ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอหนองบัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบไม่เป็นสารานุกรม
บรรทัด 56:
พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณสร้างที่ว่าการอำเภอหนองบัว เป็นตึก ๒ ชั้น ในวงเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ (นายเดชชาติ วงศ์โมกลเชษฐ์) ได้มาทำพิธีเปิดป้าย ที่ว่าการอำเภอ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๑ และใช้เป็นที่ทำการตั้งแต่วันทำพิธีเปิดเป็นต้นมา
 
[[ไฟล์:Princess sirinhorn 01.jpg|thumb|สมเด็จพระเทพฯ เสด็จหน้าอำเภอหนองบัว 18 ส.ค. 2535]]
[[ไฟล์:Princess sirinhorn 02.jpg|thumb|สมเด็จพระเทพฯ ทรงทอดพระเนตร อนุสาวรีย์รถแทรกเตอร์ อำเภอหนองบัว 18 ส.ค. 2535]]
[[ไฟล์:Princess sirinhorn 03.jpg|thumb|สมเด็จพระเทพฯ ทรงปลูกต้นประดู่หน้าอำเภอ 18 ส.ค. 2535]]
[[ไฟล์:Princess sirinhorn 04.jpg|thumb|สมเด็จพระเทพฯ ทรงเสวยกระยาหารที่หอประชุม 18 ส.ค. 2535]]
[[ไฟล์:Princess sirinhorn 05.jpg|thumb|สมเด็จพระเทพฯ ทรงเยี่ยมพิพิธภัณฑพื้นบ้านที่วัดหนองบัว 18 ส.ค. 2535 ]]
[[ไฟล์:Princess sirinhorn 06.jpg|thumb|สมเด็จพระเทพฯ ทรงเยี่ยมพิพิธภัณฑพื้นบ้านที่วัดหนองบัว 18 ส.ค. 2535]]
 
'''รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหนองบัว'''
เส้น 126 ⟶ 120:
ข้อมูลจากหนังสือ ๖๐ ปี(๒๔๙๑-๒๕๕๐) จารึกไว้บนแผ่นดิน อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เขียนโดย นายสมหมาย ฉัตรทอง(๒๕๔๗)
แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอหนองบัว ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[[ไฟล์:vehan.jpg|thumb|วิหารหลวงพ่อเดิม วัดหนองกลับ-หนองบัว]]
[[ไฟล์:หมอนหกและปลอกหมอนถัก.jpg|thumb|การเย็บหมอนหกและการถักปอกหมอน เป็นศิลปะสำหรับแม่บ้านในเขตหนองบัว]]
[[ไฟล์:Flood at Nong Bua Hospital.jpg‎|thumb|น้ำท่วมอำเภอหนองบัว]]
[[ไฟล์:Flood in Nong Bua District.jpg‎ |thumb|น้ำท่วมอำเภอหนองบัว(ลดแล้ว)]]
[[ไฟล์:รถอีตุ๊ก (018).jpg|thumb|รถอีตุ๊ก (ด้านหน้า)ลวดลายแสดงให้เห็นความเป็นช่างศิลป์หนองบัว]]
[[ไฟล์:รถอีตุ๊ก (019).jpg|thumb|รถอีตุ๊ก (ด้านข้าง)]]
[[ไฟล์:บ้านคนหนองบัว.jpg|thumb|บ้านคนหนองบัว เป็นบ้านไม้ยกใต้ถุน สร้างเชื่อมต่อกันหลายหลังเป็นครอบครัวใหญ่]]
 
