ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย แสวงการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 27:
 
== การทำงาน ==
สมชาย ทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ สายการเมือง และสายทหาร ทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จนกระทั่งเป็นผู้ก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการกลุ่มไอ.เอ็น.เอ็น.กรุ๊ป ร่วมกับนายสนธิญาณ หนูแก้ว (สนธิยาณ ชื่นในญทัยธรรม) ที่ถือหุ้นใหญ่โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกลุ่มบริษัทยูคอม (1) เป็นผู้ผลิตรายการร่วมด้วยช่วยกัน ได้รับสิทธิจากหน่วยบัญชาการกำลังสำรองในการเข้ามาบริหารและผลิตรายการ “ร่วมด้วยช่วยกัน” เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ตั้งแต่วันที่ ธันวาคม 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุกรมรักษาดินแดนเอฟเอ็ม 96 เมกกะเฮิร์ซ (2) และเป็นเจ้าของสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ธุรกิจสิ่งพิมพ์ นายสมชายเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 3 สมัยติดต่อกัน จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จากสายวิชาชีพสื่อมวลชนในปี พ.ศ. 2549 พร้อมกับนายกสมาคมองค์กรสื่อต่างๆ นายสมชายตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมฯ หลังได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช. เพื่อเป็นการรักษาระยะห่างระหว่างการทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติและการทำงานของสมาคมฯ ในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่จะต้องติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและฝ่ายต่างๆ ในสังคมได้โดยอิสระ พ.ศ. 2551 ได้รับการสรรหาให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสรรหา โดยมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดเป็นผู้ส่งเข้ารับการสรรหา เป็นประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภควุฒิสภา พ.ศ. 2554 ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นสมัยที่ 2 และปัจจุบันได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัตแห่งชาติ เป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
== การอบรมและสัมมนา ==