ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุเนตร ชุตินธรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘ศิลปศาสตร์บัณฑิต’ ด้วย ‘ศิลปศาสตรบัณฑิต’
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
 
== ประวัติ ==
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์จบการศึกษา [[คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|ศิลปศาสตรบัณฑิต]] (ประวัติศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองจาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขา ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ จาก[[มหาวิทยาลัยคอร์แนล]] ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ [[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาและผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เป็นผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่าง[[ไทย]]กับ[[พม่า]] จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า 1 ใน 5 คน ของประเทศ ณ ปัจจุบัน มีผลงานการเขียนด้านบทความมากมายตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น ''[[เมืองโบราณ]], [[ศิลปวัฒนธรรม]]'' เป็นต้น มีผลงานด้านหนังสือ เช่น ''พม่ารบไทย'' ([[พ.ศ. 2537]]), ''บุเรงนอง กะยอดินนรธา กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย'' ([[พ.ศ. 2538]]), ''พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์'' ([[พ.ศ. 2542]]), ''พม่าอ่านไทย'' ([[พ.ศ. 2544]]) เป็นต้น สำหรับผลงานวิจัยชิ้นล่าสุด ในปี พ.ศ. 2552 คือ ''[[ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน]]'' ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ศึกษามุมมองของประเทศเพื่อนบ้านอันได้แก่ พม่า, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, และมาเลเซีย ว่ามีมุมมอง ทัศนคติต่อไทยอย่างไร ซึ่ง รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ
 
นอกจากนี้ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ยังเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ตามโอกาสต่าง ๆ เช่น การพูดคุยกับ[[วีระ ธีรภัทร]]ทางวิทยุคลื่น F.M.96.5 MHz เป็นต้น และยังเป็นที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์แก่[[หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล]] ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง ''[[สุริโยไท]]'' ([[พ.ศ. 2544]]) และ''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]'' ([[พ.ศ. 2550]]) โดยในเครดิตภาพยนตร์ปรากฏชื่อของ รศ.ดร. สุเนตร เป็นผู้เขียนบทร่วมกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ด้วย