ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนดาราวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Greechakatpratoom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Greechakatpratoom (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
 
== ประวัติการก่อตั้งโรงเรียนดาราวิทยาลัย ==
คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชันนารี ส่งมิชันนารีเข้ามาประกาศเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทยในปี ค.ศ.1840 (พ.ศ.2383) โดยเริ่มต้นที่กรุงเทพฯ และขยายตัวออกสู่ภูมิภาคโดยเริ่มต้นที่จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาในปี ค.ศ.1867 (พ.ศ.2410) ศาสนาจารย์ ดร.แมคกิลวารี และภรรยา คือ นางโซเฟีย บรัดเลย์ แมคกิลวารีได้ขึ้นมาทำงานที่จังหวัดเชียงใหม่ มณฑลพายัพ
โรงเรียนดาราวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2421 เป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกของภาคเหนือ ก่อตั้งโดยมิชชั่นนารีชาวอเมริกัน
คือ ศาสนาจารย์ ดร.ดานิเอล และนาง โซเฟียบรัดเลย์ แมคกิลวารี จุดประสงค์ของการจัดการศึกษา
ในระยะแรก คือการให้การศึกษาแก่สตรีได้เรียนหนังสือทัดเทียม กับ ผู้ชายดังนั้นในปี พ.ศ. 2421
นางโซเฟียบรัดเลย์ แมคกิลวารี จึงได้เปิดสอนเด็กผู้หญิง ขึ้นที่บ้านพักของ ท่านโดยสอนการเย็บปักถักร้อย
และคริสตจริยธรรม ต่อมาผู้ปกครองได้เริ่มเห็นความสำคัญของการให้การศึกษาแก่สตรี จึงส่งบุตร
หลานไป เรียนหนังสือมากขึ้น ทางมิชชั่นนารีก็ได้รายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯและสำนัก
งานใหญ่ได้ส่งครู มาช่วยสอนจนสามารถจัดตั้งเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ชื่อ
ว่า" โรงเรียนสตรี "สถานที่ตั้งคือเชิงสะพานนวรัฐ (ปัจจุบันคือที่ตั้งของคริสตจักรที่หนึ่ง เชียงใหม่)
 
ปี ค.ศ.1875 (พ.ศ.2418) นางโซเฟีย บรัดเลย์ แมคกิลวารี เห็นว่าผู้หญิงเชียงใหม่ขาดการศึกษาและขาดโอกาสที่จะได้รับการศึกษา ไม่มีโรงเรียนสำหรับผู้หญิง จึงนำเด็กหญิงมาสอนในบ้าน สอนภาษาไทย การเย็บปักถักร้อย พระคัมภีร์ การดูแลบ้านเรือน
ประวัติโรงเรียนดาราวิทยาลัยที่เชิงสะพานนวรัฐแห่งนี้ มีประวัติว่า เป็นพื้นที่ที่เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ประทานให้ ดร.แมคกิลวารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยมอบเมื่อปี พ.ศ. 2413 ดร.แมคกิลวารีเห็นว่าการศึกษาของเด็กหญิงมีความสำคัญจึงได้เริ่มเปิดสอนเด็กหญิงขึ้น เริ่มจากให้ภรรยาคือ นางแมคกิลวารีรวบรวมเด็กหญิงที่เข้ารีตศาสนาคริสต์ประมาณ 7-8 คนมาอยู่ที่บ้านและสอนหนังสือให้ ต่อมาดร.แมคกิลวารีได้ขอครูสตรีโสด 2 คนจากทางสำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ ครูสตรี 2 คนดังกล่าว คือ น.ส.แมรี่ แคมแบลและ น.ส.เอ็ดน่า โคล เมื่อทั้งคู่เดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2422 จึงเริ่มเปิดการสอนอย่างจริงจัง โดยมีนักเรียนที่เคยเรียนกับนางแมคกิลวารี 2 คนช่วยสอน ขณะนั้นมีนักเรียน 20 คน ชาวบ้านทั่วไปเรียกโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนสตรีสันป่าข่อย" ต่อมามีนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรงเรียนเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนสตรีเป็น "โรงเรียนพระราชชายา" เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ต่อมาด้านข้างโรงเรียนพระราชชายาได้มีการจัดตั้งโรงเรียนเพรนเนอร์เมมโมเรียลขึ้นในปี พ.ศ. 2434 เพื่อเป็นการระลึกถึงมิชชันนารีที่ชื่อเพรนเนอร์ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้อุทิศชีวิตทำงานเผยแพร่ศาสนาจนกระทั่งเสียชีวิต แต่ต่อมาโรงเรียนได้ยุบเลิก นักเรียนมารวมกับโรงเรียนพระราชชายา
 
ปี ค.ศ.1879 (พ.ศ.2422) คณะมิชชันนารีส่ง Miss Edna Sarah Cole และ Miss Mary Margaretta Campbell มารับผิดชอบและจัดระบบโรงเรียนผู้หญิง ( Chiang Mai Girls'School) ที่นางแมคกิลวารีตั้งขึ้น
ในสมัยที่มิสยูเลีย แฮตช์ เป็นอาจารย์ใหญ่นั้น ในปี พ.ศ. 2464 ทางมิชชั่นเห็นว่าสถานที่เดิมคับแคบจึงได้ไปซื้อที่ดินที่บ้านหนองเส้งติดโรงพยาบาลแมคคอร์มิคเนื้อที่ 70 ไร่เศษใช้เป็นหอพักนักเรียนประจำและต่อมาได้ก่อสร้างอาคารเรียนและบ้านพักอาจารย์ใหญ่ อีก 2 ปีต่อมาจึงเปิดสอนได้และได้ย้ายนักเรียนชั้นมัธยมไปเรียนสถานที่แห่งใหม่ซึ่งเรียกกันว่า "ดาราเหนือ" ได้ขออนุญาตพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียน "ดาราวิทยาลัย" ตามพระนามของ "เจ้าดารารัศมี"(ประวัติโรงเรียนดาราวิทยาลัย,หนังสือปีการศึกษา 2546)
 
วันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1909 (พ.ศ.2452) พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียนนี้และผู้บริหารโรงเรียนได้ทูลขอพระราชทานชื่อของโรงเรียน วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ.1909 (พ.ศ.2452) พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้มีโทรเลขถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรึกษาเรื่องชื่อของโรงเรียนผู้หญิงและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชโทรเลขตอบกลับมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ.1909 (พ.ศ.2452) ให้เรียกชื่อโรงเรียนผู้หญิงว่า "โรงเรียนพระราชายา" (Prarachaya School)
'''ปี พ.ศ. 2501''' พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน โรงเรียนได้ปิดทำการระยะหนึ่งเพราะ
เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อ สงครามสงบลง ดร.เค อี แวลส์ ได้กลับจาก
ประเทศสหรัฐอเมริกา มารับมอบทรัพย์สินคืนจากรัฐบาลไทย โรงเรียนจึงได้เปิดทำ
การอีกครั้งหนึ่ง โดยมีนางไฝคำ พันธุพงศ์ เป็นอาจารย์ใหญ่
 
