ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หิมะภาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tatung (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: File:Cryosphere Fuller Projection.png|thumb|right|300px|ภาพมุมสูงของหิมะภาค จาก [http://maps.grida.no/go/graphic/cryosphere...
 
Tatung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
'''หิมะภาค''' เป็นส่วนหนึ่งของผิว[[โลก]]ซึ่งประกอบด้วย[[น้ำ]]ในรูป[[ของแข็ง]] รวมถึง[[ทะเล]]ที่เป็น[[น้ำแข็ง]], [[ทะเลสาบ]]น้ำแข็ง, [[แม่น้ำ]]ที่เป็นน้ำแข็ง, [[ธารน้ำแข็ง]], แผ่นน้ำแข็ง, และพื้นดินซึ่งเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของหิมะภาคมักจะซ้อนอยู่บนพื้นที่ของ[[อุทกภาค]] หิมะภาคนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง[[ภูมิอากาศ|สภาพภูมิอากาศโลก]]หลายประการ โดยมักมีอิทธิพลต่อเมฆ, ปริมาณหยาดน้ำฟ้า, อุทกวิทยา และการไหลเวียนของอากาศและกระแสน้ำ
 
== โครงสร้าง ==
น้ำที่ผ่าน[[จุดเยือกแข็ง]]มาแล้วมักจะพบบนพื้นผิวโลกในรูปของ[[หิมะ]], [[น้ำแข็ง]]ในทะเลสาบและแม่น้ำ, น้ำแข็งในทะเล, ธารน้ำแข็ง โดยพื้นที่ที่มีน้ำแข็งปกคลุมและย้ำแข็งในแหล่งน้ำจืดนั้นมักจะขึ้นตรงกับฤดูกาล หากอุณหภูมิสูงขึ้น หิมะหรือน้ำแข็งเหล่านี้ก็อาจละลายได้ น้ำแข็งในธารน้ำแข็งบางแห่งอาจคงสภาพได้นานถึงหนึ่งแสนปีหรือมากกว่านั้น และน้ำแข็งทางตะวันออกของทวีปแอนตาร์กติกาอาจมีอายุถึงหนึ่งล้านปี
 
ปริมาณน้ำแข็งที่มากที่สุดในโลกอยู่ที่แอนตาร์กติกา โดยเฉพาะบริเวณตะวันออกของทวีป ส่วนบริเวณที่มีน้ำแข็งหรือหิมะปกคลุมที่กว้างที่สุดในโลกนั้นอยู่บริเวณซีกโลกเหนือ โดยหิมะภาคจะกินพื้นที่ถึงร้อยละ 23 ของซีกโลกเหนือในเดือนมกราคม
 
มีปัจจัยทางกายภาพที่สำคัญหลายประการที่ทำให้การแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างพื้นผิวโลกกับ[[ชั้นบรรยากาศ]]เบาบางลง ปัจจัยที่สำคัญก็คือการที่หิมะภาคสามารถสะท้อนความร้อนได้, สามารถถ่ายเทความร้อนได้ และสามารถเปลี่ยนสถานะได้ ([[ความร้อนแฝงจำเพาะ]]) ปัจจัยทางกายภาพเหล่านี้รวมถึงความขรุขระของผิวหิมะภาคนั้นมีส่วนอย่างมากในการที่มนุษย์สามารถสังเกตและศึกษา[[หิมะ]]และ[[น้ำแข็ง]]จาก[[อวกาศ]]ได้ ตัวอย่างเช่นความขรุขระของหิมะภาคเป็นตัวการสำคัญในการสะท้อนกลับของ[[เรดาร์]]<ref name="hall">
Hall, D. K., 1996: Remote sensing applications to hydrology: imaging radar. Hydrological Sciences, 41, 609-624.
</ref>
 
== อ้างอิง ==