ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอประจันตคาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Schatthong84 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขของ Schatthong84 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย JBot
บรรทัด 17:
| fax = 0 3729 1222, 0 3729 1402
}}
'''อำเภอประจันตคาม''' เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งของ[[จังหวัดปราจีนบุรี]] มีประวัติดังนี้
 
== ประวัติเมืองประจันตคาม ==
ในปี พ.ศ. 2369 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา เมื่อชาวเมืองนครราชสีมาได้รวมกำลังตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ แต่งทัพ และให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) เมื่อครั้งเป็นพระยาราชสุภาวดี เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏให้ราบคาบ
เมื่อตีเมืองเวียงจันทน์ได้แล้ว อพยพครอบครัวลี้พลบางส่วนจากเมืองเวียงจันทน์ เมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมืองสกลนคร และอีกหลายเมืองในภาคอีสานของไทยมาด้วย ท้าวอุเทน บุตรท้าวสร้อย เพียเมืองแสน พร้อมกับท้าวฟอง บุตรพระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวอินทร์บุตรเจ้าเมืองสกลนคร ซึ่งคุมกำลังพลเป็นนายกองของทัพหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองส่งไปช่วยรบกับทัพเมืองกรุงได้นำคนที่ถูกอพยพมาตั้งกองรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านใหญ่ในพื้นที่อำเภอประจันตคามในปัจจุบัน ต่อมาท้าวฟองยกกำลังไพร่พลแยกไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่กบินทร์บุรี ท้าวอินทร์ยกกำลังไพร่พลไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่พนัสนิคม ฝ่ายท้าวอุเทนได้รวบรวมกำลังไพร่พลไปเลือกที่ตั้งเมืองอีกเช่นกัน เลือกทำเลที่เหมาะสมได้ที่ดงยาง หรือบ้านเมืองเก่าปัจจุบันตั้งเป็นเมือง
เมืองประจันตคามจึงอุบัติขึ้นใน ปี พ.ศ. 2376 เมื่อตั้งเป็นเมืองเรียบร้อยแล้ว ท้าวอุเทนเจ้าเมืองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภักดีเดชะ ว่าราชการเมืองได้ 2 ปีเศษ เกิดศึกญวนมาตีเมืองพนมเปญ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองพนมเปญ และได้เกณฑ์เมืองประจันตคาม เมืองพนัสนิคม และ เมืองกบินทร์บุรี รวมเป็นกองทัพหน้าส่วนหนึ่ง ยกไปสู้รบข้าศึกญวน ทำการรบอยู่ประมาณ 3 ปีเศษ จึงขับไล่ข้าศึกญวนถอยไป เจ้าเมืองทั้ง 3 ผู้ร่วมรบมีความชอบในราชการทัพ เมื่อกลับมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระในนามเดิมทั้ง 3 ท่าน เจ้าเมืองประจันตคามจึงได้เป็นพระภักดีเดชะ
ต่อมาอีกประมาณ 1 ปี ข้าศึกหวนกลับมาตีเมืองพนมเปญอีก เจ้าเมืองตะวันออกได้รับใบบอกและโปรดให้เกณฑ์คนไปช่วยรบ พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ได้นำกำลังพลชาวเมืองประจันตคามเข้ากองทัพร่วมกับเจ้าเมืองกบินทร์เช่นครั้งก่อน ส่วนเจ้าเมืองพนัสนิคมในฐานะเป็นหัวเมืองใกล้ทะเลนัยว่าถูกเกณฑ์ไปเข้าประจำกองทัพเรือในกรุงเทพฯ ในการไปราชการทัพครั้งนี้ พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองประจันตคามเสียทีแก่ข้าศึกตายในที่รบเยี่ยงวีรบุรุษไทยในปัจจุบัน โดยสรุป พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) จึงเป็นเจ้าเมืองคนแรกอยู่ได้ 6 ปี ก็มาสิ้นชีพในที่รบ