== เรื่องเล่า ==
::ในอดีตพื้นที่แถบนี้แห้งแล้งมาก จึงเกิดเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีพวกลาว(คนเฒ่าคนแก่เล่ามา)อพยพมาถึงดินแดนนี้ ก็หาน้ำดื่มน้ำใช้ไม่ได้ วัวควายที่นำมาด้วยก็อดน้ำเจียนตาย พวกลาวจึงนำก้อนสำลีไปขอน้ำชาวบ้าน บอกว่าขอแค่ชุบก้อนสำลีไปให้วัวควายกิน แต่ด้วยความที่แห้งแล้งมาก ชาวบ้านต่างก็ให้ไม่ได้ พวกลาวโกรธแค้นจึงสาปแช่งชาวบ้านถิ่นนี้ให้ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ทำมาค้าขายไม่ขึ้น ชาวบ้านในอดีตจึงเชื่อกันว่า เป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น มีฝนตกรอบตัวอำเภอจนน้ำท่วม แต่ที่หนองบัวกลับแห้งแล้งจนข้าวกล้าตาย หรือ ช่วงลงนา มักจะมีฝนชุกจนน้ำท่วมนาไม่ได้ผลผลิต
::อีกเรื่องมีอยู่ว่า ในอดีตมีเมืองลับแลที่ร่ำรวยมากคนธรรมดาไม่สามารถพบเจอได้ ชาวเมืองลับแลจะนำสร้อยทองมาแขวนตามต้นไม้ให้ชาวบ้านยืมใส่ในช่วงเทศกาลแล้วให้เอาไปคืน แต่มีบางคนที่นำมาแล้วไม่ปฏิบัติตามกติกา คือ ยึดถือเป็นของตนเอง ทำให้ชาวเมืองลับแล ไม่ไว้วางใจ จึงไม่นำมาให้ยืมอีกเลย
::คนหนองบัวรุ่นเก่าเล่าสืบต่อกันมาว่า พื้นที่แถบนี้เนื่องจากมีโลหะธาตุอุดมสมบูรณ์ จึงต้องส่งส่วยเหล็กหางกุ้ง ให้กับทางเมืองหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านจะทำการสลุงเหล็ก โดยนำแร่เหล็กมาจาก เขาเหล็ก ที่บ้านคลองกำลัง เขตรอยต่อกับเพชรบูรณ์ ห่างจากหนองบัวไปราว ๒๐ กิโลเมตร เมื่อสลุงแล้วจะเรียกว่าเหล็กหางกุ้ง ไปส่งส่วยแทนการเสียเงินปีละ ๖ บาท ผู้นำของชุมชมเรียกชื่อว่า พ่อหลวงโลหะ และลูกหลานที่สืบเชื้อสายต่อมาใช่นามสกุลกันว่า โลหะเวช
::ใกล้หนองบัว บริเวณท้ายตลาด มีโบราณสถาณเรียกว่า กุฏิฤษี ตั้งอยู่ พบเศษขี้เหล็ก หรือตะกรันเหล็กอยู่มากมาย นอกจากนี้ตามทุ่งและภูเขาบางแห่ง ยังพบก้อนแร่ตะกั่วที่ผ่านการสลุงแล้ว ก้อนเล็กก้อนใหญ่ จำนวนมาก ชาวบ้านเรียกว่าตะกั่วเถื่อน ปัจจุบันในเขตอำเภอหนองบัว ที่เหมืองแร่ทุ่งทองห่างจากตัวอำเภอ ๑๗ กิโลเมตร มีการผลิตแร่ยิปซั่มเป็นจำนวนมาก ในบริเวณเหมืองแร่แห่งนี้ ยังได้พบเครื่องมือหินขัดและเศษภาชนะจำนวนหนึ่งอยู่ในเขตเหมือง และยังไม่มีการสำรวจบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
 
