ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุชนา ชวนิชย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Sarocha.p (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
}}
 
รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทางด้านชีววิทยาทางทะเล ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา เป็นที่รู้จักกันดีจากการที่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก หรือที่(ขั้วโลกใต้) นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในทีมของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
 
 
== ประวัติ ==
รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทางด้านชีววิทยาทางทะเล ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา เป็นที่รู้จักกันดีจากการที่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก หรือที่ขั้วโลกใต้ นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในทีมของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
เกิดที่รัฐคอนเนคติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วจึงเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ Central Connecticut State University และปริญญาเอกที่ University of New Hampshire ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
ผลงานที่โดดเด่น ของ รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ คือ การที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมสำรวจทวีปแอนตาร์กติการ่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกจากประเทศญี่ปุ่น รุ่นที่ 51 (JARE-51; 51st Japanese Antarctic Research Expedition) เพื่อร่วมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในปี 2552 จึงถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมการสำรวจที่ทวีปแอนตาร์กติก นอกจากนี้ ในปี 2557 รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ ยังได้รับโอกาสเป็นครั้งที่สองในการเดินทางไปคาบสมุทรแอนตาร์กติกร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่นที่ 30 (CHINARE 30; 30th Chinese National Antarctic Research Expedition) เพื่อร่วมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ ได้มีโอกาสดำน้ำที่ทะเลแอนตาร์กติก จึงถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ดำน้ำที่ทะเลแอนตาร์กติกอีกด้วย
== ประวัติการศึกษา ==
* ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* ปริญญามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา ณ Central Connecticut State University, U.S.A.
* ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสัตววิทยา ณ University of New Hampshire, U.S.A.
 
นอกจากเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแล้ว รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ ยังเป็น ครูสอนดำน้ำ อาจารย์พิเศษ วิทยากรพิเศษ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ผู้เขียนบทความ และผู้แปลบทความ ด้านการดำน้ำ การอนุรักษ์ ทางทะเล และการท่องเที่ยวทางทะเล ให้กับให้นิตยสารทั้งในและต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยราชการอื่นๆ
 
จากการทำงานวิจัยในด้านระบบนิเวศทางทะเล รวมถึง การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทั้งบริเวณขั้วโลกและเขตร้อน จนถึงปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ได้รับเกียรติบัตรและรางวัลและการยกย่องต่างๆ อาทิเช่น
== ประวัติการทำงาน ==
ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
 
== ผลงานโดดเด่น ==
ในปี 2552 เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรก ที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมสำรวจทวีปแอนตาร์กติการ่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกจากประเทศญี่ปุ่น รุ่นที่ 51 (JARE-51; 51st Japanese Antarctic Research Expedition) เพื่อร่วมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการสร้างฐานความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นและไทยในการศึกษาวิจัย ณ ทวีปแอนตารก์ติกในอนาคต
 
และในปี 2557 ได้รับโอกาสอีกครั้งในการเดินทางไปคาบสมุทรแอนตาร์กติกร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่นที่ 30 (CHINARE 30; 30th Chinese National Antarctic Research Expedition) เพื่อร่วมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายในการสร้างฐานความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์จีนและไทยในการศึกษาวิจัย ณ ทวีปแอนตารก์ติก ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และยังเป็นเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรก ที่ได้มีโอกาสดำน้ำทำวิจัยที่ทะเลแอนตาร์กติก
 
 
== รางวัลที่ได้รับ ==
จากการทำงานวิจัยในด้านระบบนิเวศทางทะเล รวมถึง การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จนถึงปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ได้รับเกียรติบัตรและรางวัลต่างๆ อาทิ
 
* ได้รับคัดเลือกให้เป็น “1 ใน 17 Asia Power Women” ที่สร้างแรงบันดาลใจในอาชีพต่างๆ จากการคัดเลือกของนิตยสาร Her World ประจำปี 2558
* รางวัล “บุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง” จาก สถาบันพัฒนาศักยภาพ ชมรมพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัย 6 สถาบัน (ประกอบด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ประจำปี 2558
* รางวัล “Outstanding Scientist Award” จาก UNESCO – IOC/WESTPAC ประจำปี 2557
* ได้รับคัดเลือกให้เป็น “1 ใน 100 คน ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนไทย” จากการคัดเลือกของ the In Residence ประจำปี 2556
* รางวัล “นักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น” สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2554
* รางวัลทุนวิจัย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ (For Women in Science)” ครั้งที่ 6 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดย บริษัท ลอริอัล (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี 2551
* รางวัล “นักวิจัยรุ่นเยาว์ดีเด่น” สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2550
* “เครื่องหมายอภิรักษ์นาวี” พร้อมประกาศนียบัตร ประจำปี 2549 จากกองทัพเรือ ซึ่งมอบให้กับบุคคลภายนอกที่สนับสนุนกองทัพเรือ รวมถึงทำคุณประโยชน์ต่อสาธารณชนและประเทศชาติร่วมกับกองทัพเรือ
* “เครื่องหมายความสามารถเวชศาสตร์ใต้น้ำกิตติมศักดิ์” พร้อมประกาศนียบัตร ประจำปี 2545 จากกรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ
 
 
== ประสบการณ์ และการทำงานอื่นให้กับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ==
นอกจากเป็นอาจารย์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ยังทำหน้าที่เป็น
 
* อาจารย์พิเศษ / วิทยากรพิเศษ ให้กับมหาวิทยาลัย รวมถึง หน่วยราชการอื่น ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ / ผู้เขียนบทความ / ผู้แปลบทความ ให้นิตยสารทั้งในและต่างประเทศ ด้านการดำน้ำ การอนุรักษ์ทางทะเล และการท่องเที่ยวทางทะเล เป็นต้น
* เป็นหัวหน้าโครงการความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ทางทะเลในเขตพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก ภายใต้องค์กร UNESCO/ Intergovernmental Oceanographic Commission: Sub-Commission for the Western Pacific
* ครูสอนดำน้ำ PADI (Professional Association of Diving Instructors)