ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท."

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prapatjongs (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 103:
 
หลังจากจัดตั้งบริษัทได้ไม่นาน ก็เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา ทั้งผู้รับเหมาโครงการก่อสร้าง และบริษัทเจ้าของรถไฟฟ้าที่รับผิดชอบอยู่ในขณะนั้น ไม่ยินยอมลงนามมอบอำนาจให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ บริษัท เดินรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด มาดำเนินโครงการต่อไป เพราะเห็นว่าเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างฉุกเฉิน และยังไม่มีประสบการณ์พอที่จะสามารถดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงต้องใช้เวลาอย่างมากในการไกล่เกลี่ยกับผู้รับเหมาโครงการก่อสร้าง จนในที่สุดก็ลงความเห็นที่จะจัดตั้ง บริษัท เดินรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ขึ้น โดยมีบริษัท Deutsche Bahn AG จำกัด จากประเทศเยอรมนี เป็นผู้ดูแล โดยมีทุนจดเพียงทะเบียน 1 ล้านบาท เท่านั้น
[[ไฟล์:Airport Rail link - city.jpg|thumb|right|ตัวรถไฟฟ้า City Line]]
 
[[ไฟล์:Inside sarl cityline.jpg|thumb|right|ภายในห้องโดยสารรถไฟฟ้า City Line]]
หลังจากเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 บริษัท เดินรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. แล้วนั้น ได้ประสบปัญหาสภาวะการเงินภายในบริษัทไม่คล่องตัว เนื่องจากรายได้เกือบทั้งหมด ต้องส่งมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเพียงอย่างเดียว และเนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนี้สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ไม่สามารถส่งทุนมาให้ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. มาดำเนินการได้อย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างกับตัวโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามมา เช่น การจัดสรรเงินเดือนอย่างไม่เป็นระบบ บางคนที่คลุกคลีกับคนใหญ่ในองค์กรมีเงินเดือนสูงมาก หรือแม้กระทั่งการจัดสรรเงินเดือนในตำแหน่งต่างๆที่ไม่เป็นระบบระเบียบตามกฏเกณฑ์ โดยเงินเดือนเริ่มต้นสำหรับปริญญาตรีอยู่ที่ 10,230.- แต่ถ้าคนนั้นมีวิธีการสนิทสนมกับบุคคลใหญ่ภายในองค์กร จะสามารถเพิ่มเงินเดือนจาก 10,230 ให้มีเงินเดือนระดับ 3x,xxx ได้อย่างง่ายดาย จึงเกิดการทุจริตอย่างมหาศาลในการจัดสรรงบประมาณรายเดือน/รายปี เพื่อบีบคั้นพนักงานระดับล่าง ลดรายจ่าย เพื่อนำเงินส่วนที่ลด ไปจ่ายให้กับพนักงานระดับสูง และเพื่อเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์และขบวนรถไฟฟ้าซึ่งไม่เพียงพอ โดยจะอ้างกับพนักงานในองค์กรว่า ทุนในการดำเนินการไม่เพียงพอเป็นต้น และได้โกหกกับกระทรวงการคลังโดยอ้างเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอ จึงได้เริ่มปรึกษากันกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อต้องการแยกบริษัทออกจาก รฟท เพื่อจะได้งบประมาณมาบริหาร และทุจริตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งๆที่พนักงานระดับล่างอยากให้บริษัทยุบรวมกับบริษัทแม่ และได้ปรึกษากับ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อที่จะแยก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ออกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และจัดตั้งขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ จนแล้วจนรอด ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้เห็นชอบที่จะยก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ออกมาเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ โดยจัดให้อยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% เต็ม ทั้งนี้กระทรวงการคลังมีประสงค์เพื่อที่จะปรับสภาพการเงินภายในบริษัทให้คล่องตัวมากขึ้น และให้บริษัท สามารถเข้าแข่งขันและสามารถประมูลโครงการรถไฟฟ้าอีก 7-8 เส้นทางกับเอกชนรายอื่นๆ ได้
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{กระทรวงคมนาคมของไทย}}