ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเมืองอุตรดิตถ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 43:
* จากท่าอิฐไป แพร่ น่าน ลำปางพะเยา เชียงราย เชียงตุง สิบสองปันนา สิบสองจุไทย เข้าเขตเมืองฮ่อ เชียงใหม่ และเชียงคำ
* จากท่าอิฐไปทางทิศตะวันออก ไปปากลาย อุดร เลย หล่มสัก เชียงคาน หนองคาย และเวียงจันทน์

* จากท่าอิฐไปหลวงพระบาง
 
การบรรทุกสินค้าเพื่อทำการค้าขายระหว่างท่าอิฐกับเส้นทางดังกล่าวนี้ ใช้วัวต่าง ช้างต่าง ม้าต่าง และลาต่าง การขนสินค้าของพวกค้าเรือมันมาก่อนฤดูน้ำ กับปลายฤดูน้ำแล้งเรือใหญ่เล่นไม่สะดวก ส่วนพวกพ่อค้าทางเหนือและทางตะวันออกใช้เดินทางปลายฤดูฝน จนถึงหน้าแล้ง เพราะหนทางภาคเหนือเป็นป่าเขา ลำห้วยมาก ดังนั้นในฤดูหนาวและฤดูแล้งจึงเหมาะแก่การเดินทางของพ่อค้า และลำน้ำน่านเหนือท่าอิฐขึ้นไปมีเกาะแก่งมากไม่สะดวกในการเดินทางเรือ สินค้าที่พ่อค้าทางบกรับซื้อจากพ่อค้าเรือบริเวณท่าอิฐ เช่น เกลือ ปลาทูเค็ม เชื้อเพลิง และเครื่องใช้อื่นๆ สินค้าที่พ่อค้าทางเรือรับซื้อจากพ่อค้าทางบก เช่น หนังสัตว์ งาช้าง และไหม การค้าขายสมัยทุ่งยั้งปกครองท่าอิฐนี้ มีความเจริญไม่มากนัก ส่วนมากใช้เป็นของแลกเปลี่ยน และบริเวณหาดท่าอิฐยังเป็นป่ามาก คงเป็นแต่ถือเป็นท่าเรือค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันเท่านั้น และสมัยนั้นสินค้ามาจากต่างประเทศมีน้อย สินค้ามาจากต่างประเทศก็มาทางเรือสำเภา เรือใบ ดังนั้นหาดท่าอิฐ จึงเพียงแต่ปลูกเป็นเพิงพอขายกันเท่านั้น ในด้านการค้าขาย บริเวณหาดท่าอิฐในสมัยสุโขทัยมีลักษณะดังนี้