ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสมุทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
คัดลอกมาจาก http://www.marine.tmd.go.th/thai/oceanhtml/oceandoc.html
บรรทัด 6:
 
[[องค์การอุทกศาสตร์สากล]] (International Hydrographic Organization) เป็นผู้กำหนดเส้นแบ่งเขตระหว่างแต่ละมหาสมุทร ยกตัวอย่างเช่น มหาสมุทรใต้เริ่มจากชายฝั่ง[[ทวีปแอนตาร์กติกา]]ไปถึงละติจูด 60 องศาใต้ พื้นที่ที่มีขนาดเล็กกว่ามหาสมุทร เรียกว่า [[ทะเล]] [[อ่าว]] [[ช่องแคบ]] ฯลฯ
 
== ไหล่ทวีป ==
'''ไหล่ทวีป''' เป็นส่วนที่ตื้นที่สุดและอยู่ติดกับส่วนที่เป็นทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป พื้นของไหล่ทวีปบางตอนจะเรียบ บางตอนมีร่องยาว บางตอนมี[[สันเนิน]] บางตอนมี[[แอ่งกลม]] บางตอนมี[[เนินเขา]] บางส่วนเป็น[[หิน]] บางส่วนปกคลุมด้วย[[โคลน]] [[ทราย]] หรือ[[กรวด]]
 
ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบกรรมวิธีปรับระดับ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวแปรรูปของ[[เปลือกโลก]] ไหล่ทวีปจะมีระดับสูงขึ้นและมีขนาดกว้างออกไป เพราะมีวัตถุต่าง ๆ จากพื้นดินมาทับถมอยู่ ตัวกระทำที่นำเอาวัตถุเหล่านั้นมาคือ [[แม่น้ำ]] [[ลม]]และสิ่งที่หลุดร่วงจากฝั่งจากการกระทำของทะเลมหาสมุทรเอง ถ้า[[ชายฝั่ง]]จมตัวลงน้ำทะเลจะไหลท่วมขึ้นไปถึงส่วนที่ป็น[[ที่ราบชายฝั่ง]] ไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าชายฝั่งยกตัวสูงขึ้นไหล่ทวีปอาจกลายเป็นที่ราบชายฝั่งไป
นอกจากนี้ไหล่ทวีบยังเป็นที่อยู่ของ[[สัตว์]]มากมายอีกด้วย
 
== ลาดทวีป ==
ลาดทวีปอยู่ถัดจากไหล่ทวีป มีความลาดชันมาก 65 กิโลเมตรต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตร ลาดทวีปในที่ต่าง ๆ มีความกว้างแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นตอนที่มีการเปลี่ยนระดับ ลาดทวีปนี้เป็นส่วนขอบของเปลือกโลกที่เรียกว่าไซอัล
 
ที่ลาดทวีปและที่ขอบ ๆ ของไหล่ทวีปบางตอนมี[[หุบเขา]]ลึกอยู่ระหว่าง [[หุบผาชัน]]ใต้ทะเล หุบผาชันใต้ทะเลบางแห่งมีสาขาอยู่ด้วย ก้นหุบผาชันใต้ทะเลส่วนใหญ่มีความลึก 1,800-2,000 เมตร ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สาเหตุของการเกิดหุบผาชันใต้ทะเลนี้ยังไม่ทราบแน่นอน มีการสันนิษฐานกันหลายอย่าง บ้างว่าเนื่องจากการเปลี่ยนระดับของหิน บ้างว่าเพราะคลื่นขนาดใหญ่ทำให้เกิด[[กระแสน้ำ]]ซึ่งไหลแรง ทำให้ส่วนนั้นสึกกร่อนไป บ้างว่าน้ำใต้ดินบริเวณนั้นลดน้อยลงทำให้เกิดการยุบตัว
[[ไฟล์:Oceanic_divisions.svg|thumb|ส่วนต่าง ๆ ของทะเลมหาสมุทร]]
 
