ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โปรเตสแตนต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lephill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
denomination=คณะ,นิกาย
บรรทัด 45:
{{บทความหลัก|การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์}}
 
การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ คือขบวนการ[[การปฏิรูปศาสนา]]ที่เริ่มโดย [[มาร์ติน ลูเทอร์]] เมื่อปี ค.ศ. 1517 เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของนิกาย[[โรมันคาทอลิก]] และ[[พระสันตะปาปา|สถาบันสันตะปาปา]] มาเสร็จสิ้นลงด้วย[[สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648]]<ref name="Simon-120-121">{{cite book |first=Edith |last=Simon |title=Great Ages of Man: The Reformation |pages=pp. 120-121 |publisher=Time-Life Books |year=1966 |isbn=0662278208}}</ref> ผลจากการปฏิรูปคือการแยกตัวจากนิกายคาทอลิกมาเป็นนิกาย[[โปรเตสแตนต์]]
 
== นิกาย คริสตจักร และคณะต่าง ๆ ในนิกายโปรเตสแตนต์ ==
 
การกำเนิดของนิกายโปรเตสแตนต์ มีผลสำคัญทั้งทางศาสนา และการเมืองมาก เพราะเป็นการทำลาย การติดต่อเกี่ยวพัน ในระหว่างพวกคริสต์ และทำให้กลุ่มคาทอลิก สังคายนาระเบียบ ของตัวเองให้เรียบร้อยขึ้น ขณะเดียวกันยังทำให้ฝ่ายคาทอลิก ตัดรอนอำนาจของสันตปาปาในกรุงโรม ทำให้เกิดรัฐอิสระอีกหลายแห่ง ดังนั้น ในช่วงนี้ จึงเรียกว่าเป็น ช่วงปฏิรูปศาสนาหรือ Reformation การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็ก ๆ ในภายหลัง โดยกลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวนี้ มีดังนี้คือ
บรรทัด 55:
นิกาย[[ลูเทอแรน]] (Lutheranism) เป็นผลจากการปฏิรูปศาสนาของลูเทอร์ แม้เขาต้องลี้ภัย แต่ทำให้มีเวลาแปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนเกี่ยวกับพิธีกรรมรวมทั้งศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้ชาวบ้านและคนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักคำสอนและพิธีกรรม ซึ่งแต่เดิมมาเขียนเป็นภาษาละติน จึงยากแก่การสื่อความหมายให้เข้าถึงได้ จึงรู้ได้เฉพาะปัญญาชน นักบวช และนักศาสนาเท่านั้น
 
ผลงานของลูเทอร์นี้ ได้สร้างคุณประโยชน์ แก่ผู้ที่ไม่รู้[[ภาษาละติน]] ได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของ[[ศาสนาคริสต์]]ได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเทอร์ ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบใน ความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น นักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนา เป็นเพียง สิ่งเปลือกนอก ที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้า ต่อพระพักตร์[[พระเจ้า]] ด้วยตนเอง นิกายนี้ จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนพิธีศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่[[พิธีบัพติศมา]] และ[[พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์]] และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อ[[คัมภีร์ไบเบิล]] ซึ่งเชื่อว่าเป็น[[พระวจนะของพระเจ้า]] ที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรอดส่วนบุคคล ภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์ จึงไม่มี[[รูปเคารพ]] และศิลปกรรมที่ตกแต่ง ดังเช่น โบสถ์[[โรมันคาทอลิก|คาทอลิก]] บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้น ที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นเพียง เปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือ ยึดติด ไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้
 
==== คริสตจักรปฏิรูป ====
บรรทัด 63:
[[ลัทธิคาลวิน]] (Calvinism) ผู้ริเริ่มและบุกเบิกนิกายนี้ คือ จอห์น คาลวิน หรือกาลแวง เป็นชาว ฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้สนใจ แนวคิดทางศาสนาของลูเทอร์และสวิงลี จึงได้รับคำสอนเหล่านั้นมาปรับปรุง คำสอนของเขาแพร่หลายเข้าไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า เปรสไบทีเรียน
 
คาลวินมีอิทธิพลในกรุงเจนีวา เขาถูกเชิญไปที่นั่นหลายครั้ง จนกระทั่ง ได้อาศัยอยู่ที่เจนีวา จนสิ้นใจ ในปี 1564 ผลงานที่สำคัญ คือ หนังสือศาสนา ที่ต่อมาได้กลายเป็นหลัก เทวศาสตร์ ของโปรเตสแตนต์ ชื่อ "สถาบันศาสนาคริสต์" (The Institutes of the Christian Religion) แต่เดิมเขียนเป็นภาษาละติน แต่ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ในเวลาต่อมา และถูกพิมพ์ถึง4 ครั้ง ในช่วงที่คาลวินมีชีวิตอยู่ หนังสือเล่มนี้ ช่วยให้เราสามารถเข้าใจ ศรัทธาของชาวคริสต์ คำสอนของนักบุญ[[ออกัสตินแห่งฮิปโป]] อีกทั้งทำให้เราเข้าใจ อำนาจของพระเจ้า เข้าใจในเรื่อง[[บาปกำเนิด]] และ[[เทวลิขิต]] นอกจากนี้ คาลวินได้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเจนีวา และทำให้กรุงเจนีวา เป็นศูนย์นัดพบของชาวโปรเตสแตนต์ทั่วยุโรป
 
==== นิกายแองกลิคัน ====
 
นิกาย[[แองกลิคัน]] (Anglicanism) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "[[คริสตจักรแห่งอังกฤษ]]" มีกำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยมีสาเหตุมาจาก[[พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษ]] ต้องการให้พระสันตะปาปา ที่กรุงโรมอนุญาตให้rพระองค์หย่าร้าง และอภิเษกสมรสใหม่ แต่ได้รับการปฏิเสธจากพระสันตะปาปาทรงปฏิเสธ จึงไม่พอพระทัยประกาศตั้งนิกายใหม่ที่เรียกว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษ ไม่ขึ้นต่อกรุงโรม และทรงแต่งตั้ง[[ธอมัส แครนเมอร์]] เป็น[[อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี]]
 
==== นิกายเพนเทคอสต์ ====
บรรทัด 88:
==== นิกายแอดเวนทิสต์ ====
 
คณะ[[เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์]] (Seven Day Adventists) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของนิกาย[[แอดเวนทิสต์]] (Adventists) กลุ่มนี้เน้นวันสุดท้ายของโลก และ[[การมาครั้งที่สอง]]ของพระคริสต์ใน[[การพิพากษาครั้งสุดท้าย]]เพื่อทำให้บริสุทธิ์อีกครั้ง การถือรักษาวัน[[วันสะบาโต]]แบบชาวยิว คือนมัสการพระเจ้าในวันที่เจ็ดคือวันเสาร์ ทานอาหารตามพระบัญญัติในพระคำภีร์ ผู้นับถือมีทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้น กลุ่มนี้ได้ส่งศาสนทูตเข้ามาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1918
 
==== คณะเควกเกอร์ หรือสมาคมมิตรภาพ (Society of Friends) ====
บรรทัด 107:
[[หมวดหมู่:นิกายโปรเตสแตนต์| ]]
[[หมวดหมู่:ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 16]]
[[หมวดหมู่:นิกายโปรเตสแตนต์]]