ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27:
ทั้งสามข้อล้วนกระทบต่อความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลทั้งสิ้น
 
ยึดบทความตามแหล่งข้อมูลตีพิมพ์บุคคลภายนอก (third-party) ที่นาน่าเชื่อถือซึ่งมีชื่อเสียงด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความแม่น เนื้อหาแหล่งข้อมูลจะต้องถูกตีพิมพ์ (คือ ทำให้สาธารณะเข้าถึงได้ในรูปแบบหนึ่ง) แหล่งข้อมูลที่ไม่ถูกตีพิมพ์ไม่ถือว่าน่าเชื่อถือ ใช้แหล่งข้อมูลที่สนับสนุนเนื้อหาที่นำเสนอในบทความโดยตรงและเหมาะสมแก่ข้ออ้าง ความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลใด ๆ ขึ้นอยู่กับบริบท แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดมีโครงสร้างแบบมืออาชีพ เพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ประเด็นข้อกฎหมาย หลักฐานและการโต้แย้ง ยิ่งมีระดับการตรวจสอบในประเด็นนี้มากขึ้นเท่าใด แหล่งข้อมูลก็ยิ่งน่าเชื่อถือเท่านั้น ระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเนื้อหาแหล่งอ้างอิงเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่และแพทยศาสตร์
 
สิ่งพิมพ์วิชาการและที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองแล้ว (peer-review) หากสามารถหาได้ มักเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด เช่น ในวิชาประวัติศาสตร์ แพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คุณยังอาจใช้เนื้อหาจากแหล่งข้อมูลที่มิใช่เชิงวิชาการที่น่าเชื่อถือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปรากฏในสิ่งพิมพ์กระแสหลักที่น่าเชื่อถือ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นรวมถึงตำราเรียนระดับมหาวิทยาลัย หนังสือที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ นิตยสาร วารสารและหนังสือพิมพ์กระแสหลัก คุณยังอาจใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีหลักเกณฑ์เดียวกัน