ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อริยสัจ 4"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
1. '''[[ทุกข์]]''' คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คือ[[อุปาทานขันธ์]] หรือ[[ขันธ์ 5]]
 
2. '''[[สมุทัย|ทุกขสมุทัย]]''' คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ [[ตัณหา|ตัณหา 3]] คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[ภวทิฏฐิ]]หรือ[[สัสสตทิฏฐิ]] และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[วิภวทิฏฐิ]]หรือ[[อุจเฉททิฏฐิ]]
 
3. '''[[นิโรธ|ทุกขนิโรธ]]''' คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
 
4. '''[[มรรค|ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา]]''' คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ [[มรรค]]อันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. [[สัมมาทิฏฐิ]]-ความเห็นชอบ 2. [[สัมมาสังกัปปะ]]-ความดำริชอบ 3. [[สัมมาวาจา]]-เจรจาชอบ 4. [[สัมมากัมมันตะ]]-ทำการงานชอบ 5. [[สัมมาอาชีวะ]]-เลี้ยงชีพชอบ 6. [[สัมมาวายามะ]]-พยายามชอบ 7. [[สัมมาสติ]]-ระลึกชอบ และ 8. [[สัมมาสมาธิ]]-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
 
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงใน[[ไตรสิกขา]] ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