ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Syum90 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6040648 สร้างโดย 49.48.240.125 (พูดคุย)
บรรทัด 33:
พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น [[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]) พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย<ref name="แน่งน้อย15">หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หน้า ๑๕ </ref>
 
เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่ง[[พระบรมราชจักรีวงศ์]]แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]] จนกระทั่ง [[พ.ศ. 2355]] พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ยังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๘</ref> รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี]]และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด) เป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]] โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตาม[[พระสุพรรณบัฏ]]ว่า "'''สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์กษัตริย์ ขัติยราชกุมาร'''" ในปี [[พ.ศ. 2359]] พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการ[[พระราชพิธีโสกันต์]]ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] โดยได้สร้าง[[เขาไกรลาส]]จำลองไว้บริเวณหน้า[[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]]
 
พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) [[วัดโมลีโลกยาราม]] ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า ๙</ref>