ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 3:
== ประวัติ==
พระปีย์ อันมีความหมายว่า "ผู้เป็นที่รัก"<ref name="พระปีย์">เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555). "พระปีย์ vs พระเจ้าเสือ ใครคือโอรสลับของพระนารายณ์ ?". ''มติชนสุดสัปดาห์''. 32:1644, หน้า 76</ref> ไม่ปรากฏประวัติส่วนตัวมากนัก ปรากฏเพียงว่าเป็นบุตรของขุนไกรสิทธิศักดิ์ ชาวบ้านแก่ง ขุนนางชั้นผู้น้อยใน[[จังหวัดพิษณุโลก|เมืองพิษณุโลก]]<ref>{{cite web |url= http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=3268:2014-09-16-07-01-38&catid=126:2012-07-27-08-28-05&Itemid=66 |title=
เรื่องเล่า ครบรอบ ๓๒๖ ปี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคตด้วยเหตุแห่งการรัฐประหาร |author=|date= 16 กันยายน 2557 |work= หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ |publisher=|accessdate= 3 ตุลาคม 2558}}</ref> โดยในช่วงเวลาที่พระปีย์เกิดนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับเลี้ยงดูเด็กเล็กมาอุปถัมภ์ในพระราชวังหลายคนโดยเลี้ยงดุจลูกหลวง แต่หากเด็กคนใดร้องไห้อยากกลับไปหาพ่อแม่เดิมก็ทรงอนุญาตส่งตัวคืน<ref>เดอะ แบส (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''บันทึกความทรงจำของบาทหลวง เดอะ แบส เกี่ยวกับชีวิตและมรณกรรมของก็องสตังซ์ ฟอลคอน''. นนทบุรี:ศรีปัญญา. 2550, หน้า 100-101</ref> แต่[[ลาลูแบร์]]ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ''"...พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะเลี้ยงไว้จนกระทั่งเด็กนั้นมีอายุได้ 7 ถึง 8 ขวบ พ้นนั้นไปเมื่อเด็กสิ้นความเป็นทารกแล้วก็จะไม่โปรดอีกต่อไป..."'' พระปีย์จึงถูกถวายตัวแด่[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ตั้งแต่ยังเล็ก แต่ด้วยมีรูปพรรณต่ำเตี้ยพิการค่อมแคระ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงพระกรุณาเรียกว่า '''อ้ายเตี้ย''' และเป็นที่โปรดปรานด้วยมีโวหารดี พูดจาไพเราะอ่อนหวาน<ref name="พระปีย์"/> มีการโจษจันกันว่าพระปีย์อาจเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์<ref>เดอ ลาลูแบร์ (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''ราชอาณาจักรสยาม''. กรุงเทพฯ : ก้าวหน้า. 2510, หน้า 43</ref><ref>นิโกลาส์ แซร์แวส (เขียน) สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม''. นนทบุรี:ศรีปัญญา. 2550, หน้า 199-200</ref> และสมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงวางเฉยกับเรื่องพระปีย์เป็นโอรสลับเสียด้วย<ref>สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ (กันยายน 2552). "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์". ''ศิลปวัฒนธรรม'' 30:11, หน้า 99, 116</ref>
 
สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงมีพระราชประสงค์ให้พระปีย์อภิเษกสมรสกับ[[สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ]] พระราชธิดา แต่กรมหลวงโยธาเทพไม่ทรงยินยอมพร้อมพระทัยด้วยและขัดขืนพระราชหฤทัยพระราชบิดา
 
