ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุดผ่านแดนถาวรภูดู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Dan-pu-du.jpg|150px|thumb|ภูดู่เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางระหว่างอุตรดิตถ์กับหลวงพระบาง]]
'''จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ (Phu Doo International Point Of Entry ) ''' ด่านภูดู่,ช่องภูดู่,จุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่หรือด่านพรมแดนภูดู่-ผาแก้ว เป็นด่านการค้าชายแดนถาวรสังกัดด่านศุลากรทุ่งช้าง ด่านภูดู่ถือเป็นจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาวแห่งที่ 3 ของประเทศไทยที่เชื่อมต่อกับ [[แขวงไชยบุรี]] [[ประเทศลาว]] ซึ่งเป็นแขวงเดียวในประเทศลาวที่มีด่านสากลเชื่อมต่อกับประเทศไทยมากที่สุด เพราะมีเขตติดต่อกับ 6 จังหวัดของประเทศไทย และเป็นจุดผ่านแดนถาวรแห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ ด่านภูดู่ตั้งอยู่ที่ บ้านภูดู่ หมู่ที่ 2 ตำบลม่วงเจ็ดต้น [[อำเภอบ้านโคก]] [[จังหวัดอุตรดิตถ์]] ฝั่งตรงข้ามติดต่อกับด่านสากลภูดู่(เดิมใช้ชื่อผาแก้ว) บ้านผาแก้ว เมืองปากลาย [[แขวงไชยบุรี]] [[ประเทศลาว]] เดิมมีฐานะเป็นเพียงจุดผ่อนปรนชั่วคราวซึ่งเปิดให้บริการในวันศุกร์และวันเสาร์ แต่ปัจจุบันทางคณะรัฐมนตรีได้ยกระดับช่องภูดู่ให้เป็นจุดผ่อนปรนผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ ทำให้[[อุตรดิตถ์]]จึงเป็นเส้นผ่านทางอีกแห่งใน[[อินโดจีน]]ของกลุ่มจังหวัดอินโดจีน วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 กระทรวงมหาดไทยประกาศยกระดับขึ้นเป็นจุดผ่านแดนถาวรภูดู่
 
== ประวัติ ==
ด่านภูดู่ในอดีต คือ เส้นทางคมนาคมระหว่าง[[กรุงสุโขทัย]] กับ[[อาณาจักรล้านช้าง]] โดยการเดินทางได้ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่มีตัวอักษรจารึกไว้ว่า "การเดินทางไปยัง[[อาณาจักรล้านช้าง]]ต้องใช้เมือง[[สวางคบุรี]]เป็นทางผ่านในการขนส่งสินค้าจากกรุงสุโขทัยไปยังล้านช้าง" ซึ่งจากคำจารึกนี้ สามารถบอกได้ว่าอุตรดิตถ์นั้นเดิมเป็นทางเดินผ่านจากกรุงสุโขทัยไปยังล้านช้าง เมืองสวางคบุรีที่กล่าวถึง คือ เมืองเมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ มีหลักฐานบางอย่างกล่าวว่าเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์จะไม่ปรากฏชื่อเมือง[[สวางคบุรีคบุรี]]เป็นเมืองลูกหลวง ในเชิงวิชาการสามารถอธิบายได้ว่า อุตรดิตถ์เป็นเมืองผ่านที่สำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย เพราะการเดินไปยังลาวต้องใช้เส้นทางนี้
 
ชื่อของด่านภูดู่มาจากชื่อภูเขาที่กั้นเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวชื่อว่า ภูเขาภูดู่จึงนำมาใช้เป็นชื่อของด่านชายแดน ในระยะแรกเมื่อเปิดด่านถาวรรัฐบาลไทยจะใช้ชื่อว่าจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ส่วนด่านผาแก้ว-บวมเลา ซึ่งแต่เดิมเป็นด่านประเพณี ถูกยกระดับขึ้นเป็นด่านท้องถิ่นผาแก้ว และเปลี่ยนชื่อใหม่ในันที่ 5 มีนาคม ปีพ.ศ. 2558 ให้ใช้ชื่อด่านชายแดนนี้ว่า "ด่านสากลภูดู่"
 
