ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วีรพงษ์ รามางกูร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37:
 
== ประวัติ ==
ตระกูลฝ่ายบิดาของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร นับได้ว่าสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองธาตุพนม นายกอง และเจ้านายชั้นสูง (เจ้าขุนโอกาส) ผู้ดูแลรักษาพระบรมธาตุพนมมาหลายชั่วอายุคน รับราชกาลในเมืองนครจำปาศักดิ์ และสืบเชื้อสายปฐมวงศ์จากราชวงศ์เวียงจันทน์สายสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารเมื่อวัยเยาว์นั้นกรุงเทพมหานครเกิดสงคราม จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับยายซึ่งมีอาชีพทำนา ที่[[อำเภอบางบ่อ]] โดยมีป้าเป็นผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด ส่วนบิดาทำงานอยู่ที่โรงพักบางรักแล้วย้ายไปอยู่พญาไท ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานตามบิดาไปอยู่ที่อำเภอธาตุพนม [[จังหวัดนครพนม]] โดยอาศัยอยู่กับเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้เป็นปู่ที่ธาตุพนมเป็นเวลาถึง 7 ปี ด้วยปัญหาความขัดแย้งของตระกูลเจ้านายธาตุพนมเดิม เป็นเหตุให้เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ซึ่งแต่เดิมใช้สกุล บุคคละ ตามพี่ชายคนโตคือ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) เจ้าพระอุปฮาตได้ปรึกษากับบุตรชายคนรองคือ นายดวง รามางกูร (ป.ธ. 3, พระราชทานเพลิง) ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ตั้งสกุลรามางกูรขึ้นใหม่ เป็นเหตุให้ทายาทสกุลบุคคละเดิม รวมถึง ดร. วีรพงษ์ ต้องเปลี่ยนสกุลจากบุคคละมาเป็นรามางกูรตามปู่และบิดาของตน ดร. วีรพงษ์ รามางกูร เป็นคนเฉลียวฉลาดมีสติปัญญาดีมาก และมีความขยันขันแข็งพากเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนเป็นอันดับ 1 ในชั้นเรียนมาโดยตลอด จนเป็นที่เล่าลือและชื่นชมในหมู่ญาติและครูอาจารย์ เมื่อวัยเยาว์ได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ตัวจังหวัดนครพนม คือโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนสุนทรวิจิตร จนจบประถม 4 ก่อนจะย้ายตามบิดาเข้ากรุงเทพมหานคร อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2496 ฝ่ายบิดานั้นได้ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนศรีอยุธยา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่[[โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย]] จากนั้นศึกษาต่อที่[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] แผนกวิทยาศาสตร์ รุ่นเดียวกับ ศ. สุรศักดิ์ นานานุกูล ดร. เมธี ครองแก้ว และศิริบุญ เนาถิ่นสุข จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง เป็นคนแรกจาก[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ในขณะที่ศึกษาอยู่ก็สอบได้เป็นอันดับ 1 มาตลอดทุกเทอม ต่อมาได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาการต่างประเทศและการทูต ร่วมมือกับ ศ. บำรุงสุข สีหอำไพ ก่อตั้งแผนกอิสระสื่อสารมวลชน ซึ่งต่อมาคือคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่นานจึงได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาเศรษฐมิติ (Economatrix) ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกานาน 5 ปีครึ่ง และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มอบทุนค่าใช้จ่ายให้มากสุดถึงเดือนละ 300 เหรียญ เป็นเหตุให้หลังจากกลับจากการศึกษาต่อ ดร. วีรพงษ์สามารถสร้างบ้านส่วนตัวหลังแรกได้สำเร็จ ต้นปี พ.ศ. 2515 ได้กลับมาเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วดำรงตำแหน่งเป็นคณะบดีคณะเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2519 อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย โดยมีอดีตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังปี พ.ศ. 2526 เข้าทำงานที่สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จากนั้น พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการวางแผนเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบทุนนิยม ตามนโยบายเปิดประเทศ เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน และยกย่องกันว่าทางรัฐบาลลาวได้ไว้วางใจและนับถือ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศธนาคารโลกเพื่อการพัฒนา หรือ Asian development Bank (ADB) ได้ให้ ดร.วีรพงษ์ เข้าไปช่วยเหลือการสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงินและเศรษฐกิจของลาว<ref>http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=9942</ref>
 
ดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีพี่น้องทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่
บรรทัด 47:
# เด็กชายวิโรจน์ รามางกูร (ถึงแก่กรรมเมื่อยังเด็ก)
 
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร สมรสมาแล้ว ๒ ครั้ง ๑ ใน ๒ ท่านนั้นคือนางลดาวัลย์ รามางกูร (สกุลเดิม ติรสวัสดิชัย) พี่น้องของนายอภิชาติ ติรสวัสชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีบุตร์ธิดา 3 ท่าน ได้แก่<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1361413162</ref>
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร มีบุตร์ธิดา 3 ท่าน ได้แก่<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1361413162</ref>
# นางสาววรมน รามางกูร
# นายวีรมน รามางกูร