ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมุหนายก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parintar (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 10:
สมุหนายกเป็นตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี เจ้ากรมมหาดไทย มีหน้าที่บังคับบัญชา กิจการฝ่ายพลเรือน
 
ตั้งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา โปรดให้แบ่งหัวเมืองออกเป็น ฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ โดยให้สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการฝ่ายทหารและพลเรือน ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฎิรูปปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยตั้งกระทรวงขึ้นสิบสองกระทรวง มีเสนาบดีประจำทุกกระทรวง กรมมหาดไทยได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กระทรวงมหาดไทย สมุหนายกจึงถูกลดฐานะจากอัครมหาเสนาบดี ลงเป็นเสนาบดีเท่ากับเสนาบดีอื่น ๆ นับเป็นการสิ้นสุดตำแหน่ง สมุหนายก
 
ในสมัยอยุธยาตอนต้น การปกครองภายในราชธานี มีตำแหน่งเสนาบดีสำคัญสี่ตำแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ คือ เสนาบดีกรมเมือง หรือเวียง เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง และเสนาบดี กรมนา ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงปรับปรุงวิธีการปกครองส่วนกลาง โดยแบ่งขุนนางและไพร่พล ทั่วพระราชอาณาจักรออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร โปรดให้ตั้งกรมมหาดไทย ขึ้นโดยมีสมุหนายก เป็นเจ้ากรม และเป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือน ในหัวเมืองต่าง ๆ ทุกเมือง รวมทั้งเสนาบดีจตุสมดภ์ด้วย ทรงตั้งกรมพระกลาโหม มีสมุหพระกลาโหม เป็นเจ้ากรม และหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายทหาร ในราชธานี และทุกหัวเมือง ทั้งสมุหนายก และสมุหกลาโหม มีฐานะเป็น อัครเสนาบดี และเป็นประธานในคณะลูกขุนฝ่ายทหารและพลเรือน ในยามศึกสงครามทั้งทหารและพลเรือน ต่างต้องทำหน้าที่ในการสู้รบป้องกันบ้านเมืองเช่นเดียวกัน
 
ตำแหน่งสมุหนายก มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "เจ้าพญาจักรี" ศักดินา 10,000 มีตราพระราชสีห์ และตราจักร เป็นตราประจำตำแหน่ง เมื่อประชุมเสนาบดีทั้งหมด สมุหนายกจะเป็นประธานในการประชุม เพราะมีฐานะเป็นประมุขของเสนาบดี สมุหนายก มีหน้าที่ติดต่อกับประเทศราช ในนามของพระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีอำนาจปกครอง
 
ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2246) มีการแบ่งหัวเมืองในราชอาณาจักร ออกเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ให้สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ สมุหกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ในปลายสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) ได้มีการโอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้แก่ เจ้าพระยาโกษาธิบดี เสนาบดีพระคลัง
 
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้โอนอำนาจการปกครองหัวเมืองภาคใต้ คืนให้สมุหกลาโหม ตั้งแต่หัวเมืองชายทะเลแปดเมือง รวมทั้งเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเดิมขึ้นกรมมหาดไทย รวมเป็นเก้าเมือง ให้เจ้าพระยาพระคลัง ปกครองโดยแบ่งหัวเมืองภาคใต้ฝ่ายตะวันตก ซึ่งขึ้นกับเจ้าพระยาพระคลัง สิบเก้าเมือง ขึ้นกับสมุหนายก หนึ่งเมืองคือ เพชรบุรี รวมยี่สิบเมือง มาขึ้นกับสมุหกลาโหม
 
ในปี พ.ศ. 2437 ได้มี " ประกาศปันน่าที่กระทรวงกระลาโหม มหาดไทย" ขึ้น โดยให้กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ในราชอาณาจักร