ขณะนั้น เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) แม่ทัพเห็นว่าบุตรพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ยังเยาว์นัก ไม่สามารถจะว่าราชการได้ จึงแต่งตั้งท้าวอินทร์บุตรของพี่สาวพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ซึ่งเวลานั้นเป็นหลวงศักดาสำแดง ยกกระบัตร รั้งตำแหน่งเจ้าเมือง ท้าวคำ น้องท้าวอินทร์ ขณะนั้นเป็นขุนอรัญไพรศรี รั้งตำแหน่งปลัดเมืองควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคามทำการรบต่อไป ราชการทัพครั้งที่ 2 นี้ รบอยู่ประมาณ 6 ปี จึงมีชัยชนะต่อข้าศึกญวน เมื่อเสร็จศึกสงครามกลับมาแล้ว หลวงศักดาสำแดง(ท้าวอินทร์) ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองประจันตคามได้รับบำเหน็จความชอบในที่รบ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) เจ้าเมืองประจันตคามสืบต่อเป็นท่านที่ 2 ขุนอรัญไพรศรี ผู้น้องเจ้าเมืองคนใหม่ เป็นหลวงสุรฤทธา ปลัดเมือง ส่วนท้าวโทบุตรเจ้าเมืองคนแรกซึ่งเสียชีวิตในที่รบ มีอายุและความสามารถพอจะรับราชการได้จึงได้รับบำเหน็จตกทอดจากบิดาให้เป็นขุนอรัญไพรศรี ซึ่งในระยะต่อมาภายหลังได้เลื่อนเป็นหลวงศักดาสำแดงยกกระบัตร พร้อมกับท้าวสุวรรณบุตร ท้าวสุโท หลานพี่สาวท้าวอุเทน ได้เป็นหลวงศรีวิเศษผู้ช่วยราชการขวาพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) เจ้าเมืองคนที่ 2 ว่าราชการเมืองอยู่นานถึง 44 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย
หลวงสุรฤทธา (ท้าวคำ) ปลัดเมือง น้องชายเจ้าเมืองคนที่ 2 ได้เลื่อนเป็นพระภักดีเดชะเจ้าเมืองคนที่ 3 หลวงศักดาสำแดง (ท้าวโท) เป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมือง พระภักดีเดชะ(ท้าวคำ) เป็นเจ้าเมืองคนที่ 3 เมื่ออายุมากแล้ว ว่าราชการอยู่ได้เพียง 6 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย
หลวงศรีวิเศษ (ท้าวสุวรรณ) ผู้ช่วยราชการขวา ได้เป็นพระภักดีเดชะเจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 4 ส่วนหลวงสุรฤทธา (ท้าวโท) ปลัดเมือง บุตรพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองคนแรกเป็นง่อย ไม่สามารถรับราชการได้ขอลาออก จึงให้ท้าวพรหมา บุตรคนที่ 1 ของเจ้าเมืองคนเดิมเป็นขุนคลังขึ้นเป็นหลวงสุรฤทธา ปลัดเมืองแทน พระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ) ว่าราชการอยู่ 13 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย
ต่อจากนั้นมาในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีกำลังทรงดำริปฎิรูปการปกครองหัวเมือง จะทรงยุบหัวเมืองเล็ก เช่น เมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรีลงเป็นอำเภอ จึงยังไม่ตั้งเจ้าเมืองอีก แต่ให้หลวงสุรฤทธา (ท้าวพรหมา) ปลัดเมืองรั้งราชการอยู่ 3 ปี ก็ถึงคราวยุบเมืองประจันตคามลงเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอประจันตคาม ในปี พ.ศ. 2448 รวมระยะเวลาก่อตั้งเป็นเมืองประจันตคามอยู่ 72 ปี
 
เมืองประจันตคาม มีเจ้าเมืองปกครองตามลำดับ 4 ท่าน ดังนี้
{|
||1.|| พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)|| ||เป็นเจ้าเมือง 6 ปี
|-
||2.|| พระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์)|| ||บุตรพี่สาวท้าวอุเทนเป็นเจ้าเมือง 44 ปี
|-
||3.|| พระภักดีเดชะ (ท้าวคำ)|| ||บุตรพี่สาวท้าวอุเทนเป็นเจ้าเมือง 6 ปี
|-
||4.|| พระภักดีเดชะ (ท้าวสุวรรณ)|| ||หลานท้าวอุเทนเป็นเจ้าเมืองอยู่ 13 ปี <ref>จาก พระภัคดีเดชะ (ท้าวอุเทน) วีรบุรุษนักรบอดีตเจ้าเมืองประจันตคาม กับการก่อสร้างอนุสาวรีย์</ref>
|}
 
 
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==