ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคทเธอรีน เดอ เมดีชี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
| รัชกาลถัดไป = [[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์|พระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์]]
}}
[[ไฟล์:Henry II of France..jpg|thumb|260px|[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]] พระราชสวามี]]
'''แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: Catherine de' Medici) ([[13 เมษายน]] [[ค.ศ. 1519]] – [[5 มกราคม]] [[ค.ศ. 1589]]) เกิดที่เมือง[[ฟลอเรนซ์]] [[ประเทศอิตาลี]] ชื่อเมื่อแรกเกิดในภาษาอิตาลีคือ “คาเทอรีนา มารีอา โรโมลา ดี ลอเร็นโซ เดอ [[เมดิชิ]]” (Caterina Maria Romola di Lorenzo de' Medici) พระบิดาและมารดาของแคทเธอรีนคือ[[ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ ดยุกแห่งเออร์บิโน]]และ[[มาเดเลน เดอ ลา ทัวร์ โดแวญ เคาเทสแห่งบูลอยน]] (Madeleine de la Tour d'Auvergne, Countess of Boulogne) <!-- ชื่อฝรั่งเศส --> ทั้งสองคนเสียชีวิตไปไม่นานหลังจากที่แคทเธอรีนประสูติ พระนามมาเปลี่ยนมาสะกดแบบฝรั่งเศสต่อมาเป็น “Catherine de Médicis”<ref>Pronounced 'medi-cease'. See also the French titles listed under 'Further reading' below.</ref> แคทเธอรีนเป็นพระอัครมเหสีใน[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]]ระหว่างปี [[ค.ศ. 1547]] ถึงปี [[ค.ศ. 1559]]
 
เมื่อมีพระชนม์ได้ 14 พรรษาในปี [[ค.ศ. 1533]] แคทเธอรีนก็ทรงเสกสมรสกับ[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส|อองรีดยุกแห่งออร์เลออง]]ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของ[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]] กับ[[โคลดแห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส|พระราชินีโคลด]] เมื่อ[[เจ้าชายฟรองซัวส์ เจ้าชายรัชทายาท (1518-1536)|เจ้าชายรัชทายาท ฟรองซัวส์]] หรือ “[[โดแฟง”แฟ็งแห่งฝรั่งเศส|โดแฟ็ง]]” (Dauphin) พระเชษฐาของอองรีสิ้นพระชนม์ในปี [[ค.ศ. 1536]] อองรีก็ได้ขึ้นเป็นโดแฟงแทน แคทเธอรีนจึงทรงมีตำแหน่งเป็น “โดฟีน” (Dauphine) ต่อมาเมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เสด็จสวรรคต อองรีก็ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็น[[พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]] ในปี [[ค.ศ. 1547]] ระหว่างการครองราชพระเจ้าอองรีก็มิได้ให้ความสำคัญต่อพระราชินีแคทเธอรีนเท่าใดนัก แต่ทรงกลับไปปรนเปรอพระสนมคนโปรด-- [[ไดแอน เดอ ปอยเตียร์]] (Diane de Poitiers) --แทนที่ เมื่อพระเจ้าอองรีเสด็จสวรรคตในปี [[ค.ศ. 1559]] พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเริ่มมีบทบาททางการเมืองโดยการเป็น[[พระชนนี]]ของ[[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]]ผู้มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์และไม่ทรงแข็งแรงเท่าใดนัก พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงปกครองฝรั่งเศสได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต พระราชินีแคทเธอรีนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]ผู้มีอำนาจเต็มที่ในพระโอรสองค์รอง--[[พระเจ้าชาลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าชาร์ลที่ 9]] ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา หลังจากพระเจ้าชาลส์เสด็จสวรรคตพระราชินีนาถแคทเธอรีนก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการปกครองมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสองค์ที่สามขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าอองรีที่ 3]] พระเจ้าอองรีทรงปรึกษาราชการแผ่นดินต่างๆ กับพระราชชนนีจนระยะสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นพระชนม์
 
พระโอรสผู้อ่อนแอทั้งสามพระองค์ของแคทเธอรีนทรงปกครองฝรั่งเศสในขณะที่บ้านเมืองระส่ำระสายจากการก่อความไม่สงบต่างที่เกิดขึ้นจาก[[สงครามกลางเมือง]]และ[[สงครามศาสนาของฝรั่งเศส|สงครามศาสนา]] ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมิได้อยู่ในความควบคุมของระบบพระมหากษัตริย์และเป็นปัญหาที่ใหญ่แม้แต่สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ เมื่อแรกเริ่มแคทเธอรีนก็พยายามประนีประนอมกับฝ่าย[[อูเกอโนท์]] (Huguenots) หรือชาวฝรั่งเศสที่นับถือ[[นิกายโปรเตสแตนต์]]เมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้น<ref>[http://en.wikisource.org/wiki/Catholic_Encyclopedia_%281913%29/Catherine_de%27_Medici แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ (Catholic Encyclopedia)]</ref> แต่ก็ไม่ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาความขัดแย้งทางปรัชญาทาง[[คริสต์ศาสนวิทยา]]และสาเหตุของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้พระองค์ไม่มีพระอุตสาหะพอที่จะพยายามแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติ และทรงใช้ไม้แข็งในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ<ref>Knecht, ''Catherine de’ Medici'', 272 (แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ โดย คเน็คท์) </ref> พระองค์จึงทรงถูกประณามในเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์[[การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว]] ในปี [[ค.ศ. 1572]] ซึ่งเป็นผลให้อูเกอโนท์ถูกสังหารอย่างทารุณทั้งใน[[ปารีส]]และทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าในปารีสเองมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนและอีกประมาณ 5,000-10,000 คนในบริเวณอื่นทั่วฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็มีเรื่องสยดสยองต่างๆ จากเหตุการณ์ในเอกสารที่แจกจ่ายกันในสมัยนั้นซึ่งเป็นต้นกำเนิด “ตำนานมืด” (The Black Legend) ของ “พระราชินีผู้ชั่วร้าย” จากปากเสียงของผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงถูกประณามว่าเป็น “Machiavellian Renaissance prince” ผู้ป้อนความกระหายอำนาจด้วยการอาชญากรรม, การวางยาพิษ และบางทีก็ถึงกับใช้อำนาจเวทมนตร์ “อากริพพา โดบินย์” (Agrippa d'Aubigné) กวีอูเกอโนท์ถึงกับขนานพระนามพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “เชี้อโรคจากฟลอเรนซ์” (Florentine plague) <ref>Heller, 120.</ref> ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์จูลส์ มิเชลเลท์ (Jules Michelet) บรรยายพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “หนอนที่หลุดออกมาจากหลุมศพของอิตาลี” <ref>Quoted by Knecht, ''Catherine de’ Medici'', xii.</ref>