ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ==
พระปีย์ อันมีความหมายว่า "ผู้เป็นที่รัก"<ref name="พระปีย์">เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555). "พระปีย์ vs พระเจ้าเสือ ใครคือโอรสลับของพระนารายณ์ ?". ''มติชนสุดสัปดาห์''. 32:1644, หน้า 76</ref> ไม่ปรากฏประวัติส่วนตัวมากนัก ปรากฏเพียงว่าเป็นบุตรของขุนไกรสิทธิศักดิ์ ชาวบ้านแก่ง โดยในช่วงเวลาที่พระปีย์เกิดนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับเลี้ยงดูเด็กเล็กมาอุปถัมภ์ในพระราชวังหลายคนโดยเลี้ยงดุจลูกหลวง แต่หากเด็กคนใดร้องไห้อยากกลับไปหาพ่อแม่เดิมก็ทรงอนุญาตส่งตัวคืน<ref>เดอะ แบส (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''บันทึกความทรงจำของบาทหลวง เดอะ แบส เกี่ยวกับชีวิตและมรณกรรมของก็องสตังซ์ ฟอลคอน''. นนทบุรี:ศรีปัญญา. 2550, หน้า 100-101</ref> แต่[[ลาลูแบร์]]ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ''"...พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะเลี้ยงไว้จนกระทั่งเด็กนั้นมีอายุได้ 7 ถึง 8 ขวบ พ้นนั้นไปเมื่อเด็กสิ้นความเป็นทารกแล้วก็จะไม่โปรดอีกต่อไป..."'' พระปีย์จึงถูกถวายตัวแด่[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ตั้งแต่ยังเล็ก แต่ด้วยมีรูปพรรณต่ำเตี้ยพิการค่อมแคระ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงพระกรุณาเรียกว่า '''อ้ายเตี้ย''' และเป็นที่โปรดปรานด้วยมีโวหารดี พูดจาอ่อนหวาน<ref name="พระปีย์"/> มียังโจษจันกันว่านี่อาจเป็นพระโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ก็มี<ref>เดอ ลาลูแบร์ (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''ราชอาณาจักรสยาม''. กรุงเทพฯ : ก้าวหน้า. 2510, หน้า 43</ref><ref>นิโกลาส์ แซร์แวส (เขียน) สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). ''ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม''. นนทบุรี:ศรีปัญญา. 2550, หน้า 199-200</ref> ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงวางเฉยกับเรื่องพระปีย์เป็นโอรสลับเสียด้วย<ref>สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ (กันยายน 2552). "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์". ''ศิลปวัฒนธรรม'' 30:11, หน้า 99, 116</ref>
 
สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงมีพระราชประสงค์ให้พระปีย์อภิเษกสมรสกับ[[สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ]] พระราชธิดา แต่กรมหลวงโยธาเทพไม่ทรงยินยอมพร้อมพระทัยด้วยและขัดขืนพระราชหฤทัยพระราชบิดา