ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แบตเตอรี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''แบตเตอรี่''' ({{lang-en|battery}}) ในทาง[[วิทยาศาสตร์]]และ[[เทคโนโลยี]] หมายถึงอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้เก็บ[[พลังงาน]] และนำมาใช้ได้ในรูปของ[[ไฟฟ้า]] แบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์[[ไฟฟ้าเคมี]] เช่น [[เซลล์กัลวานิก]]หรือ[[เซลล์เชื้อเพลิง]] อย่างน้อยหนึ่งเซลล์
 
เชื่อกันว่าหลักฐานชิ้นแรกสุดที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ในประวัติศาสตร์โลก คือ วัตถุที่เรียกว่าแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) คาดว่ามีอายุในช่วง 250 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 640 สำหรับพัฒนาการของแบตเตอรี่ในยุคใหม่นั้น เริ่มต้นที่ ที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี นามว่า[[อาเลสซานโดร โวลตา]] เมื่อ [[ค.ศ. 1800]] ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสามารถสร้างรายได้จากการขายปีละ 4.8 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐเลยทีเดียว <ref>[http://www.dfj.com/cgi-bin/artman/publish/article_141.shtml (ประมาณการปี 2005 )]</ref>
 
== ประเภทแบตเตอรี่สามัญ ==
บรรทัด 11:
 
จากมุมมองของผู้ใช้แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้;
'''แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้''' และ '''แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้''' (ใช้แล้วทิ้ง) ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งสองชนิด
 
แบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งเรียกอีกอย่างว่า '''เซลล์ปฐมภูมิ''' ใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีเมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ไฟน้อยหรือในที่ที่ห่างไกลจากพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ
 
ในทางตรงกันข้ามแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้หรือ '''เซลล์ทุติยภูมิ''' สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้หลังจากไฟหมดเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์
 
แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้อยู่จนกระทั่งปัจจุบันคือ "เซลล์เปียก" หรือแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลาและต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ [[ไฮโดรเจน]] ที่เกิดจากปฏิกิริยาและแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก
 
รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือแบตเตอรี่ [[รถยนต์]] ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 [[วัตต์]]ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1100 [[แอมแปร์]] สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ [[กรดซัลฟิวริก]] ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนังและตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่มีราคาแพงมากเรียกว่า '''แบตเตอรี่เจล''' (หรือ "เจลเซลล์")
ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี และแบตเตอรี่ชนิดอัดไฟใหม่ได้ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่าคือประเภท "เซลล์แห้ง" ที่นิยมใช้กันใน[[โทรศัพท์มือถือ]]และ[[คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก]] เซลล์ของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ
* [[แบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียม|นิเกิล-แคดเมียม]] (NiCd) ,
* [[แบตเตอรี่นิเกิลเมตทัลไฮไดรด์|นิเกิลเมตทัลไฮไดรด์]] (NiMH) ,
บรรทัด 53:
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:แบตเตอรี่| ]]
 
[[หมวดหมู่:เทคโนโลยี]]
[[หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของเดนมาร์ก]]
{{โครงเทคโนโลยี}}
[[หมวดหมู่:แบตเตอรี่]
[[si:විදුලි කෝෂය (විද්‍යුතය)]]