ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพนด้าแดง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
มีรูปร่างหน้าตาคล้าย[[แรคคูน]]และ[[กระรอก]]รวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้าย[[หมี]] ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความยาวของลำตัวและหัว 51-64 [[เซนติเมตร]] หางยาว 50-63 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 3-4.5 กิโลกรัม
 
มีการกระจายพันธุ์พบตามแนว[[เทือกเขาหิมาลัย]] ตั้งแต่ภาคเหนือของ[[ประเทศอินเดีย]], [[ธิเบตทิเบต]], [[ประเทศเนปาล|เนปาล]], [[ประเทศภูฏาน|ภูฏาน]], [[ประเทศจีน|จีน]], ภาคเหนือของ[[ประเทศพม่า|พม่า]] และภาคเหนือของ[[ประเทศลาว]]บริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500-4,000 เมตรจาก[[ระดับน้ำทะเล]]
 
มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1-9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0-1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือน[[มกราคม]] ถึงเดือน[[กุมภาพันธ์]] โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1-3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90-145 วัน และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทาง[[เอเชียตะวันออก]] และมีสีที่ใบหน้าซีดจางกว่า ซึ่งเป็น[[ชนิดย่อย]]ที่แยกออกไป <ref>หน้า 62-63, ''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน'' ([[กรุงเทพมหานคร]], [[พ.ศ. 2543]]) โดย [[กองทุนสัตว์ป่าโลก]] ISBN 974-87081-5-2 </ref>