ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิธีราชาภิเษก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
พระราชพิธีราชาภิเษก คือพิธีทางการที่[[พระมหากษัตริย์]]และ/หรือคู่อภิเษกสมรส รับมอบพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามปกติแล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการสวม[[มงกุฎ]]ลงบนพระเศียรพร้อมด้วย[[เครื่องราชกกุธภัณฑ์]]ชิ้นอื่น พิธีนี้ยังอาจรวมไปถึงการกล่าวถ้อยคำปฏิญาณ การถวายความเคารพแก่ผู้ปกครองพระองค์ใหม่ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ และ/หรือการประกอบพิธีกรรมอันมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ต่อความเป็นรัฐชาติ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พระราชพิธีราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยชี้นำทางด้านสังคม การเมือง และศาสนา จนมาถึงจุดที่พระราชพิธีราชาภิเษกของหลายประเทศถูกปรับเปลี่ยนให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น เหลือไว้เพียงพิธีกรรมที่สำคัญบางประการเช่น เช่น การเถลิงราชบัลลังก์ (enthronement) การเถลิงพระราชอิสริยยศ (investiture) หรือการเข้ารับพร (benediction) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระราชพิธีราชาภิเษกแบบดั่งเดิมยังคงได้รับการสืบทอดเอาไว้ใน[[สหราชอาณาจักร]] [[ตองกา]] และประเทศในทวีปเอเชียอีกหลายประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ''พิธีราชาภิเษก'' ใช้หมายความถึงพิธีที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติอย่างเป็นทางการ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการสวมมงกุฎลงบนพระเศียรหรือไม่แต่อย่างใด
 
นอกจากนี้ เจิ้งยังทำเพื่อเป็นการผูกเอาสัญลักษณ์ของรัฐเข้ากับพระมหากษัตริย์ บ่อยครั้งที่พระราชพิธีราชาภิเษกจะมีพิธีเจิม (anointing) ด้วยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ (holy oil) หรือด้วยน้ำมนต์ ซึ่งที่ใดก็ตามที่พบพิธีกรรมเช่นนี้ เช่นในสหราชอาณาจักรและตองกา จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งของฝ่ายศาสนจักรโดยเปิดเผย ในขณะที่อีกหลายแห่งใช้พิธีการชำระล้าง การดื่มเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์ หรือพิธีกรรมทางศาสนาอื่นๆ การนำศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีราชาภิเษกเช่นนี้ก็เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความเป็นเทวราชาที่พระมหากษัตริย์ได้รับมอบมาจากพระเจ้า สื่อให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ทางจิตวิญญาณที่มีต่อศาสนาอันเกี่ยวข้องกับความเป็นรัฐชาติ
 
ในอดีต บ่อยครั้งที่หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับราชสันตติวงศ์มองว่าพระราชพิธีราชาภิเษกกับเทพเจ้าเชื่อมโยงอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ ในอารยธรรมโบราณบางแห่ง พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองมักจะถูกมองว่าเป็นเทพเจ้าหรือมีเชื้อสายมาจากพระเจ้า: ใน[[อียิปต์โบราณ]] ผู้คนเชื่อกันว่า[[ฟาโรห์]]คือบุตรแห่ง[[เทพรา]] เทพแห่งดวงอาทิตย์ ในขณะที่[[ญี่ปุ่น]] เชื่อว่า[[จักรพรรดิญี่ปุ่น|สมเด็จพระจักรพรรดิ]]ทรงสืบสายพระโลหิตมาจาก[[อะมะเตะระซุ]] สุริยเทพีของญี่ปุ่น ใน[[โรมโบราณ]]มีการประกาศให้ประชาชนบูชาจักรพรรดิ และใน[[ยุคกลาง]] กษัตริย์ยุโรปทรงถือเอาว่าตนครอบครอง[[เทวสิทธิราชย์]]ที่จะปกครอง พระราชพิธีราชาภิเษกนี้เองจึงถูกใช้ฉายให้เห็นถึงภาพความเกี่ยวโยงกันระหว่างกษัตริย์และเทพเจ้า แต่ในสมัยปัจจุบันการเป็นประชาธิปไตย (democratization) และ[[การแยกศาสนาออกจากรัฐ]] (secularization) มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้แนวคิดความเชื่อมโยงกันระหว่างกษัตริย์และเทพเจ้าลดลงไปมาก ดังนั้นพระราชพิธีราชาภิเษก (หรือองค์ประกอบทางศาสนา) มักจะถูกละทิ้งไปโดยสิ้นเชิง หรือถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นพิธีอันสะท้อนแก่นสารของความเป็นรัฐตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนในรัฐนั้นๆ ให้การยึดถือ อย่างไรก็ตาม[[ราชาธิปไตย]]ของบางประเทศยังคงดำรงมิติทางด้านศาสนาในกระบวนการขึ้นสู่อำนาจ (การขึ้นครองราชสมบัติ) อย่างเปิดเผย บางแห่งลดทอนความสลับซับซ้อนลงมาเหลือเป็นเพียงพระราชพิธีการเถลิงราชบัลลังก์ (enthronement) หรือพระราชพิธีกล่าวคำพระราชปฏิญาณเป็นพระมหากษัตริย์ (inauguration) หรือไม่กระทำการพระราชพิธีอันใดเลย