ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธรูป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
บรรทัด 19:
 
พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธาราฐ เมื่อประมาณ[[พุทธศตวรรษที่ 6]] หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบ[[คันธาราฐ]] โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันใน[[ยุโรป]]มาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธาราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของ[[เทวรูป]]กรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็กๆ ([[พระเครื่อง]]) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์
 
== ตำแหน่งของการปิดทองพระพุทธรูป ==
ชาวพุทธต่างพากันบูชาพระรัตนตรัย ชาวพุทธ มีความเชื่อที่ว่าการปิดทอง[[พระพุทธรูป]] ถือเป็นบุญบารมีมหาศาล ที่จะทำให้ผู้ที่ปิด ได้[[อานิสงค์]]ผล[[บุญ]] ส่งผลให้บังเกิดสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต และสิ่งที่หลายท่านอาจยังไม่ทราบคือ การปิดทองในตำแหน่งต่างๆ ของ[[พระพุทธรูป]] จะส่งอานิสงค์ผลบุญในด้านที่แตกต่างกันด้วย
 
* ปิดทองบริเวณเศียรพระ (หัว) จะมีสติ[[ปัญญา]]แหลมคม จดจำสิ่งต่างๆ ได้ดี
* ปิดทองบริเวณพระพักตร์ (ใบหน้า) จะประสบความสำเร็จในชีวิต ทางด้านการทำงานก็จะเจริญรุ่งเรือง
* ปิดทองบริเวณพระอุระ (อก) จะมีผู้คนชื่นชอบ เอ็นดู มีบุคลิกสง่า มีราศี
* ปิดทองบริเวณพระอุทธ (ท้อง) จะมีกินมีใช้ ร่ำรวย มั่งมี
* ปิดทองบริเวณพระหัตถ์ ([[มือ]]) จะมีผู้คนเคารพยำเกรง เป็นที่น่ายกย่อง
* ปิดทองบริเวณพระบาท ([[เท้า]]) จะมีความเป็นอยู่ที่ดี มี[[ยานพาหนะ]]ที่ดี<ref>[http://www.goldpriceth.com/pid-thong/ การปิดทองพระ]</ref>
 
== อ้างอิง ==