<blockquote>"ฝ่ายเจ้าฟ้าหญิงนั้น ครั้นทรงได้รับแจ้งพระราชดำริ ก็ทรงไม่ยินยอมพร้อมพระทัยด้วย ชะรอยจะทรงมีความหยิ่งในราชสมภพ ดังที่เธอทรงแสดงอยู่ให้ประจักษ์ จึงไม่อาจลดพระองค์ลงมาอภิเษกกับบุคคลในชั้นไพร่ได้ หรือชะรอยจะเป็นดังที่คนทั้งหลายเข้าใจกันอยู่ กล่าวคือเธอมีน้ำพระทัยโน้มน้าวและผูกพันในทางอภิเษกสมรสมาแต่ก่อนกับพระปิตุลา [สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย] อยู่แล้ว ...เธอก็ยังทรงยึดมั่นในพระราชดำริดั้งเดิมของในหลวงที่จะอภิเษกเธอให้แก่เจ้าชายองค์นั้นอยู่เสมอ แต่เรื่องได้ดำเนินไปอย่างลับ ๆ ดังที่กระผม [บาทหลวงโกลด เดอแบซอ แบซ] ได้ยินเขาพูดกันมา ว่าแม้ในหลวงหรือ นายกงส์ต็องส์ [เจ้าพระยาวิชเยนทร์] ก็มิได้ล่วงรู้ระแคะระคายเลย ในหลวงทรงขัดพระทัยเป็นอันมาก ในการที่พระราชธิดาทรงขัดขืนพระราชประสงค์อย่างหนักแน่น ไม่ทรงยินยอมอภิเษกสมรสกับพระปีย์..."<ref>เดอะ แบส (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). บั''นทึกความทรงจำของบาทหลวง เดอะ แบส เกี่ยวกับชีวิตและการมรณกรรมของก็องสตังซ์ ฟอลคอน''. นนทบุรี : ศรีปัญญา. 2550, หน้า 101-102</ref></blockquote>
 
ทั้งนี้พระปีย์มักตกเป็นหุ่นเชิดทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง<ref name="หม่อมปีย์"/> โดยเขาได้รับการสนับสนุนจาก[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)]] ให้เป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ ด้วยเขามองว่าพระปีย์ไม่มีพิษภัย มีใจโอนอ่อนทาง[[คริสต์ศาสนา]] ด้วยเหตุนี้เจ้าพระยาวิชเยนทร์จึงหวังผลที่จะให้พระปีย์เป็นกษัตริย์เพื่อรักษาอำนาจและอิทธิพลของตน<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. ''การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ"''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 21</ref> และหวังหวังใจให้เป็นกษัตริย์สยามพระองค์แรกที่นับถือคริสต์ศาสนา<ref>{{cite web |url= http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3950/--.aspx |title= เรื่องเก่าเล่าสนุก : นาทีสวรรคต สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |author= โรม บุนนาค |date= กันยายน 2557 |work= All Magazine |publisher=|accessdate= 3 ตุลาคม 2558}}</ref> นอกจากนี้พระปีย์ยังมีส่วนร่วมในการก่อกบฏเมื่อครา[[กบฏมักกะสัน]]<ref>สปอร์แดช มอร์แกน (เขียน) กรรณิกา จรรย์แสง (แปล). ''เงาสยาม ยามผลัดแผ่นดินพระนารายณ์''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554, หน้า 157</ref> นีกอลา แฌร์แวสเป็นผู้เดียวที่ระบุว่า แขกมักกะสันจะลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์แล้วเลือกพวกเดียวกันขึ้นครองบัลลังก์ "หรือมิเช่นนั้นถ้าชาวสยามยังไม่คุ้นชินกับเจ้าต่างชาติ ก็จะยกบัลลังก์ให้พระราชโอรสบุญธรรมของพระองค์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าถูกซื้อได้ไม่ยาก โดยทรงยอมเข้าพิธี[[สุนัต]]..."<ref name="หม่อมปีย์"/>
 
ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระปีย์ได้อยู่รับใช้สนองพระยุคลบาทพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระประชวรหนัก ขณะที่พระปีย์กำลังล้างหน้าริมหน้าต่างยามเช้า ก็ถูกขุนพิพิธรักษา สมุนของหลวงสรศักดิ์ผลักจนพลัดตกลงจากหน้าต่าง<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. ''การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ"''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 42</ref> ก่อนถูก[[สมเด็จพระเพทราชา|พระเพทราชา]]จับไปสำเร็จโทษในปี พ.ศ. 2231 และทิ้งศพไว้ที่[[วัดซาก]] เพราะพระปีย์เป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์<ref>เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (14 ธันวาคม พ.ศ. 2555). "แช่แข็งสยาม ยามแผ่นดินอาเพศ ยุคพระเพทราชา". ''มติชนสุดสัปดาห์''. 33:1687, หน้า 76</ref><ref>{{cite web |url= http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373427780 |title= เล่าเรื่อง พระเพทราชา ตกกระไดพลอยโจน |author= ส.สีมา |date= 10 กรกฎาคม 2556 |work= มติชนออนไลน์ |publisher=|accessdate= 3 ตุลาคม 2558}}</ref>