ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฤษณมูรติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Santilibrary (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Santilibrary (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
กฤษณมูรติ (อังกฤษ: [https://en.wikipedia.org/wiki/Jiddu_Krishnamurti Jiddu Krishnamurti]) เป็นปราชญ์และนักคิดอิสระผู้เป็นที่เคารพนับถือที่สุดคนหนึ่งของโลกในฐานะครูทางจิตวิญญาณผู้ร่วมยุคสมัย เมื่อยังเป็นเด็กหนุ่ม ผู้นำทางสมาคมเทวญาณวิทยาได้ประกาศยกย่องเขาขึ้นเป็นศาสดาองค์ใหม่ของโลก แต่ในปี พ.ศ.2472 เขาประกาศสลัดทิ้งบทบาททางศาสดา รวมทั้งสานุศิษย์ผู้ติดตามจำนวนมหาศาล สลายสมาคมอัครสาวกอันใหญ่โตซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อประกาศศาสนาใหม่ พร้อมทั้งยืนยันความตั้งใจว่า ไม่ต้องการเป็นศาสดา และก่อตั้งศาสนาใหม่เพื่อแบ่งแยกและครอบงำมนุษย์ เขากล่าวว่า <ref>“สิ่งที่ผมสนใจเพียงประการเดียวคือ ปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระปราศจากเงื่อนไขใดๆ อย่างสิ้นเชิง”</ref>
เป็นเวลาล่วงกว่า 70 ปีที่กฤษณมูรติได้เดินทางเพื่อพบปะสนทนากับผู้ที่สนใจจะค้นหาและเรียนรู้ร่วมกันด้วยหัวใจที่เปิดกว้างเป็นอิสระจากอดีต เพื่อทำความเข้าใจปัญหาเป็นปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอิทธิพลหล่อหลอมและกำหนดชีวิตเราอยู่ทั้งภายในจิตใจและภายนอก เพราะที่สุดแล้วเราคือโลก สังคมโลกก็คือสภาพที่เราแต่ละคนร่วมกันสร้างขึ้น ฉะนั้น จากความเข้าใจในตนเองอย่างลึกซึ้ง อาจจะนำไปสู่สังคมที่มีความรัก ความเมตตา มีมนุษยธรรมและความรู้สึกรับผิดชอบ
กฤษณมูรติจากโลกไปเมื่อ พ.ศ.2529 เมื่ออายุได้ 91 ปีด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน
 
== ประวัติ ==
กฤษณมูรติเกิดวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2529 เกิดที่ เมืองมัทนะพาลี เมืองเล็กๆ ใน[[รัฐแคว้นอันตรประเทศอานธรประเทศ]] ทางตอนใต้ของอินเดีย เป็นบุตรคนที่ 8 ใน 11 คน เมื่ออายุได้ 10 ปี มารดาของเขาเสียชีวิตลง ครอบครัวจึงย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองมัทราส เพราะบิดาของเขาต้องการจะทำงานให้กับ[[สมาคมเทวญาณวิทยาวญาณวิทยา]]หลังจากที่เกษียณอายุราชการ
 
เมื่ออายุได้ 14 ปี กฤษณมูรติถูกเลือกให้เป็นผู้ที่จะมาเป็นยานแห่งครูโลกโดย CW ลีด บี เทอร์ บุคคลสำคัญคนหนึ่งในเทวญาณวิทยา ต่อจากพระ[[คริสต์]]และ[[พระพุทธเจ้า]] กฤษณมูรติจึงถูกนำมาเลี้ยงดูอย่างระมัดระวังและเอาใจใส่โดยผู้นำของสมาคม เพื่อเตรียมพร้อมให้เขารับบทบาทอันพิเศษนี้ เพื่อรองรับการกลับมาของครูโลก ได้มีการก่อตั้งสมาคม “ดวงดาวแห่งตะวันออก” ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ มีสมาชิกและทรัพย์สินมากมาย
แต่ในปี 2472 ด้วยความประหลาดใจและงุนงงอย่างยิ่งของเหล่าสมาชิกสมาคม กฤษณมูรติประกาศสละทิ้งทุกบทบาทที่ตั้งขึ้นเพื่อเขา และแยกทางจากสมาคมเทวญาณ และกลับประกาศไม่เห็นด้วยกับอำนาจของผู้รู้ผู้มีอิทธิพลเหนือจิตวิญญาณ ปฏิเสธบทบาทพระศรีอริยเมไตร และลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั้งหมด เขาประกาศชัดเจนว่าไม่ต้องการก่อตั้งศาสนาใหม่ แต่สิ่งที่เขาสนใจเพียงประการเดียว คือ “ปลดปล่อยมนุษย์” ให้เป็นอิสระ โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ อย่างสิ้นเชิงจาก เป็นเวลา 70 ปี ที่กฤษณมูรติเดินทางทั่วโลกอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อพูดกับสาธารณชน และเสวนากับผู้ที่สนใจฟังและค้นหาด้วยใจที่เปิดกว้าง
 
