ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WapBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ ญี่ปุ่น พ.ศ. 2488 ด้วย ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2488
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่[[ฮิโระชิมะ]] 140,000 คนและที่[[นะงะซะกิ]] 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับ[[กัมมันตรังสี]]ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
 
[[ไฟล์:Japan map hiroshima nagasaki.png|thumb|250px|แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งระเบิดปรมาณู]]
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อ[[ฝ่ายพันธมิตร]]เมื่อวันที่ [[15 สิงหาคม]] พ.ศ. 2488 และลงนามใน[[ตราสาร]]ประกาศยอมแพ้[[สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก]]ที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ [[2 กันยายน]] พ.ศ. 2488 ([[นาซีเยอรมนี]]ลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ [[5 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์
 
{{ประวัติศาสตร์จักรวรรดิญี่ปุ่น}}
== โครงการแมนฮัตตัน ==
สหรัฐอเมริกา อังกฤษและแคนาดา ได้ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ "ทูบอัลลอยด์" และ "สถานีวิจัยคลาค รีเวอร์" เพื่อออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า "โครงการแมนฮัตทัน" ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์อเมริกัน นาม เจ. โรเบิร์ต ระเบิดปรมาณูที่ใช้ถล่มเมืองฮิโระชิมะของญี่ปุ่น ที่ชื่อ "ลิตเติลบอย" นั้น ได้ใช้ [[ยูเรเนียม]] - 235, ลูกระเบิดลูกแรกถูกทดสอบที่ ทรีนิตี้, นิวเม็กซิโก ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2488 ส่วนระเบิดที่ใช้ถล่มนะงะซะกินั้นใช้ [[พลูโตเนียม]] - 239
 
=== การเลือกเป้าหมายทิ้งระเบิด ===
[[ไฟล์:Japan map hiroshima nagasaki.png|left|thumb|250220px|แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งระเบิดปรมาณู]]
ในวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos นำโดยเจ. โรเบิร์ต นักฟิสิกส์ ใน "โครงการแมนฮัตทัน" ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต, ฮิโระชิมะ, โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า:
* เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่
เส้น 19 ⟶ 20:
== ฮิบะกุชะ ==
[[ไฟล์:Victim of Atomic Bomb 002.jpg|right|thumb|ผู้เสียชีวิตจากสาร[[กัมมันตรังสี]]]]
[[ไฟล์:NagasakiHypocentre.jpg|thumb|300px|ภาพมุมกว้างของอนุสาวรีย์จุดการระเบิดของลูกระเบิดปรมาณูเหนือเมือง[[นะงะซะกิ]]]]
ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ฮิโระชิมะ ว่า "ฮิบะกุชะ" ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น" ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมาณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 "ฮิบะกุชะ" มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็นเมืองฮิโระชิมะ 258,310 คน และเมืองนะงะซะกิ 145,984 คน