ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องปรับอากาศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Onnuma intarith (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{ชื่ออื่น|เครื่องใช้ไฟฟ้า||แอร์}}
[[ไฟล์:Air Conditioner.jpg|thumb|เครื่องปรับอากาศ]]
'''เครื่องปรับอากาศ''' หรือภาษาปากว่า '''แอร์''' ({{lang-en|Air conditioner, aircon}}) คือ[[เครื่องใช้ไฟฟ้า]]ที่ใช้ปรับ[[อุณหภูมิ]]ของ[[อากาศ]]ในเคหสถาน เพื่อให้[[มนุษย์]]ได้อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานใน[[เขตศูนย์สูตร]]หรือ[[เขตร้อนชื้น]]มักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับใน[[เขตอบอุ่น]]หรือ[[เขตขั้วโลก]]ใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า ''เครื่องทำความร้อน'') เครื่องปรับอากาศมีทั้งแบบตั้งพื้น ติดผนัง และแขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการ[[การถ่ายเทความร้อน]] กล่าวคือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอก อากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น และเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลด[[ความชื้น]]หรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย
'''เครื่องปรับอากาศ''' หรือภาษาปากว่า '''แอร์''' ([[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]] Air conditioner, aircon) คือ เครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่ทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ปัจจุบันนี้เครื่องปรับอากาศได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น ปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรือมีการ[[อุปกรณ์กรองอากาศ|กรองอากาศ]] การป้องกันเชื้อราในห้อง มีระบบประหยัดไฟฟ้า มีระบบอื่นๆ ที่สนองความต้องการของผู้บริโภคอีกมากมาย ซึ่งทำให้เครื่องปรับอากาศในสมัยนี้มีคุณสมบัติต่างจากเครื่องปรับอากาศสมัยก่อนมาก<ref>http://www.kitchaair.com/index.php/knowledge/88-2009-10-12-02-28-42.html</ref>
 
==ส่วนประกอบสำคัญ ที่มีอยู่ในวงจร ของระบบการทำความเย็น==
1.คอมเพรสเซอร์ ([[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]Compressor) [[คอมเพรสเซอร์]]ทำหน้าที่ ดูดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซใน Evaporatorและรักษา[[ความดัน]]ต่ำไว้ แล้วอัดสารทำความเย็นที่เป็น[[แก๊ส|ก๊าซ]]ให้มีความดันสูง เพื่อให้สารทำความเย็นที่เป็นก๊าซสามารถกลั่นตัวเป็นสารทำความเย็นเหลวที่อุณหภูมิปกติ คอมเพรสเซอร์มีหลายแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับโครงสร้างนั่นเอง<ref>http://www.thaiaircare.com/article/1267/</ref>
2.คอนเดนเซอร์ ([[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]Condenser) ทำหน้าที่ส่งความร้อนจากก๊าซของสารทำความเย็นที่ถูกอัดให้มีอุณหภูมิสูงไปยังตัวสื่อที่ใช้ระบายความร้อน ในการลดความร้อนนี้ สารทำความเย็นจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลับเป็นสารทำความเย็นเหลว ความร้อนที่สลัดออกไปทิ้งที่คอนเดนเซอร์นี้ จะเท่ากับปริมาณความร้อนที่ดูดออกจากในห้องด้วยการระเหย (เดือด) ของสารทำความเย็นรวมกับงานที่ให้กับคอมเพรสเซอร์
3.อีวาพอเรเตอร์ ([[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]Evaporator) อีวาพอเรเตอร์ทำหน้าที่ให้สารทำความเย็นเหลวระเหยที่ความดันต่ำ เดือดและดูดความร้อนทั้งหมดเพื่อทำให้ได้ความเย็น ชนิดของอีวาพอเรเตอร์ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับชนิดของสารทำความเย็น อีวาพอเรเตอร์แบ่งหยาบ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้สำหรับระบบปรับอากาศและกลุ่มที่ใช้ทำความเย็น
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น บีทียู ต่อ ชั่วโมง (BTU/hr) (บีทียู เป็นหน่วยของความร้อน) เป็นค่าความสามารถในการลดพลังงานความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยการลดพลังงานความร้อน 1 บีทียู จะทำให้น้ำบริสุทธิ์ที่หนัก 1 ปอนด์ (ประมาณ 453.6 มิลลิลิตร) เย็นลง 1 [[องศาฟาเรนไฮต์]] ({{เศษ|5|9}} [[องศาเซลเซียส]])
 
4. อุปกรณ์ลดความดัน ([[ประเทศอังกฤษ|อังกฤษ]]Pressure Reducing Device) อุปกรณ์ลดความดันเป็นอุปกรณ์อันหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการทำความเย็น ทำหน้าที่ให้สารทำความเย็นไหลเข้าไปฉีดขยายตัวและควบคุมการไหลของสารทำความเย็นไปยังอีวาพอเรเตอร์ในปริมาณพอเหมาะกับขนาดของระบบการทำความเย็นนั้น ๆ ความหมายของ Throtting คือ ทำหน้าที่ให้สารทำความเย็นไหลผ่านที่แคบ ๆ ในระยะเวลาอันสั้นและขยายตัว ที่ช่วงนี้จะไม่มีการถ่ายเทความร้อนหรืองานจากภายนอกเลย ชุดลดคามดันนี้มี 2 แบบด้วยกันคือท่อแคพพิลารี่ (Capillary Tube) และเอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
ประเภทของเครื่องปรับอากาศภายใน[[บ้านเรือน]] ถ้าแบ่งตามลักษณะตำแหน่งของแฟนคอยล์ ยุนิท (ตัวพัดลมที่เป่าความร้อนออกไปภายนอก) จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