== พื้นท้องมหาสมุทร ==
 
พื้นท้องมหาสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทร ช่วงนี้ไม่ได้ราบเรียบแต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วย ได้แก่[[สันเขา]] ซึ่งแคบบ้าง กว้างบ้าง ที่ราบสูง แอ่งรูปกลม แอ่งรูปยาว [[ภูเขา]] เช่น สันเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจาก[[ไอซ์แลนด์]]ลงมาเกือบถึง[[ทวีปแอนตาร์กติค]] บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น [[หมู่เกาะอะซอร์ส]] และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเลคือ[[หมู่เกาะฮาวาย]] สันเขาแห่งนี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร [[อ่าวเม็กซิโก]] [[ทะเลแคริบเบียน]] [[ทะเลแดง]] เป็นตัวอย่างของ[[แอ่งลึก]]บนพื้นท้องมหาสมุทร
 
=== ภูเขาใต้ทะเล ===
 
ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร ภูเขาใต้ทะเลบางลูกมียอดตัด เรียกว่า กีย์โอต์พบมากที่ตอนกลางและที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวายยอดของภูเขากีโอต์อยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200 - 1,800 เมตรเดิมอาจเป็นยอดภูเขาไฟแล้วคลื่นทำให้สึกกร่อนไปหรืออาจมีปะการังมาเกาะเหนือยอดเขาทำให้ยอดตัด ต่อมาพื้นท้องมหาสมุทรลดระดับต่ำลงหรือน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นเลยจมหายไปใต้น้ำ
 
=== ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล ===
 
ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล ร่องลึกบาดาลเป็นแอ่งลึกรูปยาวและขอบสูงชันอยู่ที่พื้นท้องมหาสมุทร ร่องลึกบาดาลอยู่ค่อนมาทางลาดทวีปหรือใกล้เกาะ เช่น ร่องลึกบาดาลอาลิวเซียนร่องลึกบาดาลมินดาเนา ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ร่องลึกบาดาลชวา ส่วนเหวทะเลหมายถึงแอ่งลุ่มที่มีความลึกเกินกว่า 600 เมตร กำเนิดของร่องลึกบาดาลนี้ไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน คาดกันว่าเกิดจากการคดโค้งของพื้นท้องมหาสมุทร และร่องลึกบาดาลเป็นส่วนที่ต่ำ แต่มีร่องลึกบาดาลบางแห่งมีลักษณะคล้ายหุบเขาทรุด แนวที่มีร่องลึกบาดาลนั้นเป็นแนวที่เปลือกโลกยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ เพราะ[[แผ่นดินไหว]]ที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายครั้งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใต้ร่องลึกบาดาลเหล่านั้นลงไป
 
== อุณหภูมิ ==
 
[[อุณหภูมิ]]ของน้ำทะเล อุณหภูมิของน้ำทะเลนั้นขึ้นอยู่กับการแผ่[[รังสี]][[ดวงอาทิตย์]]มากกว่า[[ความร้อน]]จาก[[แก่นโลก]]หรือ[[กัมมันตภาพรังสี]]จากพื้นท้องมหาสมุทร อุณหภูมิของน้ำทะเลจะต่างกันทั้งทาง[[แนวราบ]] คือจาก[[เส้นศูนย์สูตร]]ไปทาง[[ขั้วโลก]] และทาง[[แนวดิ่ง]] คือจาก[[ระดับน้ำทะเล]]ลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรทางแนวราบนั้นที่เส้นศูนย์สูตรอุณหภูมิเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 26 [[องศาเซลเซียส]] (80 [[องศาฟาเรนไฮน์]]) ที่ขั้วโลกประมาณ -2 องศาเซลเซียส (28องศาฟาเรนไฮน์) ทางแนวดิ่งที่แถบอากาศร้อนอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดร็วจากระดับน้ำทะเลถึงระดับลึกประมาณ 1,080 เมตร อุณหภูมิที่ระดับนี้ประมาณ 4 องศาเซลเซียส จากระดับลึก 1,080 – 1,800 เมตร อุณหภูมิลดลง พ้นระดับนี้ลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรอุณหภูมิเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ประมาณ 2 องศาเซลเซียส ที่ขั้วโลกอุณหภูมิที่พื้นท้องมหาสมุทรประมาณ 2 องศาเซลเซียส
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* Pope, F. 2009. From eternal darkness springs cast of angels and jellied jewels. in The Times. November 23. 2009 p. 16 - 17.
* [http://www.marine.tmd.go.th/thai/oceanhtml/oceandoc.html มหาสมุทร]
 
{{แหล่งน้ำ}}