ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาทู (สกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6012342 สร้างโดย 180.183.154.89 (พูดคุย)
บรรทัด 28:
ในอดีตเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจาก[[เกาะไหหลำ]] แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 ‰ แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 ‰ จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้ <ref name="ศิลป"/> ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม
 
ต่อมาในต้นปี [[พ.ศ. 2555]] ได้มีการเปิดเผยว่าทางกรมประมง ได้สำเร็จการเพาะขยายพันธุ์ปลาทูในระบบปิดเป็นได้สำเร็จครั้งแรกของโลก<ref>[http://www.fisheries.go.th/fish/pr/news_detail.php?news_id=291]</ref> อันเนื่องจากการความต้องการบริโภคทำให้มีการจับปลาทูเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี เป็นที่หวั่นเกรงกันว่า ปลาทูอาจจะ[[สูญพันธุ์]]ลงได้ การนำปลาทูพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงที่ได้มาจากทะเลในกระชังที่ขึงไว้ในบ่อดินนาน 6 [[เดือน]] ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาชายฝั่งสมุทรสาคร จนปลาเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์ จึงย้ายปลาขึ้นมาเลี้ยงในถังเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในโรงเพาะฟัก โดยให้อาหารสูตรเฉพาะ และเลี้ยงในระบบกรองน้ำแบบชีวภาพด้วยเครื่องโปรตีนสกิมเมอร์ เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่เหมาะสมปราศจากเมือกโปรตีนที่ตกค้าง มีการควบคุมความเค็มที่ระดับ 27-30 ส่วนใน 1,000 และควบคุมอุณหภูมิให้มีค่าคงที่อยู่ระหว่าง 29-32 องศาเซลเซียส
 
โดยใช้ความพยายามกว่า 2 ปี จนในวันที่ [[11 กันยายน]] [[พ.ศ. 2554]] แม่พันธุ์ปลาทูก็วางไข่และสามารถอนุบาลได้ในระบบปิด โดยวางไข่ครั้งละประมาณ 15,000-30,000 ฟอง และมีพฤติกรรมวางไข่แบบรวมฝูง แม่ปลาทั้งฝูงจะวางไข่เป็นระยะ ๆ ต่อเนื่องกันหลายวันไปจนหมดฤดูผสมพันธุ์