ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หูกวาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''หูกวาง''' ({{lang-en|Tropical almond, Bengal almond, Indian almond, Sea almond, Beach almond}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์| Terminalia catappa}}) เป็น[[ไม้ยืนต้น]]ประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 [[เมตร]] มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มี[[สีขาว]]นวล ออกดอกช่วงเดือน[[กุมภาพันธ์]]-[[เมษายน]] ผลเป็นรูปไข่หรือ[[ทรงรี|รูปรี]]ป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ด[[อัลมอนด์แอลมอนด์]] มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 [[เซนติเมตร]] และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มี[[สีเขียว]] เมื่อแห้งมี[[สีดำ]]คล้ำ นิยมปลูกเป็น[[ไม้ประดับ]]
 
เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมใน[[เขตร้อน]]ของ[[อนุทวีปอินเดีย]], [[เอเชียอาคเนย์]] ไปจนถึงภูมิภาค[[โอเชียเนีย]]และ[[หมู่เกาะฮาวาย]] โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชาย[[หาด]]หรือ[[ป่าชายหาด]]ริม[[ทะเล]]<ref>[http://www.tropicalforest.or.th/p46.htm ป่าชายหาด (Beach Forest)]</ref> เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีใน[[ดิน]]แบบ[[ดินร่วน]]ปน[[ทราย]]
บรรทัด 23:
มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำ[[หมึก]] เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยง[[ปลาสวยงาม]]หรือ[[ปลากัด]] เนื่องจากใช้ใบแห้งหมัก[[น้ำ]]ที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสาร[[แทนนิน]]ในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมี[[พีเอช (เคมี)|ค่าความเป็นกรด-ด่าง]] (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ[[รา|เชื้อรา]]และ[[แบคทีเรีย]]ได้เป็นอย่างดี<ref>บทความเรื่อง ใบหูกวางกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียในปลากัดได้ จากวารสารข่าวของสถาบันวิจัยและพัฒนา [[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ปีที่ 10 ฉบับที่ 7 เดือน[[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2549|2549]]</ref>
 
หูกวางเป็น[[รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด|พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน]]ประจำประจำ[[จังหวัดตราด]] และเป็นต้นไม้ประจำ[[มหาวิทยาลัยสยาม]]
 
หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละ[[จังหวัด]]หรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน ([[นราธิวาส]]), ดัดมือ หรือ ตัดมือ ([[ตรัง]]), ตาปัง ([[พิษณุโลก]], [[สตูล]]), ตาแปห์ ([[ภาษามลายู|มลายู]]-[[นราธิวาส]]), หลุมปัง ([[สุราษฎร์ธานี]]) เป็นต้น<ref>[http://www.panmai.com/PvTree/tr_16.shtml ต้นหูกวาง ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด]</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/หูกวาง"