ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอลับแล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
[[ไฟล์:Wat-Cedi-Script.jpg .jpg|150px|thumb|ศิลาจารึกเจดีย์พิหาร ขุดได้ที่หน้าวิหารวัดเจดีย์คีรีวิหาร มหาอำมาตย์ตรี พระยานครพระราม ส่งเข้าหอสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ เมื่อปี [[พ.ศ. 2473]] ศาสตราจารย์ ดร.[[ประเสริฐ ณ นคร]] ให้ความเห็นว่าเนื้อหาจารึกน่าจะกล่าวตั้งแต่ครั้งเมื่อ[[พระยาลิไทย]]ขึ้นเสวยราชย์ เป็นหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันว่าอาณาบริเวณเมืองลับแลปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย]]
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ สันนษฐานสันนิษฐานได้ว่าที่เมืองทุ่งยั้ง แต่เดิมเคยเป็นเมืองใหญ่ที่เป็นชุมชนของพวก[[ละโว้|ละว้า]]และ[[ขอม]] มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน เพราะได้มีการขุดพบกลองมโหระทึกและพร้าสำริด ได้ในบริเวณดังกล่าว ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายลง อาณาจักรสุโขทัยก็ได้เข้ามาครอบครองและตั้งเมืองขึ้นเรียกชื่อว่า "เมืองกัมโพช" ปัจจุบันคือเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งมีอาณาบริเวณครอบคลุมถึงที่ตั้งเมืองลับแลในปัจจุบัน จากหลักฐานศิลาจารึกเจดีย์พิหาร ขุดได้ที่หน้าวิหารวัดเจดีย์คีรีวิหาร ซึ่งมหาอำมาตย์ตรี พระยานครพระราม ส่งเข้าหอสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ เมื่อปี [[พ.ศ. 2473]] ศาสตราจารย์ ดร.[[ประเสริฐ ณ นคร]] ให้ความเห็นว่าเนื้อหาจารึกน่าจะกล่าวตั้งแต่ครั้งเมื่อ[[พระยาลิไทย]]ขึ้นเสวยราชย์ เป็นหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันว่าอาณาบริเวณเมืองลับแลปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย
 
[[ไฟล์:Samut Khoi Laplae1.jpg|150px|left|thumb|สมุดไทยบัญชีถือสังกัดมูลนายประจำแขวงเมืองลับแลในสมัย[[รัชกาลที่ 4]]]]
 
นอกจากนี้ ทางด้านเหนือและตะวันตกของเมืองกัมโพช มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีบรรยากาศเยือกเย็นยามพลบค่ำแม้ตะวันจะยังไม่ตกดินก็จะมืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่านี้จึงได้ชื่อว่า "ป่าลับแลง" (''แลง'' เป็น[[ภาษาล้านนา]]แปลว่า เวลาเย็น) ต่อมาเพี้ยนเป็น "ลับแล" ซึ่งกลายมาเป็นชื่ออำเภอลับแลในสมัยปัจจุบัน
 
อย่างไรก็ดี ลับแลได้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองทุ่งยั้งในอาณาจักรสุโขทัย จนในปี [[พ.ศ. 1981]] [[เมืองทุ่งยั้ง]] ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของ[[อาณาจักรอยุธยา]] ที่ตั้งของลับแลก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองทุ่งยั้งมาโดยตลอด จนต่อมาได้มีผู้คนจาก[[อาณาจักรโยนกเชียงแสน]] อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบเขาแถบลับแล และตั้งชื่อว่า ''บ้านเชียงแสน'' ต่อมาคนกลุ่มนั้นก็แยกย้ายกันไปหักล้างถางดงสร้างบ้านเมือง ขึ้นกระจัดกระจายตามที่ราบและไหล่เขาต่าง ๆ ซึ่งปรากฎว่าได้มีการสร้างตำนานการอัญเชิญ [[เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร]] พระราชโอรสของพระเจ้าเรืองชัยธิราช จากอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสนขึ้นอีกในช่วงหลัง และชุมชนลับแลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังปรากฎการสร้างศาสนสถานวัดป่าสัก ซึ่งมีศิลปะเอกลักษณ์แบบอยุธยาผสมล้านนา
 
จากข้อสันนิษฐานของ[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]<ref>[http://web.archive.org/20080812024746/www.geocities.com/lablae_city/history6.htm ฟู บุญถึง และคณะ . ( ม.ป.ป.) . ลับแลหรือจะแลลับ , สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอลับแล]</ref> ได้สันนิษฐานจากชาติพันธ์และภาษาของผู้คนในที่ตั้งเมืองลับแลในปัจจุบัน ว่าเดิมเป็นชาวเมือง[[แพร่]] เมือง[[น่าน]] หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและ ภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ใน[[หุบเขา]]มีที่เนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย จากตำนานท้องถิ่น ระบุว่าได้มีผู้คนจาก[[อาณาจักรโยนกเชียงแสน]] อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบเขาแถบลับแล และตั้งชื่อว่า ''บ้านเชียงแสน'' ต่อมาคนกลุ่มนั้นก็แยกย้ายกันไปหักล้างถางดงสร้างบ้านเมือง ขึ้นกระจัดกระจายตามที่ราบและไหล่เขาต่าง ๆ ซึ่งปรากฎว่าได้มีการสร้างตำนานการอัญเชิญ [[เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร]] พระราชโอรสของพระเจ้าเรืองชัยธิราช จากอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสนขึ้นอีกในช่วงหลัง และชุมชนลับแลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังปรากฎการสร้างศาสนสถานวัดป่าสัก ซึ่งมีศิลปะเอกลักษณ์แบบอยุธยาผสมล้านนา
 
ครั้นต่อมาใน[[สมัยรัตนโกสินทร์]] ในราว [[พ.ศ. 2444]] [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จประพาสเมือง[[อุตรดิตถ์]] และได้เสด็จมาถึงเมืองลับแลในวันที่ [[24 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2444]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดจากเมืองพิชัยมาตั้งที่บางโพ และยุบเมืองทุ่งยั้งรวมกับลับแล และสถาปนาเมืองลับแลขึ้นเป็นอำเภอ ส่วนอาคารที่ทำการยังตั้งอยู่ที่เมืองทุ่งยั้ง บริเวณใกล้เวียงเจ้าเงาะ