ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาศกนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 22:
ระยะที่ 2 คิวบิสม์แบบวิเคราะห์ (อังกฤษ : Analytical Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1909-1912 เป็นคิวบิสม์ที่ถูกสร้างขึ้น ด้วยการแตกแยกรูปแบบจริงของวัตถุเพิ่มมากขึ้น แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ (Analyzed) ประกอบผ่านผลงาน แสดงให้เห็นแง่มุมต่างๆของวัตถุไปพร้อมกัน คิวบิสม์แบบวิเคราะห์นี้เป็นการๅวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปทรงและพื้นที่ พื้นระนาบของวัตถุได้ถูกสร้างขึ้นในแนวใหม่ จากการศึกษาโครงสร้าง และการแสดงให้เห็นแง่มุมต่างๆ (angular and faceted planes) ของวัตถุสิ่งเดียวกันได้หลายด้าน ในส่วนเนื้อหาศิลปะนั้นศิลปินสามารถสร้างสรรค์ด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น เป็นภาพคน หุ่นนิ่ง หรือทิวทัศน์ โดยการใช้สีที่มีลักษณะไม่ฉูดฉาด ภาพระยะนี้มักถูกคลุมไว้ด้วยสีเทา สีน้ำตาลอมแดง สีเขียว และสีดิน
===คิวบิสม์ยุคที่สาม===
ระยะที่ 3 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์ (อังกฤษ : Synthetic Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1912-1914 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์มีพัฒนาการล้ำหน้า เกินกว่าคิวบิสม์ที่ผ่านมามาก ศิลปินแสดงออกด้วยการจัดองค์ประกอบมากขึ้น และหยิบเอาเรื่องราวที่ง่ายและใกล้ตัวมาเป็นเนื้อหาแสดงออก เช่น แผ่นกระจก วัตถุที่ปรากฏนห้องทำงาน อาทิ แก้วเหล้า กล่องยาสูบ บุหรี่ ขวดเหล้า ไพ่ เศษผ้า เครื่องดนตรี หนังสือพิมพ์ โดยการใช้เทคนิคการปะติด (Collage) เข้ามาช่วย หรือที่เรียกว่า "Flat-Pattern Cubism" จัดวางลงบนผิวระนาบด้านตั้งและนอนในลักษณะแบนราบ ด้วยโครงสรา้งสรางของสีที่เข้ากันในลักษณะลึกลับน่าอัศจรรย์ จิตรกรรมคิวบิสม์ในระยะหลังนี้ จะแสดงรูปทรงต่างๆ ของวัตถุด้วยการแบ่งแยกออกจากกัน และวางทับ ซ้อนกันด้วยผิวระนาบ(overlapping Planes) และเส้น มีค่าของสีและลักษณะผิวพื้นที่แตกต่างกัน ดังเช่น ภาพหญิงสาวกับกีต้าร์ ของ จอร์จ บาร์ค และภาพคนเล่นไพ่ ของปิกัสโซ ซึ่งศิลปินทั้งสองมีเป้าหมายด้านการแสดงออกมากกว่าคำนึงถึงเนื้อหา
===จุดมุ่งหมายและการตีความ===
กระแสคิวบิสม์มีความเชื่อทางศิลปะว่า การแสดงออกทางศิลปะนอกจากจะต้องไม่แสดงเชิงการถ่ายทอดตามความเป็นจริงตามตาเห็นแล้ว ศิลปินยังจะต้องกลั่นกรองรูปทรงด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงให้เหลือเพียงแก่นแกนที่แท้จริงและมั่นคงแข็งแรงด้วยปริมาตรของรูปทรงที่แข็งแรงอัดแน่น ส่วนมิติแห่งความลึกถูกทำให้ปรากฏด้วยการใช้เหลี่ยมมุมประดุจเพชรที่ถูกเจียระไน ทำให้เกิดเงาทับซ้อนและเล่นแง่มุมด้วยขอบเขตของภาพ ที่ประสานสัมผัสกันอย่างเป็นจังหวะภายใต้การให้สีที่ไม่ฉูดฉาดรุนแรง เปลี่ยนแปลงรูปทรงธรรมชาติ มาสู่การจัดองค์ประกอบแบบนามธรรมทางเรขาคณิต ในลักษณะทับซ้อนกันบ้าง หรือมีรูปทรงบางใสซ้อนสลับกันบ้าง ใช้สีแบนราบปราศจากแสงและเงา มีความกลมกลืนหรือตัดกัน [[ไฟล์:ARCHIPENKO (Woman Combing.jpg|237*264px|thumbnail|default|'''ARCHIPENKO (Woman Combing Her Hair),''' 1914 or 1915 Bronze, (35.9 x 9.2 x 8.1 cm.)Raymond and Patsy Nasher Collection, Dallas, Texas 1984.A.40]]
บรรทัด 56:
[[ลัทธิออร์ฟิสม์]] ({{lang-en|Orphism}}) หรือ ออร์ฟิสม์ คิวบิสม์ ({{lang-en|Orphism Cubism}}) หรือ อิมเพรสชันนิสม์ คิวบิสม์ ({{lang-en|Impressionnist Cubism}}) ซึ่งคำว่าออร์ฟิสม์นี้ กีโยม อพลอลลิแนร์ ({{lang-en|Guillaume Apolliaire)กวีและนักวิจารณ์ศิลปะคนสำคัญเป็นคนตั้งให้ในปี ค.ศ.1911 อธิบายว่า “เป็นงานศิลปะทางจิตรกรรมที่ให้โครงสร้างใหม่ๆ โดยปราศจากรายละเอียด ศิลปะแบบนี้ไม่ได้นำมาจากสิ่งที่มองเห็นด้วยตาธรรมดา แต่มีอยู่ในการสร้างสรรค์ของศิลปินและแสดงออกโดยศิลปินต่อความสมบูรณ์ของจริง ” ลัทธิออร์ฟิสม์ ก็คือลัทธิคิวบิสม์ในรูปลักษณะหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นอีกขั้น เป็นงานที่มีหลักการอยู่บนพื้นฐานของการใช้สีอันงดงาม แสดงออกถึงการเกี่ยวพันกันระหว่างสีและรูปทรง จิตรกรที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้นำในลัทธินี้คือ [[โรแบรต์ เดอโลเนย์]] [[Robert Delaunay]] ผลงานส่วนมากจะเป็นเรื่องของปริมาตรกับสี เขาชอบแสดงผลของอารมณ์ต่อสีที่บริสุทธิ์สดใส ซึ่งเกิดจากการเคยฝึกฝนตามแนวคิดของลัทธิอิมเพรชชันนิสม์มาก่อน แต่พอปีค.ศ.1911 ก็ได้มีการนำความคิดของลัทธิคิวบิสม์มาปรับใช้ เขาจัดแสดงงานร่วมกลับกลุ่มจิตรกรอิสระในห้องแสดงของพวกคิวบิสม์ อพอลลิแนร์ได้กล่าวถึงผลงานของเขาระยะนั้นว่า “มีคุณค่าของสีที่ให้ความรู้สึกร่าเริงดุจอันตรีอันบริสุทธิ์” ระหว่างปี ค.ศ.1910 -1912 เดอโลเนย์ได้วาดภาพชุดนครปารีสและหอไอเฟลไว้หลายภาพ ภาพชุดนี้มีรูปแบบวิธีการสังเคราะห์เรื่องรูปทรงเช่นเดียวกับลัทธิคิวบิสม์ ผิดแผกแตกต่างตรงที่ผลงานของเดอโลเนย์เต็มไปด้วยแสงสีอันสดใส แลดูมีความเคลื่อนไหว อันได้รับอิทธิพลบางประการของพวกฟิวเจอริสม์เข้าผสมด้วย และต่อมาแนวคิดนี้ได้ผ่านเข้าไปในความคิดของคันดินสกี และกลายเป็นต้นกำเนิดอย่างหนึ่งในหลายสาเหตุของการเกิดลัทธิศิลปะนามธรรม ซึ่งกฎเกณฑ์นี้คือ การใช้แสงอาทิตย์ผสมกับรูปทรงในทรรศนะของลัทธิคิวบิสม์
 
== ดูเพิ่ม ==
== ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง ==
*http://www.cubistro.com/cubotimeline.html
*http://www.metmuseum.org/toah/hd/cube/hd_cube.htm