ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ช็อร์ต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต''' (Short Charge Shock Rock Concert) [[คอนเสิร์ต]]การแสดงของศิลปิน[[ร็อก]]ไทย ในสังกัด [[อาร์เอส|อาร์. เอส. โปรโมชั่น]] มีทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน
 
 
* ช็อร์ต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต : [[วันเสาร์]]ที่ [[29 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2536]] ณ อินดอร์ สเตเดี้ยม [[สนามกีฬาหัวหมาก]] เป็นคอนเสิร์ตที่ประสบความสำเร็จเป็นมากอย่าง โดยเป็นคอนเสิร์ตของศิลปินไทยที่มียอดผู้ชมสูงสุดในปี พ.ศ. 2536 เนื่องจากความสำเร็จในการออกอัลบั้มชุดแรก ของ [[หิน เหล็ก ไฟ]] การแสดงมี [[หรั่ง ร็อกเคสตร้า]], [[ไฮ-ร็อก]], [[พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร]], [[อิทธิ พลางกูร]], [[ธนพล อินทฤทธิ์]] โดยมี หิน เหล็ก ไฟ เป็นวงปิด และมีเพลงพิเศษปิดการแสดงคือ ''เพื่อนกัน'' ที่ศิลปินทั้งหมดได้ร่วมร้อง
 
* ช็อร์ต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต เสืออำพัน : [[วันเสาร์]]ที่ [[26 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2537]] ณ [[สนามกีฬากองทัพบก]] [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] เป็นช็อร์ต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต ครั้งที่ 2 จากความสำเร็จของอัลบั้ม " ทีของเสือ " อัลบั้มชุดแรกของเสือ ธนพล อินทฤทธิ์ และอัลบั้ม " ร็อกอำพัน " ซึ่งเป็นอัลบั้มพิเศษของ [[สุรัช ทับวัง|เป้ ไฮ-ร็อก]] และ เจี๊ยบ [[พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร]] โดยมี อิทธิ พลางกูร เป็นแขกรับเชิญ
 
* ช็อร์ต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต เหล็กคำราม : [[วันเสาร์]]ที่ [[13 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2538]] ณ สนามกีฬากองทัพบก เป็นช็อร์ต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต ครั้งสุดท้าย โดย หิน เหล็ก ไฟ ที่ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ของวง คือ " คนยุคเหล็ก " รวมด้วย เป้ ไฮ-ร็อก และ พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร แต่ทว่าคอนเสิร์ตครั้งนี้ไม่อาจแสดงได้จนจบตามคิว เนื่องจากมีเหตุวิวาทกันระหว่างแฟนเพลง ถึงขนาดมีการยิง[[ปืน]]ขึ้นฟ้าขู่ [[ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์|โป่ง หิน เหล็ก ไฟ]] ในฐานะนักร้องนำได้ขอให้แฟนเพลงยุติการตีกัน แต่ไม่เป็นผล ซ้ำยังโดนขวดน้ำขว้างศีรษะ จึงต้องยุติการแสดงไปก่อนเวลาราวครึ่งชั่วโมง
 
 
ช็อร์ต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต นับเป็นคอนเสิร์ต[[ประวัติศาสตร์]]อีกครั้งหนึ่งของวงการดนตรีไทย เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการแสดงคอนเสิร์ตด้วยศิลปินร็อกชาวไทยล้วน ๆ และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นคอนเสิร์ตชุดเหมือนกับเทศกาลคอนเสิร์ตของต่างประเทศ เช่น [[วู๊ดสต๊อก]] เป็นต้นซึ่งในช่วงเวลานั้นกระแสดนตรีในเมืองไทยให้ความสนใจในดนตรีร็อกเป็นอย่างมาก
 
==ดูเพิ่ม==