ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อรรถกถา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodaban (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sodaban (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''อรรถกถา''' ({{lang-pi|Atthakatha}}; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือ[[คัมภีร์]]ที่รวบรวมคำอธิบายความใน[[พระไตรปิฎกภาษาบาลี]] เรียกว่า '''คัมภีร์อรรถกถา''' บ้าง '''[[ปกรณ์]]อรรถกถา''' บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา
 
คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนที่เกิดขึ้นในยุคหลังพุทธกาลของผู้ที่ต้องการอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าและสร้างบทธรรมขึ้นเองโดยไม่ได้การรับรองจากพระพุทธเจ้าเหมือน [[พระสูตร-มหาโคสิงคสาล]] แต่มีจุดประสงค์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดง[[ทัศนะ]]และ[[วินิจฉัย]]ของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง<ref>_______. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546</ref> แต่เนื่องจากขัดกับ[[หลักมหาปเทส ๔]]จึงยังความสับสนแก่ผู้ศรัทธาในพระพุทธเจ้าให้ประพฤติต่างไปจากธรรมวินัยเดิม เพราะพระองค์ทรงตรัสถึงความสามารถในการบัญญัติธรรมมีเพียงพระองค์คนเดียวเท่านั้นส่วนภิกษุอริยะสาวกระดับปัญญาวิมุติก็ยังเป็นผู้เดินตามมรรค(มัคคานุคา) เท่านั้นดังพระสูตร[[ข้อแปลกกันระหว่างสัมมาสัมพุทธะ]] <ref> พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ ข้อ ๑๒๖ </ref>
 
ลักษณะการอธิบายความใน[[พระไตรปิฎก]]ของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบาง[[ศัพท์]] [[วลี]] [[ประโยค]] หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง<ref>ณรงค์ จิตฺตโสภโณ, พระมหา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์[[มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]], 2527</ref>