ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติออบหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
+เนื้อหา+รูป+อ้างอิง
บรรทัด 21:
}}
 
'''อุทยานแห่งชาติออบหลวง''' เป็น[[อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย|อุทยานแห่งชาติ]]แห่งหนึ่งในพื้นที่[[อำเภอจอมทอง]] [[อำเภอฮอด]] และ[[อำเภอแม่แจ่ม]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] ตั้งอยู่ห่างจาก[[เทศบาลนครเชียงใหม่|ตัวจังหวัดเชียงใหม่]]ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ราว 553 [[ตารางกิโลเมตร]] (345,625 [[ไร่]]) พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานเป็น[[ภูเขา]]สลับซับซ้อนและสูงชัน มีอาณาเขตติดต่อกับ[[อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์]] แหล่งน้ำหลักคือลำ[[น้ำแม่แจ่ม]] ซึ่งทำให้เกิดมีลักษณะเป็นเกาะ[[แก่ง]]และโขดหินขนาดใหญ่ช่วงที่เมื่อไหลผ่านหุบเขา ในอุทยานมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จำแนกได้หลายประเภท สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น [[เลียงผา]] เสือ หมี เป็นต้น นอกจากนี้ภายในอุทยานแห่งชาติยังมี[[น้ำพุร้อน]] [[น้ำตก]] [[ถ้ำ]] และแหล่งโบราณคดี[[ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]
 
== ประวัติ ==
แรกเริ่ม[[กรมป่าไม้]]ได้ทำการจัดตั้ง "[[วนอุทยาน]]ออบหลวง" ขึ้นในบริเวณอุทยานแห่งชาติในปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม [[พ.ศ. 2509]] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหางดง อำเภอฮอด และตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ โดยกรมป่าไม้เห็นว่าบริเวณนี้มีสภาพภูมิประเทศที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ประกอบด้วยโขดผา ลำน้ำที่ไหลผ่านหลืบเขาที่ชาวบ้านเรียกกันมาก่อนหน้านี้ว่า ''ออบหลวง'' ซึ่งเป็น[[คำเมือง|ภาษาท้องถิ่น]]แปลว่า ''ช่องแคบขนาดใหญ่'' ตามลักษณะภูมิประเทศ ในอดีตพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่พักของคนงานบริษัทบอร์เนียว ซึ่งคอยเก็บ[[สัก (ต้นไม้)|ไม้สัก]]ที่ลำเลียงมาตามลำน้ำแม่แจ่ม
 
ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนวนอุทยานออบหลวงมาอยู่ในความดูแลของ[[กองอุทยานแห่งชาติ]] สังกัดกรมป่าไม้ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2531 กองอุทยานแห่งชาติได้ทำการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมรอบวนอุทยานเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เพิ่มเติมรอบวนอุทยานประกอบด้วย ป่าจอมทอง ป่าแม่แจ่ม–แม่ตื่น และป่าแม่แจ่ม ทั้งหมดแต่เดิมเป็น[[ป่า]]ถาวรของชาติตามมติ[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30|คณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2509]] จากนั้นได้ยกฐานะเป็น[[ป่าสงวนแห่งชาติ]]โดยเรียงลำดับเวลาดังนี้ ป่าแม่แจ่ม–แม่ตื่นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ป่าจอมทองเมื่อปี พ.ศ. 2510 และป่าแม่แจ่มเมื่อปี พ.ศ. 2517 ป่าทั้งหมดมีสภาพสมบูรณ์ รวมพื้นที่ประมาณ 630 ตารางกิโลเมตร เมื่อทำการสำรวจเสร็จสิ้น กองอุทยานแห่งชาติได้รวมป่าข้างต้นทั้งหมดเข้ากับวนอุทยานฯและจัดตั้งเป็น '''อุทยานแห่งชาติออบหลวง''' เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม [[พ.ศ. 2534]] ถือเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 68 ของประเทศ
 
== ภูมิศาสตร์ ==
=== ที่ตั้ง ===
อุทยานแห่งชาติออบหลวงมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลดอยแก้ว ตำบลสบเตี๊ยะ ตำบลแม่สอย ตำบลบ้านแปะ [[อำเภอจอมทอง]] ตำบลกองแขก [[อำเภอแม่แจ่ม]] และตำบลหางดง ตำบลนาคอเรือ ตำบลบ่อหลวง [[อำเภอฮอด]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] มีอาณาเขตติดต่อดังนี้<ref name="dnp">[http://www.dnp.go.th/nprd/plan/data/n/planopluang.pdf (ร่าง) การจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแม่บทในการจัดการอุทยานแห่งชาติออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่] สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช</ref>
* ทิศเหนือ – [[อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์]]
* ทิศใต้ – จรดห้วยแม่ป่าไผ่ และเขตสหกรณ์นิคมแม่แจ่ม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
* ทิศตะวันออก – จรดบ้านแม่สอย โครงการป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทองที่ 2 เขตสุขาภิบาลหางดง และเขตสหกรณ์นิคมแม่แจ่ม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
* ทิศตะวันตก – จรดห้วยบง ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด และห้วยอมขูด เขตสงวนป่า[[องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้]]แม่แต่ม ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
 
=== ภูมิประเทศ ===
พื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและสลับซับซ้อน มีที่ราบน้อยมาก กลุ่มภูเขาวางตัวในแนวเหนือ–ใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[เทือกเขาถนนธงชัย]] มีอาณาเขตติดต่อกับ[[ดอยอินทนนท์]] พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 280–1,980 เมตร<ref name="dnp"/> ยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ ภูเขาที่สำคัญได้แก่ ดอยผาดำ ดอยเลี่ยม ดอยปุยหลวง ดอยคำ เป็นต้น แหล่งน้ำที่สำคัญคือ ลำ[[น้ำแม่แจ่ม]] ซึ่งเป็นเขตแบ่งอำเภอจอมทองและอำเภอฮอด ไหลผ่านกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติจากทิศตะวันตกไปตะวันออก เฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติมีความยาวประมาณ 27 กิโลเมตร แม่น้ำไม่คดเคี้ยวมาก ภูมิประเทศที่แม่น้ำไหลผ่านมีลักษณะเป็นหุบเขา ตลิ่งแม่น้ำในอุทยานแห่งชาติมีลักษณะเป็นเกาะแก่ง มีโขดหินขนาดใหญ่ เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ แหล่งน้ำอื่นในอุทยานแห่งชาติได้แก่ ห้วยแม่แตะ ห้วยแม่เตี๊ยะ ห้วยแม่สอย ห้วยแม่แปะ ห้วยแม่จร ห้วยแม่หึด ห้วยแม่หลวง ห้วยแม่นาเปิน ห้วยแม่บัวคำ ห้วยแม่ลอน ห้วยบง ห้วยแม่ฮอด ห้วยทราย และห้วยแม่ป่าไผ่ บางส่วนไหลลงแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งในที่สุดก็ลงมารวมกับแม่น้ำปิงทั้งหมด<ref name="dnp"/> ถือเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของ[[แม่น้ำปิง]]ตอนล่าง
 
=== ธรณีวิทยา ===
บริเวณออบหลวงเป็น[[หินแปร]]เกรดสูง มีขนาดต่าง ๆ กัน เกิดจาก[[การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค|การแปรสัณฐาน]]ในช่วง[[ยุคไทรแอสซิก]] (200–250 ล้านปีก่อน) หินที่เป็นองค์ประกอบของพื้นที่ได้แก่ [[หินแกรนิต]] [[granodiorite|แกรโนไดออไรท์]] สลับกับ[[หินบะซอลต์]]และหินตระกูลแกรนิตชนิด[[migmatite|มิคมาไทด์]] ซึ่งประกอบด้วย แร่[[ควอตซ์]]และ[[เฟลด์สปาร์]] จากยุคไทรแอสซิกและ[[ยุคครีเทเชียส|ครีเทเชียส]] สำหรับท้องน้ำของลำน้ำแม่แจ่มมีเกาะแก่ง หินขนาดต่าง ๆ ริมฝั่งแม่น้ำบางช่วงมีหาดทราย เกิดจากน้ำพัดพา[[ตะกอน]]มาสะสม นอกจากนี้ยังพบก้อนหินกลมประเภทกรวดท้องน้ำของหิน[[quartzite|ควอร์ตไซต์]] [[ควอตซ์]] [[jasper|แจสเปอร์]] เป็นต้น<ref name="dmr">[http://www.dmr.go.th/download/document/tour/ChiangMai.pdf ธรณีวิทยาแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่] [[กรมทรัพยากรธรณี]], หน้า 28-29</ref>
 
