ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
# ปรับปรุงปัญหาด้านการต่างประเทศ หลังจากที่ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศยุโรปก็ได้ส่งกงสุลใหญ่เข้ามาดูแลด้านการค้า การปกครองคนของตนอย่างเป็นเอกเทศไม่ยอมให้คนในบังคับ ของตนมาขึ้นศาลไทย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีกงสุลใหญ่หรือทูตไทยไปประจำในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ความไม่พอใจระหว่างรัฐบาลไทยกับกงสุลของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นบ่อย ๆ เกิดข้อพิพาทบาดหมางกัน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องส่งทูตพิเศษออกไปติดต่อกับรัฐบาลในทวีปยุโรปเสมอ ๆ จึงจำเป็นต้องจ้างโรลังยัคมินส์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นงานหนักในฐานะที่เป็นอัครราชทูตไทย ผู้มีอำนาจเต็มประจำ กระทรวงการต่างประเทศ บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของท่าน คือการที่ช่วยรัฐบาลไทยเจรจาและทำความเข้าใจกับรัฐบาลฝรั่งเศส ในช่วง[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]] (พ.ศ. 2436) ซึ่งประเทศไทยถูกฝรั่งเศสยึดดินแดน ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติน้อยที่สุด และช่วยรักษาเอกราชของประเทศไทยไว้ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการดำเนินรัฐประศาสโนบายในทางที่ควรจนรอดพ้นจากการสูญเสีย ประเทศมาได้
 
คุณความดีและความสามารถหลายด้านของโรลังยัคมินส์ ที่มีต่อประเทศไทย วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้โรลังยัคมินส์เป็น''[[เจ้าพระยาอภัยราชา]] สยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวามิภักดิ์สวาภักดิ์ ปรมัคราชมนตรี อภัยพิริยบรากรมพิริยปรากรมพาหุ'' เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป ถือศักดินา 10000<ref>ราชกิจจานุเบกษา. ในวันที่[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/034/418.PDF 16พระราชทานสัญญาบัตร], เล่ม ๑๓, ตอน ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน .ศ. 2439๑๑๕, หน้า ๔๑๘</ref> นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งฝรั่งเป็นเจ้าพระยาเทียบชั้นเสนาบดี
 
ส่วนในด้านการศึกษาของเจ้าฟ้าชายผู้เป็นรัชทายาท และพระราชโอรสทุกพระองค์ เจ้าพระยาอภัยราชาได้เสนอความคิดว่าควรจะศึกษาวิชาใดในต่างประเทศ และควรจะเรียนในประเทศใด เพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองและเป็นการเชื่อมโยงสร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับประเทศต่าง ๆ ด้วย และยังถวายคำแนะนำ ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2441 ภายหลังที่มีกรณีพิพาท กับฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อบรรเทาความตึงเครียดในทางการเมือง และเพื่อให้ประเทศอื่น ๆ รู้จักประเทศไทยและหันมาสนับสนุน ประเทศไทยในทางการเมือง เพื่อเป็นการถ่วงดุลกับอิทธิพลของฝรั่งเศสในขณะนั้น
บรรทัด 54:
 
{{เรียงลำดับ|อภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์)}}
{{เกิดปีอายุขัย|2378}}{{ตายปี|2445}}
[[หมวดหมู่:ชาวเบลเยียมในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา]]