ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามลายูเกอดะฮ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
ผู้ใช้ภาษามลายูเกดะห์ในไทยสามารถใช้พูดภาษาไทยได้ มีความแตกต่างจากภาษามาเลย์ และ[[ภาษามลายูปัตตานี]]ไม่มากนัก แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้<ref name="เล็ก">มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ - [http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=215 ปัญหา สตูล ปัตตานี กับวัฒนธรรมที่ถูกทำลาย]</ref> ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้สตูลต้องติดต่อกับสงขลามากกว่าไทรบุรี<ref name="เล็ก"/> ปัจจุบันในสตูลผู้ใช้ภาษานี้ไม่มาก เพราะนิยมใช้[[ภาษาไทย]]ในชีวิตประจำวันมากกว่าในอดีต
 
ชาวสตูลที่ใช้ภาษามลายูถิ่นนี้เป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูที่อยู่ในบางหมู่บ้าน บางตำบลของสตูลเท่านั้น เช่น [[ตำบลเจ๊ะบิลัง]], [[ตำบลตำมะลัง]], [[ตำบลปูยู]] และ[[ตำบลฉลุง]] แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 3 ตำบล คือ ตำบลเจ๊ะบิลัง, ตำบลตำมะลัง และตำบลบ้านควนเท่านั้นที่ยังใช้ในการอ่านคุตบะห์บรรยายธรรมในมัสยิด<ref name="เล็ก"/> แม้ผู้ใช้ภาษาจะมีน้อยลง แต่อิทธิพลของภาษามลายูถิ่นนี้ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น บ้านกุบังปะโหลด (แปลว่า บ้านหนองปลาไหล), บ้านภูเก็ตยามู (แปลว่า บ้านเขาที่มีต้นฝรั่ง), คลองบันนังปุเลา (แปลว่า เกาะที่มีการทำนา), หนองน้ำทุ่งปาดังกลิงค์ (แปลว่า บริเวณที่แขกกลิงคราษฎร์ตั้งถิ่นฐานอยู่) และเขาปูยู (แปลว่า เขาที่กั้นลมพายุ) เป็นต้น<ref name="สัน">ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน ''รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์''. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน. 2547, หน้า 357</ref>
 
ยังมีจำนวนหนึ่งใช้พูดใน[[จังหวัดตรัง]] แต่ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยค่อนข้างมาก<ref>http://books.google.co.uk/books?lr=&q=%22as+they+often+do%2C+their+dialect+is%22&btnG=Search+Books</ref> ในปี [[พ.ศ. 2544]] มีเพียงผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่สามารถใช้ภาษามลายูถิ่นได้ พบได้ในตำบลเกาะลิบง (แปลว่า [[ต้นหลาวชะโอน]]) และในตำบลบ่อน้ำร้อน เช่น บ้านสิเหร่ (แปลว่า [[พลู]]) และท่าปาบใน[[อำเภอกันตัง]]<ref name="ลิบง">BLOG ANDADUGONG [http://andadugong.blogspot.com/2012/06/blog-post_17.html ประวัติศาสตร์เกาะลิบง]</ref> ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาอพยพมาจาก[[ปีนัง|เกาะหมาก]] (ปีนัง) ในมาเลเซีย<ref>[http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=920213 Thai Tambon.com - ตำบลเกาะลิบง]</ref> นอกจากสำเนียงเกดะห์แล้ว ก็ยังพบผู้ใช้[[ภาษาชวา|ภาษามลายูสำเนียงชวา]] ซึ่งมีผู้ใช้บนเกาะมุก อำเภอกันตัง<ref name="ลิบง"/>
 
เลยขึ้นไปพบผู้ใช้สำเนียงถิ่นนี้บนเกาะสินไห [[จังหวัดระนอง]]<ref>[http://ranong.freehostia.com/index.php?view=article&catid=5%3A2008-08-03-06-35-10&id=25%3A2008-08-03-12-11-00&option=com_content&Itemid=38 ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมจังหวัดระนอง - บ้านเกาะสินไห]</ref><ref>[http://www.oknation.net/blog/shadowy/2007/09/08/entry-1 เกาะสินไห...ความเป็นไทยที่ถูกละเลย]</ref> นอกจากนี้ยังเคยมีการใช้ภาษามลายูถิ่นนี้ในแถบ[[จังหวัดภูเก็ต]] แต่ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อคราวเสด็จประพาสก็พบว่าชาวภูเก็ตพูดภาษามลายูไม่ได้แล้ว<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. ''กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย.'' พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน. 2553, หน้า 178</ref>
 
== ตัวอย่างภาษามลายูไทรบุรี==