ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หัวใจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 52:
[[ภาพ:Gray501.png|thumb|right|200px|ภาพวาดแสดงเอวีโนด และแนวของบันเดิล ออฟ ฮิส]]
คุณสมบัติประการหนึ่งที่น่าสนใจของหัวใจ คือการที่[[กล้ามเนื้อหัวใจ]]สามารถกระตุ้นการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยระบบนำไฟฟ้า (conduction system) ภายในผนังของหัวใจ โครงสร้างที่สำคัญของระบบนำไฟฟ้าของหัวใจได้แก่
* '''ไซโนเอเตรียลโนด''' (Sinaoatrial node) หรือ'''เอสเอโนด''' (SA node) เป็นกลุ่มของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่มีการเปลี่ยนรูปไปเป็นเซลล์ของระบบนำไฟฟ้า โดยอยู่ในผนังของหัวใจห้องบนขวา เอสเอโนดทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นในการส่งกระแสไฟฟ้าไปตามกล้ามเนื้อหัวใจห้องบน ด้วยความถี่ประมาณ 60-70 ครั้งต่อนาที
* '''เอตริโอเวนตริคิวลาร์โนด''' (Atrioventricular node) หรือ'''เอวีโนด''' (AV node) อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง โดยจะรับกระแสไฟฟ้าที่ส่งมาตามหัวใจห้องบน แล้วจึงนำกระแสไฟฟ้าส่งลงไปยังหัวใจห้องล่างผ่านทางเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ในผนังกั้นหัวใจห้องล่างขวาและล่างซ้าย ซึ่งเรียกว่า [[บันเดิล ออฟ ฮิส]] (Bundle of His) และนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่หัวใจห้องล่างทาง[[เส้นใยปัวคินเจ]] (Purkinje fiber) นอกจากนี้ในกรณีที่เอสเอโนดไม่สามารถกระตุ้นหัวใจได้ เอวีโนดจะทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นแทน
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/หัวใจ"