== ชาติพันธุ์ชาวอำเภอหนองบัว ==
ชุมชนดั้งเดิมของอำเภอหนองบัว คือ ชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัว ทั้งหมดที่อยู่อาศัยมาก่อนประกาศตั้งเป็นอำเภอ ตามหลักฐานที่ปรากฏ บางหมู่บ้านมีชุมชนอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าชุมชนดั้งเดิมจำนวนหนึ่งอพยพมากจากสุโขทัย ทั้งยังมีชาวไทยพวนและคนลาว มีทั้ง ลาวโซ่ง หรือ ที่เรียกว่า “ไทยทรงดำ” หรือ “ ไทยดำ ลาวใต้ หรือลาวเวียง ซึ่งย้ายมาจากเวียงจันทน์ มีจำนวนประมาณ ๙๐๐ คน ชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตตำบลหนองบัว ตำบลหนองกลับ ตำบลห้วยร่วม ตำบลห้วยใหญ่ตำบลห้วยถั่วเหนือ ตำบลห้วยถั่วใต้ คนไทยซงดำ หรือ โซ่ง หรือ ไทยดำ ชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ ในเขตตำบลธารทหารและกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไป คนไทยจากถิ่นอื่น ๆ ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากทางจังหวัดภาคกลาง รวมถึงคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งอาศัยอยู่กระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของอำเภอใกล้บริเวณ หนองน้ำ ชาวบ้านต่างก็ ยึดพื้นที่ใกล้หนองน้ำแห่งนี้เป็นที่พักอาศัย ทำมาหากินต่อกันมา ต่อมามีผู้คนอพยพมาจากถิ่น อื่น ๆ อาทิ เช่น สุโขทัย ชัยภูมิ โคราช เพชรบูรณ์ มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ และยังมีคนหนองบัวบางส่วนสืบเชื้อสายไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยมานานเต็มที จนเหลือแต่ร่องรอยความทรงจำในสำเนียงที่พูด เสียงแปร่งไปกว่าคนทั่วไป หรือมีการทำนาข้าวเหนียวเก็บไว้กินเฉพาะกลุ่ม
 
== เพลงพื้นบ้าน ==
๑.เพลงเชิญมารำวง
::::เชิญเถิดมารำวง::ขอเชิญโฉมยงเข้าสู่วงรำ
::อย่าเอียงอย่าอาย::อย่าหน่ายอย่างแหนง
::อย่าคิดระแวงให้ฉันชอกช้ำ::คนสวยขอเชิญมารำ
::หล่อ หล่อ ขอเชิญมารำ::โปรดเชื่อน้ำคำอย่ามารำล่วงเกิน
 
๒.เพลงเล่นหัวเมือง
::::ยามเย็นเดินเล่นหัวเมือง::หอมดอกดาวเรืองที่เธอถือมา
::ขอฉันดอกได้ไหมเธอจ๋า::ถ้าหากเธอให้ก็จะเก็บไว้บูชา(ซ้ำ)
::::ยามเย็นเดินเล่นชายทุ่ง::ผ้าขาวม้าคาดพุงนุ่งกางเกงขายาว
::แต่ตัวไปอวดสาว ๆ::นุ่งกางเกงขายาวผ้าขาวม้าคาดพุง
 
๓.เพลงไทยเสรี
::::รำไทยสมัยเสรี :: น้องกับพี่คืนนี้มารำวง
::(ช)ขอมองดูหน้า:: (ญ)อุ๊ยอย่าฉันอาย (ซ้ำ)
::ไม่รักไม่ใคร่ :: แล้วขอให้ได้รำวง
 
๔.เพลงหงษ์
::::หงส์ หงส์ หงส์ อย่าทะนงไปนัก ปีกของเจ้าจะหัก หักลงกลางหนอง
::อย่าทะนงไปเลย ว่าจะมีคู่ครอง อย่ามัวหลงลำพอง หงส์ทองขยับปีกบิน
::อย่าให้ฉันแลมอง หงส์(ละ)หงส์ทองขยับปีกบิน
 
๕.เพลงลา
:::: รักก็ลาไม่รักก็ลา ออกปากจะลาน้ำตาไหลล่วง
::แสนรักกระไรแสนห่วง(ซ้ำ) สงสารแม่ดวงจันทรา
::ลาทีลาทีสวัสดี ลารักลารักสวัสดี ดึกแล้วไปนอนเสียที(ซ้ำ)
::คนดีของพี่ฝันดีตลอดคืน ลาที ลาที ฉันขอลาทีเถิดแม่งามงอน
::อันที่จริงไม่อยากจะไป บ้านฉันอยู่ไกล จำใจจากจร
::ขอสาบานต่อหน้าเทวา ขอผ้าเช็ดน้ำตาเมื่อเวลาฉันนอน
 
== ชื่อหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัว (บ้านใน+บ้านนอก) ==