มูลนิธิกฤษณมูรติทุกแห่งตั้งขึ้นเพื่อจัดหมายกำหนดการโปรแกรมการเดินทางไปพูด และจัดพิมพ์งานที่มีมากมายของกฤษรมูรติจากการพูด การสนทนา การเสวนา ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ความใส่ใจเป็นห่วงเป็นใยที่กฤษณมูรติมีต่อเยาวชนในฐานะอนาคตของมวลมนุษย์ ทำให้เขาก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในประเทศ[[อังกฤษ]] [[อเมริกา]] และ อินเดีย มีนักคิด นักเขียน กวี ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ บุคคลสำคัญเหล่านั้นหลายคน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีอำนาจทางการเมือง คือ มิตรที่คุ้นเคยกับกฤษณมูรติเป็นการส่วนตัว และเป็นกลุ่มที่มาร่วมเสวนาค้นหาเข้าสู่ปัญหาที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน
 
เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในผู้สอนของโลกในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติที่กฤษณมูรติเคารพเป็นพิเศษ คือ พระพุทธเจ้า การที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกตะวันออกได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากคำสอนอันนุ่มนวลของพระพุทธเจ้า จึงคาดคะเนได้ว่าผู้คนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนผืนดินที่เปิดรับกฤษณมูรติและคำสอนของเขา แต่กระนั้น ข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ แม้ว่ากฤษณมูรติจะเดินทางเพื่อพูดคุยและเสวนาเป็นเวลายาวนานถึง70 ปี ท่านก็ยังไม่เคยไปเยือนซีกโลกตะวันออก
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาให้ละเอียดขึ้น จะพบว่ากฤษณมูรติและคำสอนของเขา ได้เข้าไปอยู่ในใจของชาวซีกโลกตะวันออก คำสอนของกฤษณมูรติห่างไกลจากเหตุการณ์ในโลก และไม่ถูกขัดขวางโดยกลียุคทางสังคม-การเมือง และอุปสรรคด้านภาษา จึงทำให้คำสอนของท่านค่อยๆ ซึมผ่านอย่างแท้จริงและค่อยเป็นค่อยไปเข้าสู่ใจคน และมีผู้สนับสนุนและเห็นด้วยในประเทศในตะวันออกไกล และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
เป็นเวลาล่วงกว่า 70 ปีที่กฤษณมูรติได้เดินทางเพื่อพบปะสนทนากับผู้ที่สนใจจะค้นหาและเรียนรู้ร่วมกันด้วยหัวใจที่เปิดกว้างเป็นอิสระจากอดีตในด้านจิตวิญญาณ เพื่อทำความเข้าใจปัญหาเป็นปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอิทธิพลหล่อหลอมและกำหนดชีวิตเราอยู่ทั้งภายในจิตใจและภายนอก เพราะที่สุดแล้วเราคือโลก สังคมโลกก็คือสภาพที่เราแต่ละคนร่วมกันสร้างขึ้น ฉะนั้น จากความเข้าใจในตนเองอย่างลึกซึ้ง อาจจะนำไปสู่สังคมที่มีความรัก ความเมตตา มีมนุษยธรรมและความรู้สึกรับผิดชอบ
 
กฤษณมูรติจากโลกไปถึงแก่กรรมเมื่อ [[พ.ศ. 2529]] เมื่ออายุได้ 91 ปีด้วย[[โรคมะเร็งตับอ่อน]]
 
