ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อรรถกถา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodaban (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sodaban (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
- มติหลังเห็นว่าอรรถกถาเริ่มมีในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ในรัชสมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] [[พ.ศ. 236]]
 
มีความพยายามที่จะการพิสูจน์มติหลังให้เห็นว่าผิด นั้นมีจุดประสงค์เพื่อโยงเอาสร้างสมมติฐานการมีตัวตนของคัมภีร์อรรถกถาให้เข้าสู่ในการสังคายนาให้ครบทั้งตั้งแต่ครั้งแรก ๓ ครั้งดังเช่น
 
"แต่มติหลังนี้น่าจะมาจากการอ่านผิดวิธี เพราะไม่พบหลักฐานที่กว่าวไว้อย่างนั้น <ref>บางท่านกล่าวว่า มหาวงศ์กับสัทธัมมสังคหะกล่าวมตินี้ไว้, แต่เมือตามตรวจดูแล้ว ไม่พบเช่นนั้น มีแต่กล่าวว่า "อรรถกถาของพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตรถูกยกขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้ง (สํคีติตฺตยมารุฬํ)" โดยคำว่า สํคีติตฺตยมารุฬํนี้ แปลเช่นเดียวกับ รตนตฺตยํ</ref> แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีดั้งเดิมได้สูญหายจากประเทศอินเดียไป เหลือเพียงคัมภีร์อรรถกถาภาษาสิงหล ซึ่ง[[พระมหินทเถระ]]ได้นำอรรถกถาในภาษาบาลีมาเผยแพร่ในเกาะลังกาตั้งแต่สมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] ([[พ.ศ. 236]])"
 
ในขณะที่หากใช้ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้ามาตรวจสอบแล้ว มติแรกนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากเนื่องจากมีพระสูตรรองรับชัดเจนกำหนดให้ภิกษุสาวกใช้บทและพยัญชนะของพระผู้มีพระภาคตาม [[หลักมหาปเทส ๔]] <ref> หลักมหาปเทส ๔ - พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ ข้อ ๑๑๓ - ข้อ ๑๑๔ </ref> ได้กำหนดไว้แล้วให้ภิกษุสาวกใช้เฉพาะบท-พยัญชนะของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น หากเป็นของผู้อื่นทรงให้ละทิ้งคำสอนนั้นไปเสีย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเกิดขึ้นของอรรถกถาจึงต้องเป็นช่วงหลังพุทธกาลและหลังการสังคายนาครั้งแรกไปแล้ว สืบเนื่องจากภิกษุสาวกที่ทำการสังคายนาครั้งแรกประกอบไปด้วยอรหันตสาวกทั้งสิ้นที่มีความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคในฐานะที่เป็นพระศาสดาเพียงอย่างเดียวดังสูงสุด มิบังอาจรับรองความเห็นของภิกษุสาวกด้วยกันเองได้ตาม [[พระสูตร-มหาโคสิงคสาล]] <ref> พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ ข้อ ๓๖๙ - ๓๘๒ </ref> ที่แม้จะมีการแสดงความเห็นกันและกันแต่ก็จะทรงจำเฉพาะความเห็นหรือสุภาษิตของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น (ตถาคตภาษิต) ส่วนการเกิดของคัมภีร์อรรถกถาน่าจะเกิดหลังการ[[สังคายนาครั้งที่หนึ่งอยู่ในศาสนาพุทธ]]ในศาสนาพุทธไปแล้ว ช่วงที่มีเหตุการบิดเบือนแต่งเติมคำสอนเข้าไปใหม่ (จากเหล่าสาวกภาษิต) ทำให้ภิกษุสงฆ์แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มเป็นจำนวนถึง ๑๘ นิกายจนทำให้ถูกรวบรวมคำสอนด้วยการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ในสมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] จากเดิมที่เรียก "ธรรมวินัย" เปลี่ยนเป็น [[พระไตรปิฎก]] ด้วยการจัดหมวดหมู่คำสอนใหม่ เพื่อใส่เพิ่มหมวดของคำแต่งใหม่ (สาวกภาษิต) เข้าไป เช่น คัมภีร์กถาวัตถุขอพระโมคคลีบุตรติสสเถระและคำอธิบายที่เรียกว่า "อรรถกถา"
 
ดังนั้นในปี [[พ.ศ. 945]] [[พระพุทธโฆสะ]] พระภิกษุชาวอินเดีย จึงได้รับอาราธนามาที่เกาะลังกาเพื่อแปลคัมภีร์อรรถกถากลับคืนสู่[[ภาษาบาลี]] ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นผลงานการแปลของท่านพระพุทธโฆสะ<ref>เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ''ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท''. วิทยานิพนธ์ปริญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2524. 184 หน้า. (อัดสำเนา)</ref>