ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอไชยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ทศพล ทรวงชัย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47:
* พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (พุทโธ)
* พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (หัวสั่น)
* พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (มี) บิดา [[เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ)]]
* พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (ท้วม)
* พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม (ปลอด)
บรรทัด 159:
มวยไชยาเป็นศิลปะมวยไทยประจำถิ่น[[อำเภอไชยา]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] มีชื่อเสียงมากสมัย[[รัชกาลที่ 5]]-[[รัชกาลที่ 6|6]] จนมีนักมวยจากไชยาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น[[หมื่นมวยมีชื่อ]]
 
มวยไชยาเริ่มมีระเบียบแบบแผนชัดเจนที่[[ตำบลพุมเรียง]] โดยนายมาชาวกรุงเทพฯ มาบวชที่[[วัดทุ่งจับช้าง]]และสอนวิชามวยให้แก่ผู้ที่สนใจ ต่อมา[[พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)]] เจ้าเมืองไชยาในเวลานั้นพาลูกศิษย์ขึ้นไปชกมวยหน้าพระที่นั่ง [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[รัชกาลที่ 5]] ณ มณฑลพิธีท้องสามหลวง กล่าวว่าทำให้ [[พระยาประวัติสุทธิกรณ์ (เจริญ ตุลยานนท์)]] เหลนของ [[เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ)]] เห็นลีลาเชิงหมัดมวยถึงกับอ้าปากค้างเลยที่เดียว จนทำให้นายปล่อง จำนงทองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นมวยมีชื่อ นอกจากนี้พระยาวจีฯ จัดให้มีการแข่งขันมวยในงานสมโภช[[พระบรมธาตุไชยา]]ทุกปี บุตรธิดาของพระยาวจีฯ เช่น [[ชื่น ศรียาภัย]] เป็นผู้ส่งนักมวยจากไชยาขึ้นมาชกในกรุงเทพฯจนเป็นที่รู้จัก
 
เมื่อย้ายตัวเมืองไชยาจากตำบลพุมเรียงไปที่[[ตลาดไชยา|ตำบลตลาดไชยา]]ดังในปัจจุบัน สถานที่ใหม่ที่ใช้จัดมวยคือสนามมวยเวทีพระบรมธาตุไชยา ในยุคนี้มีนักมวยเกิดขึ้นหลายคณะ แต่เมื่อเวทีมวยแห่งนี้สิ้นสุดลง วงการมวยไชยาก็เริ่มเสื่อมลง