ปัจจุบันด่านภูดู่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเจ็ดต้น โดยจุดแข็งของด่านภูดู่คือการเชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปนครหลวงเวียงจันทน์ [[ประเทศลาว]]ที่สั้นและสะดวกที่สุดของประเทศไทย และเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดจากภาคเหนือตอนล่างไปจีนตอนใต้ จุดอ่อนของด่านภูดู่คือการไม่สามารถขอใช้พื้นที่ 1,500 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมของกรมป่าไม้ได้ รวมทั้งด่านภูดูยังเป็นสถานที่ขนส่งวัสดุก่อสร้างเขื่อนไชยบุรีในประเทศลาวอีกด้วย
 
ในอนาคตด่านสากลภูดู่ เมืองปากลายฝั่งตรงข้ามด่านภูดู่จะยกระดับขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษไชยบุรีของประเทศลาว โดยรัฐบาลลาวมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ด่านภูดู่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับประเทศไทย และเข้าไปยังพื้นที่ชั้นในของภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของสปป.ลาว ซึ่งรัฐบาลลาวจะใช้แบบแผนที่จะนำเอาโมเดลของด่านแดนสรรค์ แขวงสะหวันเขต สปป.ลาว กับด่านลาวบาว ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นด่านสากลแห่งแรกของสปป.ลาวกับประเทศเวียดนาม มาเป็นต้นแบบให้กับด่านภูดู่ ,มีการก่อสร้างสะพานปากลายเพื่อเชื่อมแขวงไชยบุรีกับนครหลวงเวียงจันทน์(สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5) ,ทางหลวงหมายเลข 11 (R11:(บ้านตาดทอง-บ้านน้ำสัง และเมืองสังข์ทอง) ,มีการเรียกร้องให้จัดตั้งด่านศุลากรภูดู่ขึ้นในอนาคต และมีโครงการเปิดการเดินรถประจำทางระหว่างประเทศจาก[[พิษณุโลก]]-อุตรดิตถ์-[[หลวงพระบาง]]อีกด้วย
 
ปัจจุบันภูดู่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเจ็ดต้น เป็นด่านการค้าชายแดนถาวรไทย-ลาวแห่งที่ 3 ของประเทศไทยที่เปิดทำการค้ากับแขวงไชยบุรี ประเทศลาว โดยมีจุดแข็งคือการเชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปกรุงเวียงจันทน์ และเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาวที่สั้นและสะดวกที่สุดของภาคเหนือ ประเทศไทย ในอนาคตด่านสากลผาแก้ว เมืองปากลายฝั่งตรงข้ามด่านภูดู่จะยกระดับขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษไชยบุรีของประเทศลาว และมีการเรียกร้องให้จัดตั้งด่านศุลากรภูดู่ขึ้นในอนาคต
 
== เวลาทำการ ==
เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์จะมีตลาดนัดแลกเปลี่ยนสินค้าชาวไทย และชาวลาว
 
== การเดินทาง ==
จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ใช้ทางหลวงหมายเลข 1045 ผ่าน [[สถานีรถไฟศิลาอาสน์]] โรงพยาบาลอุตรดิตถ์สาขา 1 จนถึงแยกวังสีสูบ (จุดตัดทางหลวงหมายเลข 11 ) แล้วตรงเข้าสู่เขต[[อำเภอท่าปลา]] ผ่าน[[เขื่อนสิริกิติ์]] เข้าสู่เขต[[อำเภอฟากท่า]] ผ่านโรงเรียนฟากท่าวิทยา เข้าสู่เขตอำเภอบ้านโคก และถึงด่านถาวรภูดู่ ระยะทางประมาณ 154 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ฝั่งประเทศลาวได้มีการปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีต 2 เลน ซึ่งสามารถเดินทางจากด่านสากลผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไซยะบูลีแขวงไชยบุรี เพื่อไปยัง [[เวียงจันทน์]] และหลวงพระบาง [[ประเทศลาว]] ได้สะดวก หรือจะใช้รถโดยสารประจำทางสายอุตรดิตถ์-บ้านโคก จำนวน 6 เที่ยวต่อวัน ท่ารถตั้งอยู่ที่หน้าสถานีรถไฟเก่า เดินทางไปถึงตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคกและต่อรถโดยสารสาธารณะไปยังด่านภูดู่ ในปัจจุบันกรมทางหลวงได้เพิ่มระยะทางทางหลวงหมายเลข117(นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากจังหวัดพิษณุโลกผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์มายังด่านภูดู่ รวมทั้งมีการเรียกร้องให้มีรถประจำทางสายพิษณุโลก-ปากลาย เพื่อรองรับการคมนาคมและเศรษฐกิจในอนาคต
 
== อ้างอิง ==