ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขิม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แจ้งต้องการเก็บกวาดด้วยสคริปต์จัดให้
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95:
5) สลักกุญแจ 6) กุญแจ 7) แผ่นไม้สำหรับรองตัวขิม
 
ก่อนที่นายแพทย์สมชายฯจะคิดประดิษฐ์ขิม 9 หย่องซึ่งใช้สายโลหะเสตนเลสสตีลนั้น นายแพทย์สมชายฯได้สนใจขิมพิเศษตัวหนึ่งซึ่งเป็นสมบัติของผู้เขียนเอง ที่ว่าเป็นขิมพิเศษก็คือขิมตัวนี้ประดิษฐ์โดยครูท่านหนึ่ง (ไม่ทราบนาม) ซึ่งรู้จักกับคุณแม่ของผู้เขียนคืออาจารย์บรรเลง สาคริก ครูท่านนี้ได้ประกอบตัวขิมขึ้นเองโดยมุ่งจะให้ลูกเรียนแต่ลูกไม่สนใจเรียนจึงขายต่อให้กับคุณแม่ของผมในราคา 600 บาท ความพิเศษของขิมตัวนี้คือมีขนาดใหญ่กว่าขิม 7 หย่องในยุคนั้นเล็กน้อยแต่สายที่ใช้ขึงเป็นสายลวดเหล็กขนาดใหญ่ไม่ใช่สายทองเหลือง ตอนที่ซื้อขิมตัวนี้มาใหม่ๆนั้นลวดเหล็กที่ใช้ทำสายขิมขาดชำรุดไปเป็นส่วนใหญ่ไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้บรรเลงได้ ผู้เขียนจึงนำไปให้ร้านของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นท่านยังมีชีวิตอยู่ทำการเปลี่ยนสายให้ใหม่โดยให้เปลี่ยนเป็นสายทองเหลืองเหมือนกับขิม 7 หย่องทั่วไป แต่เมื่อไปรับขิมปรากฏว่าที่ร้านได้เปลี่ยนเป็นสายลวดเสตนเลสสตีลให้ทั้งตัวเมื่อลองตีดูเสียงไม่ค่อยดังและไม่ค่อยไพเราะเท่าใดผู้เขียนจึงเก็บขิมตัวนั้นไว้นานเกือบปีโดยไม่ได้นำมาใช้บรรเลงเลย อยู่มาวันหนึ่งขณะที่รื้อจัดของในห้องดนตรีก็เห็นขิมตัวนี้จึงลองนำออกมาปรับเทียบเสียงใหม่โดยปรับให้เสียงสูงในระดับเสียงของออร์แกนปรากฏว่ามีเสียงไพเราะน่าฟังมากทีเดียวจึงลองบรรเลงเล่นเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2524 ที่มีการก่อตั้ง มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ผู้เขียนได้บรรเลงขิมตัวนี้บันทึกเสียงไว้ที่ห้องบันทึกเสียงของอาจารย์ประสิทธิ ถาวรเพื่อนำออกเผยแพร่จำหน่าย ปรากฏว่าสามารถจำหน่ายขิมชุดนี้ซึ่งบันทึกไว้ 3 ตลับได้กว่า 1 พันตลับภายในช่วงเวลาจัดงานเพียง 3 วัน ต่อมานายแพทย์สมชายฯได้ฟังเทปขิมชุดนี้จึงได้มาพบและขอดูขิมตัวที่ใช้บันทึกเสียงเพราะสนใจว่าเหตุใดจึงมีกระแสเสียงไพเราะน่าฟังกว่าขิมทั่วไปพร้อมทั้งขออนุญาตวัดขนาดของขิมตัวนี้โดยละเอียด หลังจากนั้นไม่นานนักจึงได้ประดิษฐ์ขิม 9 หย่องตัวแรกขึ้นและได้นำขิม 9 หย่องตัวนั้นมามอบให้ผู้เขียนเป็นที่ระลึกพร้อมทั้งบอกเล่ารายละเอียดในการออกแบบให้ผู้เขียนฟัง ขิม 9 หย่องตัว
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขิม"