ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ทั้งนี้พระปีย์ได้รับการสนับสนุนจาก[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)]] ให้เป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ ด้วยเขามองว่าพระปีย์ไม่มีพิษภัย มีใจโอนอ่อนทาง[[คริสต์ศาสนา]] ด้วยเจ้าพระยาวิชเยนทร์หวังผลที่จะให้พระปีย์รักษาอำนาจและอิทธิพลของตน<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. ''การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ"''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 21</ref>
 
ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระปีย์ได้อยู่รับใช้สนองพระยุคลบาทพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระประชวรหนัก ขณะที่พระปีย์กำลังล้างหน้าริมหน้าต่างยามเช้า ก็ถูกขุนพิพิธรักษา สมุนของหลวงสรศักดิ์หลักตกลงจากหน้าต่าง<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. ''การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ"''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 42</ref> ก่อนถูก[[สมเด็จพระเพทราชา|พระเพทราชา]] จับไปสำเร็จโทษด้วยการตัดศีรษะในปี พ.ศ. 2231
 
อนึ่งในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 กรมศิลปากรได้ทำการขุดสำรวจบริเวณที่ดินเอกชนผืนหนึ่งตรงข้าม[[วัดสันเปาโล]] และพบโครงกระดูกมนุษย์สองโครงห่างกัน 5 เมตร โดยโครงกระดูกโครงแรกมีรูปพรรณเตี้ย สูงเพียง 140 เซนติเมตร สวมแหวนหินที่นิ้วมือ กระดูกหน้าแข้งหัก และไม่มีศีรษะ จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโครงกระดูกของพระปีย์ ส่วนอีกโครงหนึ่งมีรูปกายสูงใหญ่ สันนิษฐานว่าอาจเป็น[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)]]<ref>{{cite web |url= http://www.thairath.co.th/content/455419 |title= ขุดพบกระดูกมนุษย์สมัยพระนารายณ์ คาด 'พระปีย์-เจ้าพระยาวิชาเยนทร์' |author=|date= 8 ตุลาคม 2557 |work= ไทยรัฐออนไลน์ |publisher=|accessdate= 27 กันยายน 2558}}</ref>