 
== คำสอน ==
"แน่นอน การศึกษาจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง ถ้าหากมันไม่ช่วยให้เธอเข้าใจชีวิตอันกว้างใหญ่ไพศาล อีกทั้งความลี้ลับ ล้ำลึก ความงดงามอันมหัศจรรย์ ความเศร้าโศกและความเบิกบานของชีวิต เธออาจได้รับปริญญา มีอักษรย่อหลายตัวต่อท้ายชื่อ และได้ทำงานดีๆ เท่านี้เองหรือที่เธอต้องการ สิ่งเหล่านี้จะมีความหมายอะไร ถ้าในขณะเดียวกันนั้น จิตใจของเธอกลับทื่อทึบ เหนื่อยหน่ายและโง่เขลา ฉะนั้นในขณะที่เธอยังอยู่ในวัยเยาว์ เธอจะไม่พยายามศึกษาค้นคว้าหรือว่าชีวิตเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง หน้าที่อันแท้จริงของการศึกษาคือการช่วยบ่มเพาะให้เกิดสติปัญญา ที่จะพยายามค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาทั้งหมดนี้มิใช่หรือ เธอรู้ไหมว่าสติปัญญาคืออะไร แน่นอนมันคือความสามารถที่จะคิดได้อย่างอิสระโดยปราศจากความกลัว ปราศจากสูตรสำเร็จใดๆ เธอจะค้นพบได้ด้วยตนเองว่าอะไรจริง อะไรแท้ แต่ถ้าเธอมีความกลัว เธอจะไม่มีสติปัญญา การดิ้นรนทะเยอทะยานทุกรูปแบบ ไม่ว่าทางจิตวิญญาณหรือทางโลกก็ตาม ล้วนก่อให้เกิดความกระวนกระวาย ความหวาดกลัว ฉะนั้นการดิ้นรนทะเยอทะยานจึงไม่ช่วยให้จิตใจกระจ่างชัด เรียบง่ายซื่อตรง ดังนั้นจึงไม่เกิดสติปัญญา
 
{{คำพูด|เธอทราบไหมว่า วัยเยาว์เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญอย่างยิ่ง เธอควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความกลัว ไม่เช่นนั้นเธอจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ขี้ขลาดหวาดกลัว เรากลัวการดำเนินชีวิต กลัวตกงาน กลัวจารีตประเพณี กลัวสิ่งที่เพื่อนบ้านหรือสามีภรรยาจะพูดถึงเรา กลัวความตาย พวกเรามักจะมีความกลัวไม่ลักษณะใดก็ลักษณะหนึ่งอยู่เสมอ เมื่อความกลัวเกิดขึ้นสติปัญญาก็พลันหายไป เป็นไปได้หรือไม่ ที่ช่วงเยาว์วัยเราจะได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความหวาดกลัว เป็นบรรยากาศอันเต็มไปด้วยอิสรภาพ ไม่ใช่เพียงแค่อิสรภาพในการได้ทำในสิ่งที่ใจเราปรารถนาเท่านั้น แต่อิสรภาพที่จะทำความเข้าใจกระบวนกาทั้งหมดของการดำรงชีวิต ชีวิตเป็นสิ่งงดงามอย่างยิ่ง ไม่ได้เกลียดน่ากลัวอย่างที่เราทำให้มันเป็น เธอจะชื่นชมและเห็นคุณค่าในความสมบูรณ์ ความลึกล้ำ ความน่ารักพิเศษสุดของชีวิต ก็ต่อเมื่อเธอกบฏต่อสิ่งทั้งปวงเท่านั้น กบฏต่อศาสนาจัดตั้งจารีต กบฏต่อสังคมที่เหลวแหลกอย่างที่เป็นอยู่ เพื่อที่เธอในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง จะได้ค้นหาว่าอะไรคือความจริงด้วยตัวเธอเอง มิใช่การเลียนแบบ แต่เป็นการค้นหา ซึ่งนั่นคือการศึกษามิใช่หรือ เป็นเรื่องง่ายดายที่จะยอมปฏิบัติตาม คล้อยตามคำสั่งสอนของสังคม พ่อแม่และครู ซึ่งเป็นวิถีที่ง่ายและปลอดภัยในการดำรงอยู่ แต่นั่นมิใช่การมีชีวิต เพราะเธอทำเช่นนั้นด้วยความกลัว ความเสื่อมสลายและความตาย การมีชีวิตอยู่คือการค้นพบด้วยตนเองว่าอะไรคือความจริงซึ่งเธอสามารถจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีอิสรภาพ เมื่อเธอกบฏภายในจิตใจ ภายในตัวเธอเองอย่างต่อเนื่อง"<ref>เรือนร้อยฉนำ วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2546 หน้า 30</ref>|กฤษณมูรติ}}
 