ปี ค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) มีประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกของประเทศไทย ผู้จัดการและครูใหญ่ของโรงเรียนพระราชชายาคือ Miss Julia A. Hatch ได้ทำเรื่องถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการขอ "ดำรง" โรงเรียนพระราชายาเป็นโรงเรียนราษฎร์ของคณะมิชชันนารีที่ตั้งมาก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ.2461 เป็นโรงเรียนที่ให้การศึกษาแก่นักเรียนหญิง ตั้งอยู่ที่บ้านสันป่าข่อย ตำบลวัดสระเกษ (วัดเกตในปัจจุบัน)
'''ปี พ.ศ. 2490''' โรงเรียนก็ได้เปิดแผนกมัธยมปลายขึ้น และวันที่ 1 พฤษภาคม 2506
ปี ค.ศ.1924 (พ.ศ.2466) Miss Julia A.Hatch ในฐานะผู้จัดการ ได้ทำหนังสือถึงเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ 2 ฉบับ ฉบับแรก ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนพระราชายา" เป็น "โรงเรียนดาราวิทยาลัย แผนกประถม" เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ตอบรับทราบเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1924 (พ.ศ.2466) และมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1924 (พ.ศ.2466) อีกฉบับขอตั้งโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า "ดาราวิทยาลัย" โดยมี Miss Julia A. Hatch เป็นผู้จัดการ และมี Miss Lucy Niblock เป็นครูใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านหมู่ที่ 1 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดสระเกษ (วัดเกตในปัจจุบัน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ตอบรับเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ.1924 (พ.ศ.2466) และมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.1924 (พ.ศ.2466)
ได้ย้ายแผนกอนุบาล และประถมที่อยู่เชิงสะพานนวรัฐมารวมกันที่ 196 ถนนแก้วนวรัฐ
ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง อันเป็นสถานที่ตั้ง ของโรงเรียนในปัจจุบันนี้.
 
ปี ค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) โรงเรียนดาราวิทยาลัยได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนทั้งสองแห่งถูกรัฐบาลยึด เดือนสิงหาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) สงครามยุติ มิชชันนารีกลับเมืองไทย ดร. Kennel E. Well เป็นผู้รับอำนาจจากคณะมิชชันนารีในการทวงทรัพย์สิน คือโรงเรียนและโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือคืนจากรัฐบาล Miss Helen F. Mcclure เดินทางมาถึงเชียงใหม่เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ.1946 (พ.ศ.2489) Miss Lucy Niblock เดินทางมาถึงเชียงใหม่เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1947 (พ.ศ.2490) โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ.1946 (พ.ศ.2489) โดยมีครูบัวชม อินทะพันธุ์ เป็นครูใหญ่ มีนักเรียน 350 คน โรงเรียนเปิดดำเนินการในลักษณะโรงเรียนไปจนกระทั่งประมาณ ปี ค.ศ.1968 (พ.ศ.2511) จึงได้มีการปิดโรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกประถม คงไว้แต่โรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน
และได้เปลี่ยนรูปแบบจากโรงเรียนประจำหญิงล้วนเป็นโรงเรียนสหศึกษาเรียนร่วมกันทั้งชายและหญิงในปีการศึกษา2532
 
ปี ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) อาจารย์สมศรี ไชยเศรษฐ ผู้จัดการ และอาจารย์สมปรารถนา บุณยเกียรติ ครูใหญ่ โรงเรียนดาราวิทยาลัยได้ทำเรื่องนำเสนอมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรใรประเทศไทย ขออนุมัติให้โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดสอนระบบสหศึกษา และได้รับการอนุมัติให้เปิดในปี ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) โดยเปิดทีละชั้นเรียน
 
ปี ค.ศ.2006 (พ.ศ.2548) โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดสอนโครงการ การเรียนภาษาต่างประเทศโดยเจ้าของภาษา (Native Speaker Program)
 
ปัจจุบันโรงเรียนดาราวิทยาลัย เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยาศึกษาตอนปลาย และตั้งอยู่เลขที่ 196 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50000
เบอร์โทรศัพท์ 053-241039, 053-300437 และ 053-248069
 
เบอร์โทรสาร 053-249152
 
โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 77 ไร่ 5 ตารางวา
 
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1
 
'''ปัจจุบัน''' โรงเรียนดาราวิทยาลัย มีอายุครบ {{อายุ|2421|1|1}} ปี เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งมานานที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ และในภาคเหนือของประเทศไทย