== นิเวศวิทยา ==
=== พืชพรรณ ===
ในอุทยานแห่งชาติออบหลวงสามารถพบป่าไม้ได้หลายประเภท แตกต่างตามระดับความสูง จำแนกได้ดังนี้<ref name="dnp"/>
* ป่าเต็งรัง – ครอบคลุมราว 70% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พบทั่วไปในบริเวณภูเขา ความสูงไม่เกิน 800 เมตร เช่น บริเวณที่ทำการอุทยานฯ พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ [[เหียง]] พลวง [[เต็ง]] [[รัง]] และ[[มะขามป้อม]] มักประสบปัญหา[[ไฟป่า|ไฟไหม้ป่า]]ทุกปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง
* ป่าเบญจพรรณ – พบทั่วไปตั้งแต่ระดับความสูง 400–800 เมตร พบขึ้นอยู่ตามริมห้วยและริมหุบเขาสองฝั่งลำน้ำแม่แจ่ม พื้นที่น้ำตกแม่นาเปิน เป็นต้น พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ [[สัก (ต้นไม้)|สัก]] [[ประดู่]] [[แดง (พรรณไม้)|แดง]] [[มะค่าโมง]] เก็ดแดง เก็ดดำ ขะเจ๊าะ ตะแบก รกฟ้า และไผ่ชนิดต่าง ๆ
* ป่าดิบแล้ง – พบทั่วไปบริเวณไหล่เขาและหุบเขาใกล้ลำห้วย เช่น บริเวณห้วยแม่นาเปิน ห้วยแม่บัวคำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กะบาก ยาง ตะเคียน [[มะค่าโมง]] แคหิน และ[[ปาล์ม]]หลายชนิด
* ป่าสนเขา – พบขึ้นอยู่ในระดับความสูงราว 800–1,000 เมตร เช่น ดอยป่ากล้วย ดอยเลี่ยม ดอยผาดำ อำเภอจอมทอง และดอยคำ ดอยหมู่ติง ดอยปุยหลวง อำเภอฮอด มีทั้ง[[สนสองใบ]]และ[[สนสามใบ]]
* ป่าดิบเขา – พบขึ้นกระจายอยู่ในระดับสูงเหนือป่าสนเขาขึ้นไป พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อเลือด มะขามป้องดง ยมหอม [[หว้า]] จำปีป่า เป็นต้น ไม้พื้นล่างที่พบได้แก่ [[เฟิน]] [[กล้วยไม้ดิน]] [[มอส]]ชนิดต่าง ๆ
 
=== สัตว์ป่า ===
ปัจจุบันมีสัตว์ป่าเหลืออยู่จำนวนน้อย เนื่องจากสภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ มีภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีที่ราบและทุ่งหญ้าน้อย สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้ เช่น [[เลียงผา]] เสือ หมี [[กวางป่า]] [[หมูป่า]] [[เก้ง]] [[ชะนี]] ลิง [[ชะมด]] [[กระต่ายป่า]] [[นิ่ม]] [[ตะกวด]] นกประมาณสองร้อยชนิด เช่น [[นกกางเขน]]บ้าน [[นกกางเขนดง]] [[นกพญาไฟ]] [[นกเขาใหญ่]] [[นกเขาเขียว]] [[นกดุเหว่า]] [[นกหัวขวาน]] [[นกกะปูด]] [[นกขุนทอง]] [[นกแก้ว]] [[เหยี่ยวรุ้ง]] [[นกยูง]] [[ไก่ฟ้า]] [[ไก่ป่า]] [[นกกระทา]] [[นกคุ่ม]] [[นกเขียวก้านตอง]] [[นกกระเต็น]] [[นกปรอดหัวโขน]] และนกกินแมลงหลายชนิด สัตว์เลื้อยคลานที่พบได้แก่ [[ตะกวด]] [[แย้]] ในลำน้ำแม่แจ่มพบปลาชุกชุมและมีหลายชนิด ปลาที่สำคัญได้แก่ [[ปลาจิ้งจอก]] [[ปลาค้อ]]
 
== แหล่งท่องเที่ยว ==
[[ไฟล์:Obluang national park, Chiangmai province, Thailand.jpg|thumb|บริเวณออบหลวง ด้านล่างคือลำน้ำแม่แจ่ม]]
;=== เชิงสุขภาพและผจญภัย ===
* บ่อน้ำร้อนเทพพนม
* บ่อน้ำร้อนเทพพนม – ห่างจากออบหลวงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 14 กิโลเมตร ริม[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088]] เป็น[[บ่อน้ำร้อน]]ธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้พิภพ น้ำมีความร้อนสูงถึง 99 องศาเซลเซียส บริเวณโดยรอบเป็นที่ราบราว 10 ไร่ มีลำห้วยโป่งไหลผ่าน
;เชิงผจญภัย
* ลำน้ำแม่แจ่ม – มีกิจกรรม[[ล่องแก่ง]]เรือยาง มีสองระยะ คือ ระหว่างสะพานแม่นาเปิน–ท่าพระเสด็จ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และระหว่างบ้านอมขูด–บ้านท่าเรือ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
* ลำน้ำแม่แจ่ม
 