 
จากหนังสือ กบฏความคิด หน้าที่อ้างอิง 21,23
 
"{{คำพูด|ฉันอยากถามว่า จะมีประโยชน์อะไรไหม ถ้าคนเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งภายในตนเอง จะเป็นไปได้ไหม ที่การปฏิวัติขั้นพื้นฐานทางจิตอันลึกล้ำจะบังเกิดขึ้น และดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ คนเรามีชีวิตอยู่ในกรอบอันแคบจำกัดและทุกข์ทรมาน จึงเป็นการยากมากที่จะมองเห็นความจริงที่ว่า เธอก็คือคนอื่นๆ ที่มีชีวิตอยู่ในโลก เธอคือส่วนหนึ่งในโลก นี่คือความจริง เป็นสัจจะ มิใช่เป็นการคิดหรือการสร้างเหตุผลขึ้น เธอในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่งคือตัวแทนของมนุษยชาติทั้งหมด เธอมีความทุกข์ทรมาน มีความกังวล ความไม่แน่ใจ ความสับสน ความเศร้า ความหวาดกลัว ความเจ็บปวด และอื่นๆ เช่นเดียวกันกับคนทุกคน ดังนั้นสติสำนึกของเธอก็คือสติสำนึกของมนุษยชาติ จากสิ่งนี้จะเห็นได้ว่าความทุกข์ของมวลมนุษย์นั้นมีอยู่ในสติสำนึก ความทุกข์ของเธอจึงเป็นความทุกข์ของมนุษย์ชาติทั้งหมดด้วย ถ้าเธอรู้สึกอย่างจริงจังว่า ความทุกข์มิใช่เป็นเพียงความทุกข์ของเธอ แต่เป็นของมนุษยชาติทั้งหมดแล้ว เธอก็หยุดร้องไห้ เธอจะเลิกหลั่งน้ำตาให้กับความเจ็บปวด ความล้มเหลว ความกังวล และเรื่องอื่นๆที่แสนจะเล็กน้อยของเธอ เป็นไปได้ไหม ที่คนเราจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ถ้าเป็นไปได้ การหลุดพ้นจากทุกข์ของคนๆหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ก็ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งที่เรากำลังคุยกัน ลองค้นพบและทดสอบดู นั่นหมายถึงว่า เธอต้องมีอิสระที่จะสังเกต สังเกตโดยปราศจากแรงกระตุ้นผลักดัน ปราศจากความต้องการ ความกดดันและอื่นๆ จงสังเกตดังเช่นเธอสังเกตดูดอกไม้ซึ่งสวยงามเท่านั้น
ฉันสงสัยว่า ทำไมมนุษย์ทั่วโลกไม่สามารถมองเห็นข้อเท็จจริงง่ายๆที่ว่า เธอไม่อาจมีสันติภาพในโลกได้ ถ้าเธอยังมีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติกันอยู่ เราต้องการระเบียบภายนอก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม หรือสัมพันธภาพที่มีต่อกัน เราต้องการระเบียบ เราต้องการสันติภาพ เราต้องการความเข้าใจ และถ้าสภาพจิตภายในของเราเป็นระเบียบ ปราศจากความสับสนขัดแย้ง ถ้าสภาพจิตในสติสำนึกของเราเงียบ แน่วแน่มั่นคง แจ่มใสแล้ว เธอก็จะสามารถนำระเบียบมาสู่โลกได้
แต่ขณะนี้ สิ่งที่เรากำลังพยายามทำก็คือ สร้างระเบียบขึ้นโดยทางกฏหมาย เชื้อชาติ และอื่นๆ เป็นระเบียบภายนอกที่ได้รับการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า นำมาซึ่งความไร้ระเบียบโดยสิ้นเชิง สิ่งที่ผู้พูดต้องการชี้ให้เห็นก็คือว่า ปราศจากระเบียบภายในสติสำนึกซึ่งปกติมักยุ่งเหยิงและขัดแย้ง ปราศจากการสร้างระเบียบทางจิตภายในก่อนแล้ว เธอจะไม่สามารถสร้างระเบียบภายนอกได้เลยและวิกฤตการณ์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้น วิกฤตการณ์เหล่านี้มิได้อยู่ภายนอก แต่มันอยู่ภายใน และเราก็ไม่เต็มใจที่จะเผชิญหน้าโดยตรงกับมัน"|กฤษณมูรติ}}
 
จากหนังสือ หนึ่งพันจันทรา หน้าที่อ้างอิง 115-117
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{birth|1895}}
[[หมวดหมู่:นักปรัชญา]]