ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฤษณมูรติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Santilibrary (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 21:
เมื่ออายุได้ 14 ปี กฤษณมูรติถูกเลือกให้เป็นผู้ที่จะมาเป็นยานแห่งครูโลกโดย [https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Webster_Leadbeater CW ลีด บี เทอร์] บุคคลสำคัญคนหนึ่งในเทวญาณวิทยา ต่อจากพระ[[คริสต์]]และ[[พระพุทธเจ้า]] กฤษณมูรติจึงถูกนำมาเลี้ยงดูอย่างระมัดระวังและเอาใจใส่โดยผู้นำของสมาคม เพื่อเตรียมพร้อมให้เขารับบทบาทอันพิเศษนี้ เพื่อรองรับการกลับมาของครูโลก ได้มีการก่อตั้งสมาคม “ดวงดาวแห่งตะวันออก” ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ มีสมาชิกและทรัพย์สินมากมาย
แต่ในปี [[พ.ศ. 2472]] ด้วยความประหลาดใจและงุนงงอย่างยิ่งของเหล่าสมาชิกสมาคม กฤษณมูรติประกาศสละทิ้งทุกบทบาทที่ตั้งขึ้นเพื่อเขา และแยกทางจากสมาคมเทวญาณ และกลับประกาศไม่เห็นด้วยกับอำนาจของผู้รู้ผู้มีอิทธิพลเหนือจิตวิญญาณ ปฏิเสธบทบาท[[พระศรีอริยเมตไตรย|พระศรีอริยเมไตรย์]] และลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั้งหมด เขาประกาศชัดเจนว่าไม่ต้องการก่อตั้งศาสนาใหม่ แต่สิ่งที่เขาสนใจเพียงประการเดียว คือ “ปลดปล่อยมนุษย์” ให้เป็นอิสระ โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ
 
มูลนิธิกฤษณมูรติทุกแห่งตั้งขึ้นเพื่อจัดหมายกำหนดการโปรแกรมการเดินทางไปพูด และจัดพิมพ์งานที่มีมากมายของกฤษรมูรติจากการพูด การสนทนา การเสวนา ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ความใส่ใจเป็นห่วงเป็นใยที่กฤษณมูรติมีต่อเยาวชนในฐานะอนาคตของมวลมนุษย์ ทำให้เขาก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในประเทศ[[อังกฤษ]] [[อเมริกา]] และ อินเดีย มีนักคิด นักเขียน กวี ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ บุคคลสำคัญเหล่านั้นหลายคน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีอำนาจทางการเมือง คือ มิตรที่คุ้นเคยกับกฤษณมูรติเป็นการส่วนตัว และเป็นกลุ่มที่มาร่วมเสวนาค้นหาเข้าสู่ปัญหาที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน
บรรทัด 42:
{{คำพูด|ฉันอยากถามว่า จะมีประโยชน์อะไรไหม ถ้าคนเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งภายในตนเอง จะเป็นไปได้ไหม ที่การปฏิวัติขั้นพื้นฐานทางจิตอันลึกล้ำจะบังเกิดขึ้น และดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ คนเรามีชีวิตอยู่ในกรอบอันแคบจำกัดและทุกข์ทรมาน จึงเป็นการยากมากที่จะมองเห็นความจริงที่ว่า เธอก็คือคนอื่นๆ ที่มีชีวิตอยู่ในโลก เธอคือส่วนหนึ่งในโลก นี่คือความจริง เป็นสัจจะ มิใช่เป็นการคิดหรือการสร้างเหตุผลขึ้น เธอในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่งคือตัวแทนของมนุษยชาติทั้งหมด เธอมีความทุกข์ทรมาน มีความกังวล ความไม่แน่ใจ ความสับสน ความเศร้า ความหวาดกลัว ความเจ็บปวด และอื่นๆ เช่นเดียวกันกับคนทุกคน ดังนั้นสติสำนึกของเธอก็คือสติสำนึกของมนุษยชาติ จากสิ่งนี้จะเห็นได้ว่าความทุกข์ของมวลมนุษย์นั้นมีอยู่ในสติสำนึก ความทุกข์ของเธอจึงเป็นความทุกข์ของมนุษย์ชาติทั้งหมดด้วย ถ้าเธอรู้สึกอย่างจริงจังว่า ความทุกข์มิใช่เป็นเพียงความทุกข์ของเธอ แต่เป็นของมนุษยชาติทั้งหมดแล้ว เธอก็หยุดร้องไห้ เธอจะเลิกหลั่งน้ำตาให้กับความเจ็บปวด ความล้มเหลว ความกังวล และเรื่องอื่นๆที่แสนจะเล็กน้อยของเธอ เป็นไปได้ไหม ที่คนเราจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ถ้าเป็นไปได้ การหลุดพ้นจากทุกข์ของคนๆหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ก็ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งที่เรากำลังคุยกัน ลองค้นพบและทดสอบดู นั่นหมายถึงว่า เธอต้องมีอิสระที่จะสังเกต สังเกตโดยปราศจากแรงกระตุ้นผลักดัน ปราศจากความต้องการ ความกดดันและอื่นๆ จงสังเกตดังเช่นเธอสังเกตดูดอกไม้ซึ่งสวยงามเท่านั้น
ฉันสงสัยว่า ทำไมมนุษย์ทั่วโลกไม่สามารถมองเห็นข้อเท็จจริงง่ายๆที่ว่า เธอไม่อาจมีสันติภาพในโลกได้ ถ้าเธอยังมีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติกันอยู่ เราต้องการระเบียบภายนอก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม หรือสัมพันธภาพที่มีต่อกัน เราต้องการระเบียบ เราต้องการสันติภาพ เราต้องการความเข้าใจ และถ้าสภาพจิตภายในของเราเป็นระเบียบ ปราศจากความสับสนขัดแย้ง ถ้าสภาพจิตในสติสำนึกของเราเงียบ แน่วแน่มั่นคง แจ่มใสแล้ว เธอก็จะสามารถนำระเบียบมาสู่โลกได้
แต่ขณะนี้ สิ่งที่เรากำลังพยายามทำก็คือ สร้างระเบียบขึ้นโดยทางกฏหมายกฎหมาย เชื้อชาติ และอื่นๆ เป็นระเบียบภายนอกที่ได้รับการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า นำมาซึ่งความไร้ระเบียบโดยสิ้นเชิง สิ่งที่ผู้พูดต้องการชี้ให้เห็นก็คือว่า ปราศจากระเบียบภายในสติสำนึกซึ่งปกติมักยุ่งเหยิงและขัดแย้ง ปราศจากการสร้างระเบียบทางจิตภายในก่อนแล้ว เธอจะไม่สามารถสร้างระเบียบภายนอกได้เลยและวิกฤตการณ์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้น วิกฤตการณ์เหล่านี้มิได้อยู่ภายนอก แต่มันอยู่ภายใน และเราก็ไม่เต็มใจที่จะเผชิญหน้าโดยตรงกับมัน<ref>กฤษณมูรติ (2544). หนึ่งพันจันทรา (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: กองทุนวุฒิธรรมเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม</ref>|กฤษณมูรติ}}
 
== การแตกหักสมาคมเทวญาณวิทยา ==