ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Spacialitar (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ตามพงศาวดาร
บรรทัด 20:
}}
 
'''สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า''' หรือ '''สมเด็จพระสรรเพชญที่ 1''' ทรงสถาปนาราชวงศ์สุโขทัย สืบเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง อาณาจักรสุโขทัย เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]] ทรงครองราชสมบัติในผู้สถาปนา[[ราชวงศ์สุโขทัย]]สมัย[[อาณาจักรอยุธยา]]
 
== พระราชประวัติ ==
=== ก่อนครองราชย์ ===
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า มีพระราชบิดา เป็นเชื้อสาย[[ราชวงศ์พระร่วง]] ส่วนพระราชมารดา เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิ เช่นเดียวกันกับ [[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]<ref name="พันจัน71">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 71</ref> สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2057 ต่อมาได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็น''ขุนพิเรนทรเทพ'' ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจขวา<ref name="นามา117">''นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย'', หน้า 117</ref>
 
เมื่อ[[ขุนวรวงศาธิราช]]และ[[นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์]]สมคบกันสำเร็จโทษ[[พระยอดฟ้า]]พระราชโอรสของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เองแล้ว ขุนพิเรนทรเทพได้ร่วมกับ [[เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช|ขุนอินทรเทพ]] [[เจ้าพระยามหาเทพ|หมื่นราชเสน่หา (ในราชการ)]] และ[[หลวงศรียศ]] ปรึกษากันว่าแผ่นดินเป็นทุรยศ ควรจับขุนวรวงศาธิราชไปประหารชีวิตเสีย แล้วให้[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ|พระเทียรราชา]]ซึ่งทรงผนวชอยู่[[วัดราชประดิษฐาน]]เป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเทียรราชา กราบทูลแผนการให้ทรงทราบ ก็ทรงเห็นด้วย ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ เห็นว่าควรเสี่ยงเทียนว่า พระเทียรราชามีพระบารมีมากกว่าสมเด็จพระวรวงศาธิราชเจ้าหรือไม่ ขุนพิเรนทรเทพไม่เห็นชอบ แต่พระเทียรราชาทรงเห็นด้วย ค่ำวันนั้นทั้งหมดจึงไปยังพระอุโบสถ[[วัดป่าแก้ว]]เพื่อทำพิธีเสี่ยงทาย<ref name="พันจัน67">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 67</ref>
บรรทัด 34:
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงตั้งขุนพิเรนทรเทพเป็น''สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า'' ครองเมืองพิษณุโลก ตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดาเป็น[[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] ให้เป็นพระอัครมเหสี และพระราชทาน[[เครื่องราชกกุธภัณฑ์]] เครื่องราชูปโภค มีอำนาจตั้งตำแหน่งบรรดาศักดิ์ฝ่ายทหารพลเรือนในเมืองพิษณุโลก และเรือชัยพื้นดำพื้นแดงคู่หนึ่ง<ref name="พันจัน71">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 71</ref> เมื่อประทับ ณ เมืองพิษณุโลกนั้น พระวิสุทธิกษัตรีย์ได้มีประสูติกาลพระราชโอรสธิดาตามลำดับคือ [[พระสุพรรณกัลยา]] [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] และ[[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]<ref name="นามา117"/>
 
ถึงปี พ.ศ. 2106 [[พระเจ้าบุเรงนอง]] พระมหากษัตริ์แห่งกรุงหงสาวดี ยกทัพมาตีพิษณุโลก พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเห็นว่าครั้งนี้ทัพหงสาวดีทรงชนะมากจนเหลือกำลังจะต้านทานได้ ในวันอาทิตย์ แรม 5 ค่ำ เดือน 2 จึงทรงยอมแพ้ พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงรับสั่งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงธรรมราชาจัดทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาร่วมกับพระองค์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็จัดพล 30,000 ติดตามเสด็จไปกับทัพพระเจ้าบุเรงนองลงไปตีกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง|เสียกรุงในปี พ.ศ. 2112]] พระเจ้าบุเรงนองจึงถอด[[สมเด็จพระมหินทราธิราช]]จากราชสมบัติ แล้วราชาภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าให้ครองกรุงศรีอยุธยาแทน มีราชทินนามว่า ''สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญวงศ์กุรสุริโคดม บรมราชาธิราชราเมศ ปริเวทธรรมิกราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรเทพสมมติราชบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว''<ref name="พันจัน129">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 129</ref>
 
=== หลังครองราชย์ ===