ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องปรับอากาศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lalitar Suramitt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขของ Lalitar Suramitt (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 171.97.39.34
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
== เครื่องปรับอากาศ ==
{{ชื่ออื่น|เครื่องใช้ไฟฟ้า||แอร์}}
'''เครื่องปรับอากาศ''' คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ช่วยทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ในปัจจุบันเครื่องปรับอากาศได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่นปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรือมีการกรองอากาศเพื่อ การป้องกันเชื้อราภายในห้อง มีระบบประหยัดไฟฟ้า และระบบอื่นๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งทำให้เครื่องปรับอากาศในสมัยนี้มีคุณสมบัติต่างจากเครื่องปรับอากาศสมัยก่อนมาก<ref>http://www.kitchaair.com/index.php/knowledge/88-2009-10-12-02-28-42.html</ref>
==[[ไฟล์:Air Conditioner.jpg|thumb|เครื่องปรับอากาศ ==]]
'''เครื่องปรับอากาศ''' หรือภาษาปากว่า '''แอร์''' ({{lang-en|Air conditioner, aircon}}) คือ[[เครื่องใช้ไฟฟ้า]]ที่ใช้ปรับ[[อุณหภูมิ]]ของ[[อากาศ]]ในเคหสถาน เพื่อให้[[มนุษย์]]ได้อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานใน[[เขตศูนย์สูตร]]หรือ[[เขตร้อนชื้น]]มักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับใน[[เขตอบอุ่น]]หรือ[[เขตขั้วโลก]]ใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า ''เครื่องทำความร้อน'') เครื่องปรับอากาศมีทั้งแบบตั้งพื้น ติดผนัง และแขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการ[[การถ่ายเทความร้อน]] กล่าวคือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอก อากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น และเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลด[[ความชื้น]]หรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย
 
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น บีทียู ต่อ ชั่วโมง (BTU/hr) (บีทียู เป็นหน่วยของความร้อน) เป็นค่าความสามารถในการลดพลังงานความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยการลดพลังงานความร้อน 1 บีทียู จะทำให้น้ำบริสุทธิ์ที่หนัก 1 ปอนด์ (ประมาณ 453.6 มิลลิลิตร) เย็นลง 1 [[องศาฟาเรนไฮต์]] ({{เศษ|5|9}} [[องศาเซลเซียส]])
 
ประเภทของเครื่องปรับอากาศภายใน[[บ้านเรือน]] ถ้าแบ่งตามลักษณะตำแหน่งของแฟนคอยล์ ยุนิท (ตัวพัดลมที่เป่าความร้อนออกไปภายนอก) จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
 
1.แบบชิ้นเดียว - หรือที่พวกเราคุ้นเคยในในชื่อ แอร์ฝังหน้าต่าง/ผนัง ตัวแฟนคอยล์ ยุนิตจะอยู่เป็นชิ้นเดียวกับตัวคอนเดนซิ่ง ยุนิต (ส่วนที่เป่าลมเย็นให้กับภายในห้อง) ข้อดีของเครื่องแบบนี้คือขนาดกะทัดรัด ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยาแอร์ แต่ข้อเสียคือ เสียงจะค่อนข้างดัง(โดยเฉพาะเมื่อมันเก่ามากๆ) แรงสั่นสะเทือนที่กระทำต่อตัวเครื่องและโครงสร้างของจุดที่ติดตั้งก็มีสูง และถ้าเครื่องมีขนาดขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณเพราะบริเวณช่องหน้าต่าง/ผนังไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้ ต้องทำโครงสร้างมาช่วยค้ำจุนเพิ่ม
 
2.แบบแยกชิ้น - เป็นแบบที่เราเห็นกันได้ทั่วไปและนิยมมากที่สุด โดยตัวแฟนคอยล์ ยุนิตนั้นจะแยกไปติดตั้งภายนอกอาคาร ทำให่มีข้อดีคือเงียบ และมีรูปแบบให้เลือกค่อนข้างมาก ข้อเสียคือการติดตั้งที่จะค่อนข้างเสียเวลาเพราะต้องมีการเดินท่อน้ำยาแอร์
 
น้ำยาแอร์ปัจจุบันที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศภายทั่วไปรวมถึงตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศแบบส่วนกลางที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ ในปัจจุบันมีชื่อเรียกทางเคมีว่า R-22 ส่วนน้ำยาแอร์สำหรับใช้ในรถยนต์มีชื่อเรียกทางเคมีว่า R-134A
 
== ค่า EER ==
ค่า EER ย่อมาจาก Energy Efficiency Rating เป็นค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ โดยจะหาได้จาก ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (บีทียู ต่อ ชั่วโมง) หารด้วย กำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ (วัตต์) เช่น เครื่องปรับอากาศ ขนาด 11,700 บีทียูต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ จะมีค่า EER = 11,700 หาร 1,000 = 11.7 เป็นต้น
 
หากเครื่องปรับอากาศมีค่า EER สูง จะมีความสามารถสูงขึ้น สามารถทำงานดูดความร้อนได้ในอัตรา (BTU/hr) ที่สูงขึ้น โดยใช้พลังงาน (วัตต์)เท่าเดิม หรือดูดความร้อนในอัตราเท่าเดิมโดยใช้พลังงานน้อยลง นั่นหมายถึง ยิ่งมีค่า EER สูง ยิ่งประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง
 
ค่า EER นี้ ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินฉลากพลังงานด้วย โดยที่เครื่องปรับอากาศที่จะได้ฉลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ในประเทศไทย จะต้องมีค่า EER = 11.6 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 27,296 บีทียู/ชั่วโมง และ 11.0 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาด มากกว่า 27,296 บีทียู/ชั่วโมง
 
ปัจจุบันได้เพิ่ม SEER สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์สเตอร์
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Air conditioners}}
 
'''ระบบอินเวอร์เตอร์(Inverter)''' คือ ระบบที่นำเอาความรู้ทางด้าน[[อิเล็กทรอนิกส์|อิเลคทรอนิกส์]]ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่งจาก ไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรนและนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์<ref>http://www.samsung.com/th/support/skp/faq/804465</ref>