;ด้านธรรมชาติ
*=== เส้นทางศึกษาเชิงธรรมชาติ ===
* ออบหลวง – เป็นช่องแคบเขาขาดมีหน้าผาหินขนาบลำน้ำแม่แจ่ม หน้าผามีความสูงถึงระดับน้ำปกติประมาณ 32 เมตร ส่วนที่แคบสุด 2 เมตร<ref name="dmr"/> ความยาวช่องแคบประมาณ 300 เมตร ตั้งอยู่ริม[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108]]
* ออบหลวง
* น้ำตกแม่จอน – ส่วนหนึ่งของห้วยแม่จอนหลวง เขตตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง น้ำตกมีหน้าผาขนาดใหญ่ สูงราว 100 เมตร กว้าง 80 เมตร เป็นหินแกรนิตผสมหินแปรสีขาวเจือสีเทาอ่อน
* น้ำตกแม่จอน
* น้ำตกแม่เตี๊ยะ – ส่วนหนึ่งของห้วยแม่เตี๊ยะ ในเขตตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง มีความสูงประมาณ 80 เมตร กว้าง 40 เมตร มีน้ำตลอดปี เข้าถึงได้โดยการเดินเท้าจากบ้านแม่เตี๊ยะประมาณ 8 กิโลเมตร
* น้ำตกแม่เตี๊ยะ
* น้ำตกแม่บัวคำ – ส่วนหนึ่งของห้วยแม่บัวคำ เขตตำบลหางดง อำเภอฮอด สูงประมาณ 50 เมตร ลดหลั่นลงมาเป็นเพิงชั้น
* น้ำตกแม่บัวคำ
* ถ้ำตอง – ตั้งอยู่ในดอยผาเลียบ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง ปากถ้ำมีขนาดประมาณ 5×10 เมตร สูง 3 เมตร หน้าถ้ำมีห้วยแม่แปะไหลผ่าน ปัจจุบันบริเวณปากถ้ำถูกใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนักวิปัสสนาถ้ำตอง
* ถ้ำตอง
* ถ้ำตุ๊ปู่ – ในตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำ[[หินปูน]]ขนาดเล็ก ปากถ้ำมีขนาดประมาณ 1×1.5 เมตร ภายในกว้างขวางมีรูปร่างค่อนข้างกลม มี[[หินงอก]][[หินย้อย]]อยู่ทั่วไป
* ถ้ำตุ๊ปู่
* เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยคำ – มีระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
;เชิงประวัติศาสตร์
 
* ดอยผาช้าง
*=== แหล่งโบราณคดีของมนุษย์สมัยก่อนเชิงประวัติศาสตร์ ===
* ดอย;ผาช้าง
เป็นหินขนาดใหญ่ชนิดแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ทั้งแท่ง ปรากฏออกสีน้ำตาลดำ ขนาดยาว 300 เมตร สูง 80 เมตร มีลักษณะคล้ายช้างตัวใหญ่นอนหมอบอยู่ ห่างจากออบหลวงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 400 เมตร<ref name="dnp"/> บนยอดดอยเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นน้ำตกแม่บัวคำ ออบหลวง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ด้านตะวันตกของดอยผาช้างมีเพิงผาคล้ายถ้ำ เรียกว่า "ถ้ำผาช้าง" คาดว่าเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์[[สมัยก่อนประวัติศาสตร์]] พบภาพเขียนรูปสัตว์และคนหลายภาพ เขียนด้วยสีขาวและสีแดงอมดำเข้ม [[กรมศิลปากร]]ยืนยันว่าเป็นครั้งแรกที่พบภาพเขียนโบราณในพื้นที่[[ภาคเหนือตอนบน]] ซึ่งพบเมื่อปี [[พ.ศ. 2527]] โดยนายสายันต์ ไพรชาญจิตร และนายประทีป เพ็งตะโก นักโบราณคดีของกองโบราณคดี สันนิษฐานว่าภาพเขียนมีอายุราว 7,500–8,500 ปี
 
;แหล่งโบราณคดีของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1,200 เมตร<ref name="dnp"/> เริ่มต้นจากออบหลวง จากการสำรวจโดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมมือกับทีมวิจัยจากประเทศฝรั่งเศศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น เครื่องมือหินกระเทาะทำจากหินกรวดท้องน้ำ แกนและสะเก็ดหิน ขวานหินขัด ชิ้นส่วนเครื่องประดับ ภาชนะ[[สัมฤทธิ์]] ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ทั้งยังพบ[[โครงกระดูกมนุษย์]]ใน[[ยุคสัมฤทธิ์]] มีอายุระหว่าง 2,500–3,500 ปีก่อน[[คริสต์ศักราช|คริสตกาล]]
 
== อ้างอิง ==
* [http://dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=145&lg=1 อุทยานแห่งชาติออบหลวง] [[กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช]]
* [http://dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=145&lg=1 อุทยานแห่งชาติออบหลวง – แหล่งท่องเที่ยว] กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Op Luang National Park|อุทยานแห่งชาติออบหลวง}}
* [http://dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=145&lg=1 อุทยานแห่งชาติออบหลวง] จากเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
 
เส้น 49 ⟶ 88:
[[หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย|ออบหลวง]]
[[หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่|ออบหลวง]]
{{โครง}}