศอียิปต์]] เมื่อ 196 ปีก่อน ค.ศ. กฤษฎีกานี้เขียนด้วยอักขระ 3 ชนิด ตอนต้นเขียนด้วยอักขระ[[ไฮเออโรกลีฟอียิปต์]] ตอนกลางเขียนด้วยอักขระ[[Demotic (Egyptian)|ดีมอติกอียิปต์]] และตอนท้ายเขียนด้วยอักขระ[[กรีกโบราณ]] ทั้ง 3 ตอนมีเนื้อหาอย่างเดียวกัน ศิลานี้จึงเป็นกุญแจไขสู่ความหมายของอักขระ[[ไฮเออโรกลีฟอียิปต์]]
 
เชื่อกันว่า ศิลานี้เดิมตั้งแสดงไว้ที่[[วัดอียิปต์]]แห่งหนึ่งซึ่งน่าจะอยู่ใกล้เมือง[[Sais, Egypt|เซอีส]] ต่อมาในราว[[[[Early Christianity|ต้นคริสตกาล]]หรือราว[[Middle Ages|มัชฌิมยุค]] มีการย้ายศิลาไปที่อื่น และในที่สุดมีการใช้ศิลานี้เป็นวัสดุก่อสร้าง[[Fort Julien|ปราการจูเลียน]]ใกล้เมือง[[Rosetta|โรเซตตา]]ที่[[Nile Delta|ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์]] ครั้นปี 1799 [[Pierre-François Bouchard|ปิแยร์-ฟร็องซัว บูชาร์]] (Pierre-François Bouchard) นายทหารชาวฝรั่งในกองทัพของ[[นโปเลียน]]ที่[[French Campaign in Egypt and Syria|เข้ารุกรานอียิปต์และซีเรีย]] พบศิลานี้เข้า นับเป็นจารึกสองภาษาจากสมัยอียิปต์โบราณจารึกแรกที่ค้นพบในสมัยปัจจุบัน จึงกระตุ้นความสนใจของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดความพยายามถอดความหมายภาษาอียิตป์โบราณอันเป็นภาษาที่ไม่เคยได้รับการแปลความหมายมาก่อน ฉะนั้น นักวิชาการและพิพิธภัณฑ์ในยุโรปจึงเริ่มคัดลอกเนื้อความของศิลาออกเผยแพร่ ขณะนั้น [[กองทัพอังกฤษ]]เอาชัยชนะเหนือกองทัพฝรั่งเศสในประเทศอียิปต์ได้ในปี 1801 ครั้นฝรั่งเศส[[Capitulation of Alexandria (1801)|ยอมจำนนที่อะเล็กซานเดรีย]]แล้ว อังกฤษจึงได้ศิลาไว้ในความครอบครอง และขนศิลาไปไว้ในกรุง[[ลอนดอน]] แล้วจัดแสดงแก่สาธารณชน ณ [[พิพิธภัณฑ์บริติช]]ตั้งแต่ปี 1802 เรื่อยมาจนปัจจุบัน ถือเป็นวัตถุที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมบ่อยครั้งที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
 
ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับกฤษฎีกาบนศิลานั้นเริ่มขึ้นเมื่อมีการแปลเนื้อความภาษากรีกบนศิลาอย่างเต็มรูปแบบในปี 1803 จนราว 20 ปีให้หลัง คือ ในปี 1822 [[ฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง]] (Jean-François Champollion) ชาวฝรั่งเศส จึงแถลงในกรุง[[ปารีส]]ว่า สามารถอ่านอักขระอียิปต์ได้เป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ดี นับแต่ค้นพบศิลาหลักนี้เป็นต้นมา ตัวศิลานั้นตกเป็นข้ออ้างในความขัดแย้งทางชาตินิยมหลายต่อหลายครั้ง และนับแต่ปี 2003 สืบมา มีการเรียกร้องอยู่เสมอว่า ให้คืนศิลากลับสู่อียิปต์