ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาร้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 6:
 
== ปลาร้าอีสาน ==
 
'''ปลาร้า''' หรือ'''ปลาแดก''' เป็นอาหารหลัก และเครื่องปรุงรสที่สำคัญที่สุดในวัฒนธรรมของภาคอีสาน จนถือเป็นหนึ่งใน''วิญญาณห้าของความเป็นอีสาน'' ได้แก่ ข้าวเหนียว ลาบ ส้มตำ หมอลำ และปลาร้า ชีวิตชาวอีสานก่อนปี พ.ศ. 2500 ครอบครัวชาวนาทุกครอบครัวจะทำปลาร้ากินเอง โดยหมักปลาร้าไว้มากหรือน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและความอุดมสมบูรณ์ของปลา
 
ลักษณะของปลาร้าอีสานคือมักทำจากปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เช่น [[ปลาสร้อยขาว]] [[ปลากระดี่หม้อ|ปลากระดี่]]มาหมักกับ[[รำข้าว]]และ[[เกลือ]] แล้วบรรจุใส่[[ไห]] จะหมักไว้ประมาณ 7-8 เดือน{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} แล้วนำมารับประทานได้ ในบางท้องที่มีค่านิยมว่า หมักให้เกิด[[หนอน]]จะยิ่งเพิ่มรสชาติยิ่งขึ้น {{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} ปลาร้าเป็นการถนอมปลาโดยการหมักไว้เป็นอาหารนอกฤดูกาล โดยมีข้อมูลเชิงสถิติระบุไว้ว่า กำลังการผลิตปลาร้าทั่วประเทศ 20,000-40,000 ตัน/ปี ครัวเรือนอีสานผลิตปลาร้าเฉลี่ย 27.09 กิโลกรัม/ปี อัตราการบริโภคปลาร้าโดยเฉลี่ยประมาณ 15-40 กรัม/คน/วัน ปริมาณการซื้อขายปลาร้าทั่วประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 ล้านบาทต่อวัน<ref>http://www.isangate.com/local/pladag_01.html</ref>
 
ปลาร้านำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด ตั้งแต่ [[น้ำพริก]] [[หลน]] จนถึงนำไปทอด นึ่ง เผา แล้วแต่ขนาดของปลาร้า นำปลาร้าไปต้มกับน้ำแล้วกรองเอาแต่น้ำเป็นน้ำปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสที่สำคัญของอาหารอีสาน อาหารที่ปรุงด้วยปลาร้าที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ[[ส้มตำ]]โดยส้มตำที่ใส่ปลาร้านั้นจะเรียกว่า ''ส้มตำลาว'' หรือ ''ส้มตำปลาร้า'' เพื่อให้ต่างจากส้มตำใส่[[กุ้งแห้ง]]ที่เรียกส้มตำไทย <ref>ส้มตำเป็นอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กทม. แสงแดด. 2552.</ref> ปลาร้าที่นิยมใส่ในส้มตำมี 3 แบบคือ<ref>ส้มตำเป็นอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กทม. แสงแดด. 2552.หน้า 22</ref>
เส้น 15 ⟶ 14:
* ปลาร้าโหน่ง รสจืดกว่าปลาร้าต่วง โดยหมักปลากับเกลือและรำข้าว รำข้าวจะช่วยเร่งให้ปลาร้าเป็นเร็ว สีออกแดงและหอม
* ปลาร้าขี้ปลาทู ทำจากไส้[[ปลาทู]] มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมาทำเป็นน้ำปลาร้าไว้ปรุงรส[[ส้มตำ]]
 
== คุณภาพของปลาร้า ==
สิ่งที่บ่งชี้คุณภาพของปลาร้า คือ คุณค่าด้านสารอาหาร รส กลิ่น สี นักโภชนาการยอมรับกันว่า เมื่อเปรียบเทียบปลาร้ากับอาหารหมักดองประเภทอื่น เช่น ปลาจ่อม ปลาส้มฟัก กะปิ ปลาร้าให้คุณค่าด้านสารอาหารค่อนข้างสูง คือ ให้โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ โดยเฉพาะปลาร้าที่ทำมาจากปลาช่อน
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาร้า"